เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
หนุนเนื่อง : ก. เพิ่มเติมเข้ามาไม่ขาดสาย เช่น กองทัพข้าศึกหนุนเนื่อง เข้ามา.
นอง : ก. ค้างขังอยู่บนพื้น (ใช้แก่นํ้า) เช่น นํ้านองถนน นํ้านองบ้าน.
เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
พัทธ, พัทธ์ : [พัดทะ, พัด] ก. ผูก, ติด, เนื่อง. (ป.).
เนืองนอง : ก. หลั่งไหลไม่ขาดสาย, มีมากต่อเนื่องกันไม่ขาดสาย เช่น ทรัพย์สินเนืองนอง, นองเนือง ก็ว่า.
เชื้อ ๒ : ก. เชิญ เช่น สาวใช้เชื้อชูไป. (ม. คําหลวง ทศพร), มักใช้เข้าคู่ กับคํา เชิญ เป็น เชื้อเชิญ; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่งที่มักใช้ เนื่องในการอธิษฐาน.
ทักษิณาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่งนับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบขวาหรือฝ่ายขวา มีพิธีกรรมเปิดเผย ไม่มีลามกอนาจาร, คู่กับ วามาจาร, ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลักปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์ โดยถือ พระไวโรจนพุทธะแทนพรหมัน. (ส.).
วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
อุปพัทธ์ : [อุปะ, อุบปะ] ก. เนื่อง, เนื่องกัน. ว. ที่เนื่องกัน. (ป., ส.).
กฐิน, กฐิน- :
[กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
กระบวนการ : น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการ เจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลําดับการกระทําซึ่งดําเนิน ต่อเนื่องกันไปจนสําเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมี เพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. process).
กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
กระแสจิต : น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิด ที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกัน ระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้อง อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
กราย ๑ : [กฺราย] น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Notopterus chitala ในวงศ์ Notopteridae หัวและลําตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องมีขนาดเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง ซึ่งเล็กและมีขอบกลม บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดํา ๕-๑๐ จุด เรียง เป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก.
กลไก : [กน-] น. ตัวจักรต่าง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในระดับ ต่าง ๆ, ระบบหรือองค์การ ที่บุคคลผู้เป็นเจ้าหน้าที่ในระดับต่าง ๆ ปฏิบัติงานร่วมกันดุจเครื่องจักร, ระบบที่จะให้งานสําเร็จตามประสงค์, เช่น กลไกการปกครอง; (วิทยา) กระบวนการต่อเนื่องที่ก่อให้เกิดปฏิกิริยา เช่น กลไก การย่อยอาหาร กลไกของการสร้างอาหารของพืชโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง. (อ. mechanism).
กัณฑ์เทศน์ : น. เครื่องไทยธรรมถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, สิ่งของสําหรับถวายพระผู้แสดงพระธรรมเทศนา, เครื่องกัณฑ์ ก็ว่า; เรียกการเอาเงินติดเทียนบูชากัณฑ์เทศน์หรือเรียกการเอาเงินหรือ สิ่งของบูชาธรรมเนื่องในการเทศน์ว่า ติดกัณฑ์เทศน์.
กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
กุลสัมพันธ์ : [กุนละ-] ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล. (ป.).
-เกงกอย : ใช้เข้าคู่กับคํา เขย่ง เป็น เขย่งเกงกอย. (ไทยใหญ่ เกง ว่า กระโดดตีนเดียวเนื่องในการเล่น).
เกรียว : [เกฺรียว] ว. ลักษณะที่ต่อเนื่องกันมาก ๆ เป็นแถว ๆ เช่น มากันเกรียว, ลักษณะอาการที่เป็นอย่างเดียวพร้อม ๆ กัน เช่น ขนลุกเกรียว, เสียงเอ็ดอึงพร้อมกันหลาย ๆ เสียง เช่น หมาเห่าเกรียว เล่นกันเกรียว.
เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
เกี่ยวพัน : ก. ติดเนื่องกัน, พัวพัน.
เกี่ยวโยง : ก. ต่อเนื่องไปถึง.
ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
คาบเกี่ยว : ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน.
คาบสมุทร : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมัก ต่อเนื่องกับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล.
ค่าสินไหมทดแทน : (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการ ผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
คำร้องทุกข์ : (กฎ) น. คํากล่าวหาที่ผู้เสียหายได้แจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่า มีผู้กระทําความผิด ซึ่งกระทําให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย โดยเจตนา จะให้ผู้กระทําความผิดได้รับโทษ; เรื่องที่ผู้ร้องทุกข์ซึ่งได้รับความ เดือดร้อนหรือเสียหายเนื่องมาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ยื่นต่อคณะกรรมการ วินิจฉัยร้องทุกข์ ตามกฎหมายว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกา.
แคลคูลัส : [แคน-] น. คณิตศาสตร์ชั้นสูงแขนงหนึ่ง ศึกษาเกี่ยวกับค่าของจํานวน ที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แบ่งออกเป็น แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์ และแคลคูลัสเชิงอินทิกรัล. (อ. calculus).
จันทรวงศ์ : น. วงศ์แห่งกษัตริย์เนื่องมาจากพระจันทร์, คู่กับ สุริยวงศ์. (ส.).
ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
ช่วง ๑ : น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
ชีวภาพ : ว. เกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิตและสิ่งที่สืบเนื่องมา จากสิ่งมีชีวิต เช่น วิทยาศาสตร์ชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ.
ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
เณรหน้าไฟ : น. สามเณรที่บวชเนื่องในพิธีเผาศพ.
ด้อง ๑ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Parasilurus cochinchinensis ในวงศ์ Siluridae มี หนวดยาว ไม่มีเกล็ด ลักษณะคล้ายปลาเนื้ออ่อนพวกที่มีครีบหลัง เว้นแต่ มีครีบก้นต่อเนื่องกับครีบหางที่มีขอบกลม ครีบอกมีก้านแข็งคล้ายเงี่ยง.
ดอง ๓ : (ถิ่น-อีสาน) น. การแต่งงาน เช่น กินดอง = กินเลี้ยงในพิธีแต่งงาน เกี่ยวดอง = เกี่ยวข้องกันโดยการแต่งงาน. ว. เนื่องกันในทางเขยหรือ สะใภ้ เช่น เกี่ยวดอง เป็นดองกัน.
ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
ตรุษ, ตรุษไทย : [ตฺรุด] น. เทศกาลเนื่องในการสิ้นปี ตรุษไทยกําหนดตามจันทรคติ ตรงกับ วันแรม ๑๕ คํ่า เดือน ๔.
ตะกรุมตะกราม : [-กฺรุม-กฺราม] ก. กิริยาที่ทําไปอย่างผลีผลาม ขาดการพินิจพิจารณาเนื่องในการ บริโภค เป็นต้น.
ตัดใจ : ก. ห้ามใจไม่ให้คิดในเหตุที่เกิดขึ้น. ตัดช่องน้อยแต่พอตัว (สํา) ก. เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. ตัดช่องย่องเบา (ปาก) ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. ตัดเชือก (สํา) ก. ตัดความสัมพันธ์ ไม่ยอมให้ความช่วยเหลืออีกต่อไป. ตัดญาติขาดมิตร (สํา) ก. ตัดขาดจากกัน. ตัดต้นไฟ ก. ตัดสิ่งที่เป็นเหตุไม่ให้ลุกลามต่อเนื่องไป. ตัดตอน ก. แบ่งหรือตัดเอามาบางส่วน. ตัดถนน ก. สร้างถนน. ตัดทอน ก. ทำให้ลดลงหรือทำให้สั้นลง เช่น ตัดทอนอำนาจ. ตัดทาง, ตัดหนทาง ก. ทําให้หมดช่องทาง เช่น ตัดทางทํามาหากิน; ทําให้มีทาง เช่น ตัดทางพอให้ผ่านไปได้. ตัดบท ก. พูดให้ยุติเรื่องกัน; แยกคําออก. ตัดประเด็น ก. ตัดข้อความสําคัญของเรื่องที่หยิบยกขึ้นพิจารณาออกเสียบ้าง. ตัดเป็นตัดตาย (สํา) ก. ตัดขาดจากกันอย่างเด็ดขาด. ตัดพ้อ ก. พูดต่อว่าด้วยความน้อยใจ, พ้อ หรือ ตัดพ้อต่อว่า ก็ใช้. ตัดไพ่ ก. บ่งไพ่ที่สับไพ่ไว้แล้วออกเป็นกอง ๆ. ตัดไฟต้นลม, ตัดไฟแต่ต้นลม, ตัดไฟหัวลม (สํา) ก. ตัดต้นเหตุเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ลุก ลามต่อไป. ตัดไม้ข่มนาม ก. ทําพิธีทางไสยศาสตร์ก่อนออกสงคราม โดยหาไม้ที่มีชื่อเหมือนหรือ สําเนียงคล้ายชื่อ ข้าศึกมาตัดให้ขาดเพื่อเอาชัย. น. เรียกพิธีกรรมอย่างนั้นหรือที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่น นั้นว่า พิธีตัดไม้ข่มนาม. ตัดรอน ก. ตัดขาด, ตัดไมตรี. ตัดราคา ก. ลดราคาให้ตํ่ากว่าคู่แข่งขัน. ตัดรำคาญ ก. ทำให้ความรำคาญหมดไป เช่น เขามาเคี่ยวเข็ญให้ซื้อของอยู่นานจนต้อง ซื้อเพื่อตัดรำคาญ, เสียรำคาญ ก็ว่า. ตัดสิน ก. ลงความเห็นชี้ขาด. ตัดสินใจ ก. ตกลงใจ. ตัดเส้น ก. แต่งเส้นริมภาพทําให้ดูเด่นชัดและเรียบร้อยขึ้น. ตัดหน้า ก. ชิงทําเสียก่อน; ผ่านหน้าในระยะกระชั้นชิด เช่น วิ่งตัดหน้ารถ. ตัดหน้าฉาน ก. เดินผ่านหน้าที่ประทับ. ตัดหนามอย่าไว้หน่อ (สํา) ก. ทําลายให้ถึงต้นตอ. ตัดหัวคั่วแห้ง (สำ) ก. ฆ่าให้ตายเพื่อให้หายแค้น. ตัดหางปล่อยวัด (สํา) ก. ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป.
ถ่ายภาพยนตร์ : ก. บันทึกภาพให้ต่อเนื่องกันบนฟิล์มแถบยาว ๆ เมื่อฉายด้วยเครื่องฉายไปบนจอ จะมองเห็นภาพนั้นเคลื่อนไหวได้ เหมือนจริง, (ปาก) ถ่ายหนัง.
ท้องพลุ :
น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Machrochirichthys machrochirus ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาดาบลาว เว้นแต่มีเส้นข้างตัว อกเชิดขึ้น และต่อเนื่องกับคางซึ่งเงยขึ้นไปอีก ฟันเล็ก ด้านหลังลําตัวสีเขียว อมเหลือง ด้านข้างและท้องสีขาวเงิน พบตามแม่นํ้าและแหล่งนํ้า ขนาดใหญ่ทั่วไป, ดาบ หรือ ฝักพร้า ก็เรียก; ชื่อนี้ยังใช้เรียกปลา แปบบางชนิด. (ดู แปบ๒).
ทอด ๑ : น. ระยะจากจุดหนึ่งถึงอีกจุดหนึ่ง เช่น นอนทอดเดียวตลอดคืน ขึ้นรถ ๒ ทอด, ระยะเดียวหรือหลายระยะต่อเนื่องกัน เช่น มรดก ตกทอด ส่งต่อกันเป็นทอด ๆ.
ทัณฑ-, ทัณฑ์ : [ทันดะ-, ทันทะ-, ทัน] น. โทษที่เนื่องด้วยความผิด; (กฎ) โทษ ทางวินัยสถานหนึ่งที่ใช้แก่ข้าราชการบางจําพวก เช่น ทหาร ตํารวจ. (ป., ส.).