เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
บด ๑ : ก. ทําให้เปลือกแตก เช่น บดข้าวเปลือก, ทําให้แหลก เช่น บดข้าวสุก, ทําให้เป็นผง เช่น บดยานัตถุ์, ทําให้เรียบและแน่น เช่น บดถนน.
บด ๒ : น. ชื่อเรือต่อชนิดหนึ่งรูปเพรียว หัวท้ายเรียว, ถ้าใช้กรรเชียงมักท้ายตัด อย่างเรือบดทหารเรือ.
เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
เปิดปีก : ก. เลื่อยเปิดข้างไม้ซุงแผ่นแรกของทั้ง ๔ ด้านให้เป็นสี่เหลี่ยม.
เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
เปิดผนึก : ว. เรียกจดหมายที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อให้นำออกเผยแพร่ว่า จดหมายเปิดผนึก.
เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
เปิดโลก : ก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง จากดาวดึงส์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เรียกว่า ปางพระเจ้าเปิดโลก.
เปิดสมอง : ก. พักผ่อนหย่อนใจให้สมองปลอดโปร่ง, เปิดหัว ก็ว่า.
เปิดหัว ๑ : น. ชื่อเรือยกพลขึ้นบกซึ่งทางด้านหัวเปิดได้ เรียกว่า เรือเปิดหัว.
เปิดหัว ๒ : ก. เปิดสมอง.
บดเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออก มาเคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า ๆ, เคี้ยวเอื้อง ก็ว่า.
เปิดกล้อง : (ปาก) ก. เริ่มการถ่ายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์ของ แต่ละเรื่อง.
เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
เปิดหมวกลา : ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
เปิดหมวกให้ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย.
เปิดหูเปิดตา : ก. ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการ ไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
โม่ : น. เครื่องบดชนิดหนึ่งทําด้วยหิน รูปร่างคล้ายสีสีข้าว มี ๒ ส่วน ส่วนบนซึ่งเรียกว่า ลูกโม่นั้น มีมือถือสำหรับหมุน และมีรูสำหรับกรอกเมล็ดพืช เมื่อหมุนลูกโม่จะบด เมล็ดพืชให้ละเอียดและไหลลงสู่ส่วนล่างซึ่งมีลักษณะเป็นรางสำหรับรองรับอยู่เกือบ รอบลูกโม่ ด้านหนึ่งของส่วนล่างมีช่องเปิดให้สิ่งที่โม่แล้วไหลลงสู่ภาชนะ ที่รองรับได้. ก. บดให้ละเอียดด้วยโม่.
ผาย : ก. แผ่กว้างออก เช่น อกผาย ตะโพกผาย; เคลื่อนจากที่ (คือ ผ้าย); เปิด; ระบายออก; แบะออก, แยกออก.
มืน : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.
แม่หินบด : น. แท่งหินสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีร่องด้านข้างโดยรอบ สำหรับบดยา, คู่กับ ลูกหินบด.
ไม้เปิดปีก : น. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน.
รถบดถนน : น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้ง ขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ ข้างหลัง.
รางบดยา : น. เครื่องบดยาไทยและยาจีนให้เป็นผง ทำด้วยโลหะรูปร่าง คล้ายรางระนาดแต่ก้นสอบ มีลูกบด.
ลักปิดลักเปิด : [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและ เหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
ลูกหินบด : น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
บอกปัด, บอกเปิด : ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
เรือบด : น. เรือต่อชนิดหนึ่งรูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียว มี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ ใช้ได้ทั้งพายและกรรเชียง.
ไล่เปิด : (ปาก) ก. ไล่ให้หนีไป.
หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
ดาบส : [-บด] น. ผู้บําเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี. (ป., ส. ตาปส), เพศหญิงใช้ว่า ดาบสินี. (ป. ตาปสินี), ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรง ไม้เท้าของดาวบส. (อภัย).
เบิก ๑ : ก. เปิด ใช้ในลักษณะอย่างเปิดผ้าคลุมบายศรีออก เรียกว่า เบิก บายศรี, ทําให้กว้าง เช่น เบิกถนนออกไป เบิกท้องร่อง; ขอให้ จ่าย เช่น เบิกเงิน เบิกของ; นําเข้าเฝ้า เช่น เบิกตัว.
ร่า : ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
โล่ง : ว. มีลักษณะว่าง เตียน ไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ที่โล่ง ป่า ถูกตัดต้นไม้เสียโล่ง, ที่เปิดตลอดไม่มีอะไรกีดกั้นหรือปิดบัง เช่น ห้องโล่ง, โดยปริยายหมายความว่า ปราศจากอุปสรรค เช่น เปิด ทางโล่งแล้ว.
เวิก : ก. เลิก เปิด หรือแหวกแต่บางส่วน เช่น ผ้านุ่งเวิก เวิกม่าน.
สเต๊ก : [สะ] น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยเนื้อสัน หรือปลาเป็นต้น หั่นชิ้นใหญ่ ๆ มักปรุงรส แล้วนำไปย่างหรือทอด กินกับมันฝรั่งทอด บด หรือต้ม และผักบางชนิด ใส่เครื่องปรุงรส ตามชอบ. (อ. steak).
บท ๑, บท- ๑ : [บด, บดทะ-] น. ข้อความเรื่องหนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่ง ๆ เช่น บทที่ ๑ บทที่ ๒; กําหนดคําประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท; คําที่ตัวละครพูด เช่น บอกบท; คําประพันธ์ ที่เขียนขึ้นสําหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท; คราว, ตอน, ในคําเช่น บทจะทําก็ทํากันใหญ่ บทจะไป ก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. (ป. ปท).
บทจร : [บดทะ-] (กลอน) ก. เดินไป. (ป.).
บทบงกช : [บดทะ-] (กลอน) น. บัวบาท, เท้า. (ส. ปทปงฺกช).
บทบงสุ์ : [บดทะ-] น. ละอองเท้า. (ป.).
บทบาท : [บดบาด] น. การทําท่าตามบท, การรําตามบท, โดยปริยาย หมายความว่า การทําตามหน้าที่ที่กําหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่ บทบาทของครู.
บทบูรณ์ : [บดทะ-] น. คําที่ทําให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตาม ฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คํา ''นุ'' เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
บทภาชน์ : [บดทะ-] น. บทไขความ. (ป.).
บทภาชนีย์ : [บดทะ-] น. บทที่ตั้งไว้เพื่อไขความ, บทที่ต้องอธิบาย. (ป.).
บทมาลย์ : [บดทะ-] (แบบ) น. เท้าผู้มีบุญ เช่นกษัตริย์.
บทรัช : [บดทะ-] (แบบ) น. ละอองเท้า เช่น นางโรยนางรื่นล้าง บทรัช. (ลอ).