เนย : น. ไขมันหรือนํ้ามันที่ทําจากนํ้านมสัตว์มีทั้งเหลวและแข็ง.
เนยเทียม : น. สิ่งที่ทําจากไขมันหรือนํ้ามันที่ได้จากพืชและสัตว์ นํามาทํา ให้บริสุทธิ์ ผสมวิตามินเอ วิตามินดี เติมนมและสีที่เหมาะสม แบคทีเรีย ในนมจะทําให้เกิดกลิ่นและรสคล้ายเนย ใช้เป็นอาหารได้.
คุกกี้ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลี ไข่ เนย น้ำตาล เป็นต้น ทําเป็น ชิ้นเล็ก ๆ แล้วอบให้กรอบ. (อ. cookie).
เค้ก : น. ขนมฝรั่งชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลีผสมไข่ เนย นํ้าตาล เป็นต้น แล้วผิงหรืออบให้สุก. (อ. cake).
มธุรตรัย : น. ของอร่อยทั้ง ๓ คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง เนย. (ส. มธุรตฺรย).
นย, นยะ : [นะยะ] น. เค้าความที่ส่อให้เข้าใจเอาเอง. (ป., ส.).
โครส : [-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).
ตรีมธุระ : [-มะทุระ] น. ของมีรสดี ๓ อย่าง คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง นํ้ามันเนย.
ทอฟฟี่ : น. ของหวานแบบฝรั่ง ใช้อม ทําด้วยนํ้าตาลกวนกับนมหรือเนย เป็นต้น มักปั้นเป็นก้อนห่อกระดาษแก้วบิดหัวท้าย. (อ. toffee).
นพนิต : [นบพะนิด] น. เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ป. นวนีต).
นวนิต : น. นพนิต, เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ชาวอินเดียเรียกว่า ghee). (ป., ส.).
เนยใส : น. นํ้ามันที่เคี่ยวมาจากเนย.
เนาวนิต : [วะนิด] น. นพนิต, เนยข้นชนิดหนึ่ง. (ป., ส. นวนีต).
เบญจโครส : [-โค-รด] น. นมโค ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง. (ป.).
ภาคิไนย : [ไน] น. หลาน คือ ลูกของพี่สาวหรือน้องสาว, คู่กับ ภาติยะ ลูกของพี่ชาย หรือน้องชาย. (ป. ภาคิเนยฺย; ส. ภาคิเนย).
มัสดุ, มัสตุ : [มัดสะดุ, -ตุ] น. มัน, เปลวมัน; เนยเหลว. (ส. มสฺตุ; ป. มตฺถุ).
โมไนย : [-ไน] น. ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์. (ป. โมเนยฺย; ส. เมาเนย).
สัตตาหกาลิก : น. ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัช ทั้ง ๕ คือ เนยใส เนยข้น นํ้ามัน นํ้าผึ้ง นํ้าอ้อย. (ป.).
โหม ๑, โหม- : [โหมะ-] น. การเซ่นแก่เทพดาของพวกพราหมณ์โดยใช้เนยเผาในไฟ; การบูชายัญ, การเซ่นสรวงทั้งปวง. (ป., ส.).
อาคเนย์ : [คะเน] น. ทิศตะวันออกเฉียงใต้. (ส. อาคฺเนย ว่า ทิศที่พระอัคนีรักษา).
อาชาไนย : ว. กําเนิดดี, พันธุ์หรือตระกูลดี; รู้รวดเร็ว, ฝึกหัดมาดีแล้ว, ถ้าเป็น ม้าที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียก ม้าอาชาไนย, ถ้าเป็นคนที่ฝึกหัดมาดีแล้ว เรียกว่า บุรุษอาชาไนย. (ป. อาชาเนยฺย; ส. อาชาเนย).
นยนะ, นยนา : [นะยะ] น. ดวงตา. (ป., ส.).
นโยบาย : น. หลักและวิธีปฏิบัติซึ่งถือเป็นแนวดําเนินการ. (ป. นย + อุปาย).
นัย : [ไน, ไนยะ] น. ข้อสําคัญ เช่น นัยแห่งเรื่องนี้; ความ, ความหมาย, เช่น หลายนัย; แนว, ทาง, เช่น ตีความได้หลายนัย; แง่ เช่น อีกนัยหนึ่ง. (ป. นย). นัยว่า [ไน] ว. มีเค้าว่า.
กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).