เนืองแน่น : ว. แออัด, ยัดเยียด.
แน่น : ว. อาการที่แออัดยัดเยียดหรือเบียดเสียดจนแทบไม่มีที่ว่าง เช่น คนแน่น ต้นไม้ขึ้นแน่น, อยู่กับที่หรือทําให้อยู่กับที่อย่างมั่นคงไม่ให้หลุดไม่ให้ คลอน เช่น เกาะแน่น ปักเสาแน่น, ลักษณะของเสียงดังแบบหนึ่งที่ เนื่องมาจากมีการอัดแน่นเป็นพิเศษอย่างเสียงพลุเสียงระเบิด.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
เนืองนอง : ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สินเนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
เนืองนิตย์ : ว. เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์.
แน่นนันต์ : (กลอน) ว. มากมาย, อัดแอ, คับคั่ง, ยัดเยียด, เช่น กรุงกษัตริย์ มาพร้อมประชุมกัน แน่นนันต์ในพระลานชัยศรี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
แน่นหนา : ว. มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา, แข็งแรง เช่น ประตูหน้าต่าง แน่นหนา, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับ ปึกแผ่น เป็น เป็นปึกแผ่นแน่นหนา.
แน่นท้อง : ว. อึดอัดท้องเพราะกินอาหารมากเป็นต้น.
แน่นหน้าอก : ว. มีอาการจุกเสียดบริเวณทรวงอกทําให้หายใจไม่สะดวก.
นองเนือง : ว. เนืองนอง.
พรั่งพรู : ว. เข้าหรือออกพร้อม ๆ กันอย่างเนืองแน่น เช่น คนพรั่งพรู กันเข้ามา คำพูดพรั่งพรูออกจากปาก.
เขม็ง : [ขะเหฺม็ง] ว. ตึงเครียด; แน่น, แข็ง; อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. ก. ทำให้ตึง เช่น เขม็งเกลียว.
ดาน : ว. แข็ง, แน่น, เรียกดินที่จับตัวแข็งเป็นชั้น โดยมากเป็นประเภทดินเหนียว เนื้อแน่นที่นํ้าไหลผ่านไม่ได้ เกาะตัวแข็งอยู่ใต้ผิวดิน ว่า ดินดาน, เรียก หินแข็งหรือหินผุที่รองรับดิน ทราย กรวด ซึ่งมีแร่เช่นดีบุก ทองคํา รวม อยู่ด้วย ว่า หินดาน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะแข็งเป็นดานอยู่ในท้อง เช่น ดานเลือด ดานลม.
สรลน : [สฺระหฺลน] (กลอน) ว. สลอน, แน่น; เชิดชู.
อวล : [อวน] ก. ฟุ้งด้วยกลิ่นหอม, มักใช้เข้าคู่กับคํา อบ เป็น อบอวล. (ข. ว่า เต็ม, แน่น, อึดอัด).
อัดแอ : ว. ยัดเยียด, แน่น, แออัด ก็ว่า.
แออัด : ว. ยัดเยียด, แน่น, อัดแอ ก็ว่า.
ค้อย : (กลอน) ก. คล้อย. ว. เบา; เนือง, บ่อย.
แนบแน่น : ว. สนิทแน่น เช่น รักอย่างแนบแน่น.
หนักแน่น : ว. มั่นคง, ไม่ท้อถอย, เช่น เขามีใจหนักแน่นไม่ย่อท้อต่อ อุปสรรคใด ๆ ทั้งสิ้น; ไม่โกรธง่าย เช่น เขาเป็นคนใจคอหนักแน่น ไม่โกรธใครง่าย ๆ; ไม่หูเบา เช่น ต้องทำใจให้หนักแน่น อย่าเชื่อใครง่าย ๆ.
หนาแน่น : ว. คับคั่ง, แออัด, เช่น กรุงเทพฯ มีประชากรหนาแน่นมาก.
เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
ใจหนักแน่น : ว. มีใจอดทน, ไม่เชื่อง่าย.
หนุ่มแน่น : ว. หนุ่มเต็มที่.
มั่น : ว. แน่, แน่นอน, เช่น ใจมั่น; แน่น เช่น จับให้มั่น.
จะไจ้ : ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ.
เป็นนิตย์ : ว. เสมอ ๆ, เนือง ๆ.
ผลก : [ผะหฺลก] (โบ) ว. บ่อย ๆ, เนือง ๆ.
มัก : ก. ชอบ, พอใจ, เช่น เลือกที่รักมักที่ชัง. ว. โดยมาก, ค่อนข้าง, เนือง ๆ, เช่น มักมีอันเป็นไปต่าง ๆ มักเป็นคนขี้ลืม.
อนุ : คําประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).
อาจิณ, อาจิณ : [จิน, จินนะ] ว. เป็นปรกติ, ติดเป็นนิสัย, เสมอ ๆ, เนือง ๆ. (ป. อาจิณฺณ; ส. อาจิรฺณ).
กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
ค้อยค้อย : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).
จำเจ : ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, ซํ้าซาก.
ไจ้ ๆ : (กลอน) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เป็นอยู่อย่างนั้น, จะไจ้ ก็ว่า.
นิพัทธ, นิพัทธ์ : [นิพัดทะ, นิพัด] (แบบ) ว. เนือง ๆ, เสมอ, เนื่องกัน. (ป.).
เหมื่อย, เหมื่อย ๆ : (โบ) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เรื่อย ๆ.
นี่ : ส. คําใช้แทนนามที่อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ใกล้ เช่น นี่ใคร นี่อะไร. ว. คําใช้ประกอบคํานามหรือกริยาให้รู้ว่าอยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น หนังสือนี่แต่งดี ขนมนี่อร่อย อยู่นี่ มานี่; คําประกอบท้ายคําเพื่อเน้น ความหมาย เช่น เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่. นี่แน่ะ คําบอกให้ดูหรือเตือนให้รู้, นี่ ก็ว่า. นี่แหละ คําแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ฉันนี่แหละ นี่แหละ โลก. นี่เอง คําประกอบคําอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เธอนี่เอง เด็กคนนี้นี่เอง.
กระชับ ๒ : ก. แน่น, แนบแน่น, แนบกันสนิท, พอเหมาะ, แต่มีความหมาย บอกว่า มีลักษณะที่ยิ่งขึ้นหรือทีเดียว เช่น กระชับแน่น กระชับตัว กระชับความ กระชับมือ. (ข. ขฺชาบ่).
ครัดเคร่ง : [คฺรัดเคฺร่ง] (กลอน) ก. แน่น, ตึง เช่น แก้มทั้งสองข้างดังปรางทอง เต้านม ทั้งสองก็ครัดเคร่ง. (ขุนช้างขุนแผน), เคร่งครัด ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน; ถูกต้องครบถ้วน.
เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
ฆ : พยัญชนะตัวที่ ๖ นับเป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคํา ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ที่ใช้เขียนในคําไทยมีบ้างเล็กน้อย [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ
ฆน-, ฆนะ : [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
ชคดี : [ชะคะดี] น. แผ่นดิน เช่น แลเนืองนองด้วยมนุษยชาติ เดียรดาษชคดี. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป. ชคติ; ส. ชคตี).
ถัทธ : [ถัด] (แบบ) ว. แน่น, แข็ง, กระด้าง, เช่น อันว่าชูชกใจถัทธ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป.).
หนั่น : ว. แน่น, แน่นหนา, เช่น เนื้อหนั่น. (โบ) ก. หนุน.
กบ ๖ : ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ.
กระง่อนกระแง่น : ว. คลอนแคลน, ไม่แน่น, ไม่มั่นคง, ง่อนแง่น ก็ว่า.