เท้า : น. ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้. ก. ยัน เช่น ยืน เอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว; อ้างถึง เช่น เท้าความ.
สะเอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพกทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ เอว ก็ว่า.
กะเอว : น. เอว เช่น ถวัดเท้าท่าเตะมวย ตึงเมื่อย หายฮา แก้กะเอวขดค้อม เข่าคู้โขยกโขยง. (จารึกวัดโพธิ์), สะเอว ก็ว่า.
เท้าแขน : น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลัง ทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่ นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
เท้าช้าง : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทําให้อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งมีอาการหนังหนา หยาบ คล้ายหนังช้าง และมีขนาดโตขึ้น มักพบบ่อยที่เท้าหรือขา สาเหตุเนื่องจากพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย (filaria) ซึ่งมีหลายชนิด ทําให้ ท่อทางเดินนํ้าเหลืองของอวัยวะนั้น ๆ อุดตัน.
เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tacca leontopetaloides (L.) Kuntze ในวงศ์ Taccaceae หัวหรือเหง้ามีสัณฐานกลมแบน ใช้ทําแป้งเป็นอาหารได้ เรียกว่า แป้งเท้ายายม่อม.
เท้าคู้ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่ตอนปลายคู้หรืองอเข้า.
เท้าแชร์ : น. ผู้เป็นหัวหน้าวงแชร์ มีหน้าที่จัดการและรับผิดชอบเรื่องเงิน ตามปรกติจะเป็นผู้ได้เงินเป็นคนแรกโดยไม่เสียดอกเบี้ย.
เท้าสิงห์ : น. เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ที่แกะเป็นรูปตีนสิงห์; ชื่อลายสลัก ทําเป็นรูปตีนสิงห์.
บทามพุช : [บะทามะพุด] (แบบ) น. บัวบาท, เท้า, เช่น ทูลพระ บทามพุช. (ยวนพ่าย). (ป. ปท + อมฺพุช).
ฐานเท้าสิงห์ : น. ฐานรูปสมมุติจากสิงห์แบก, ฐานสิงห์ ก็เรียก. (รูปภาพ ฐานเท้าสิงห์)
แป้งเท้ายายม่อม : น. แป้งที่ทำจากหัวของต้นเท้ายายม่อม.
มีมือมีเท้า : ก. มีผู้คอยช่วยเหลือเปรียบเสมือนมือและเท้า.
ไม้เท้า : น. ไม้หรือสิ่งอื่น ๆ สําหรับถือยันตัวหรือเดิน, ไม้สักกะเท้า ก็เรียก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรภัทรบท มี ๒ ดวง, ดาวแรดตัวเมีย ดาวอุตตรภัทรบท หรือ ดาวอุตตรภัททะ ก็เรียก.
ไม้สักกะเท้า : น. ไม้เท้า.
ย่างตีน, ย่างเท้า : ก. ยกเท้าก้าวไป, เดิน, ย่าง ก็ว่า.
วัดรอยตีน, วัดรอยเท้า : (สํา) ก. เทียบดูว่าพอสู้ได้หรือไม่ เช่น ลูกศิษย์วัดรอยเท้าครู, คอยเทียบตัวเองกับผู้ที่เหนือกว่าเพื่อชิงดี ชิงเด่น เช่น ลูกน้องวัดรอยตีนหัวหน้า.
หัวแม่ตีน, หัวแม่เท้า : น. นิ้วต้นของเท้า.
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
เขียงเท้า : น. รองเท้าไม้.
คุ้ม ๓, คุ้มเท้า : สัน. ตราบเท่า เช่น แต่น้อยคุ้มใหญ่, คุง หรือ คุ้ง ก็ว่า.
ไช้เท้า :
น. ผักกาดหัว. (ดู กาด๑).
ถี่เท้า : (กลอน) ว. เดินเร็ว.
ประเท้า : ก. กิริยาที่ผู้รำใช้ส่วนหน้าของฝ่าเท้าแตะพื้นและยกขึ้นทันที, เป็นท่ารำท่าหนึ่ง.
มือไม่พาย เอาตีนราน้ำ, มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ : (สํา) ก. ไม่ช่วยทํา แล้วยังขัดขวางการทํางานของผู้อื่น.
ไม้เท้ายายม่อม : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Clerodendrum petasites S. Moore ในวงศ์ Labitae ดอกสีขาว ใบใช้สูบแทนกัญชา รากใช้ทํายาได้, พญารากเดียว ก็เรียก.
ระบำปลายเท้า : น. การเต้นรำแบบหนึ่งของชาวตะวันตก แสดงเป็น เรื่องราวหรือแสดงเดี่ยวก็ได้, บัลเลต์ ก็ว่า. (อ. ballet).
โหราตีนหมา, โหราเท้าสุนัข : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Balanophora abbreviata Blume ในวงศ์ Balanophoraceae ใ ช้ทํายาได้.
กฏิ : (แบบ) น. สะเอว. (ป.).
กายาพยพ : [กายาพะยบ] น. ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มือ เท้า. (ป., ส. กาย + อวยว).
ขยี้ : [ขะยี่] ก. ใช้มือ เท้า หรือเล็บเป็นต้นบี้ซํ้า ๆ ให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้พิมเสน, ขยี้ดิน, เอาวัตถุเช่นผ้าถูกับเนื้อของมันเองในการซักฟอก, เอาวัตถุเช่นกระดาษถูกับเนื้อของมันเองเพื่อให้นิ่ม, เอามือกดถูไปมา เช่น ขยี้ตา ขยี้ผม, โดยปริยายหมายความว่า ทําลายให้แหลกละเอียด เช่น ขยี้ข้าศึก.
คาราเต้ : น. ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า โดยการใช้อวัยวะต่าง ๆ เช่น มือ เท้า ศอก ศีรษะ ที่ฝึกจนแข็งแกร่งแล้ว มีแพร่หลายในญี่ปุ่นและเกาหลี. (ญิ.).
คุ้ย : ก. ใช้มือ เท้า หรือสิ่งอื่นตะกุยขึ้นมา.
จังเก : น. สะเอว เช่น มือนวดแนบจังเก แกะพลิ้ว. (โคลงพระยาตรัง). (ข. จงฺเกะ).
จัตุลังคบาท : [จัดตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้า ช้างทรงของพระมหากษัตริยหรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จัตุลังคบาทบริรักษ์ พิทักษ์เท้ากุญชร. (ตะเลงพ่าย), จตุลังคบาท ก็ว่า.
จำห้าประการ : ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้า ติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไป ในคาและไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
นก ๑ : น. ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุม ร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว.
บท ๒, บท- ๒ : (แบบ) เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคําอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทศรี บทเรศ, (ดูคําแปลที่คํานั้น ๆ). (ป. ปท).
บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
บทเรศ : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า เช่น กราบบทเรศราชบิดา ท่านแล. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์).
บทวเรศ : [บดทะวะเรด] (แบบ) น. เท้า เช่น ถวายทศนัขประณต บทวเรศราชชนนี. (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์).
บทศรี : [บดทะ-] (กลอน) น. เท้า (ใช้แก่เจ้านาย).
บั้นเอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว สะเอว หรือ เอว ก็ว่า.
ระนาดทุ้ม : น. ระนาดที่มีเสียงต่ำกว่าและมีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอกแต่ใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลูก ปาก รางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวนด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว.
ศรภะ : [สะระพะ] น. สัตว์ในนิยาย ว่ากันว่ามี ๘ เท้า มีแรงมากกว่าช้าง และสิงโต. (ส.).
อรหัน : [ออระ] น. ชื่อสัตว์ในนิยาย มี ๒ เท้า มีปีกคล้ายนก หัวคล้าย หัวคน; ผู้วิเศษ.
เอว : น. ส่วนกลางของร่างกายระหว่างชายโครงกับกระดูกตะโพก ทั้ง ๒ ข้าง, กะเอว บั้นเอว หรือ สะเอว ก็ว่า; โดยปริยายหมายถึง ส่วนกลางของสิ่งอื่น ๆ ตรงที่คอดเข้าไป เช่น เอวว่าวจุฬา เอวพาน.
ทางม้าลาย : น. พื้นที่ที่ทำไว้สำหรับให้คนเดินเท้าข้ามถนน โดยทา สีขาวดำเป็นแถบสลับกัน.