เบื่อ ๑ : ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา. ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
เบื่อ ๒ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
เบื่อเป็นยารุ : ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะ มีกลิ่นเหม็นและรสขมเฝื่อน.
เหม็นเบื่อ : ก. เบื่อหน่ายเพราะจําเจ.
บอ : ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.
ไม้เบื่อไม้เมา : ว. ไม่ลงรอยกัน, ขัดแย้งกันเป็นประจำ.
ยาเบื่อ : น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย.
รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
กระโดน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Careya sphaerica Roxb. ในวงศ์ Lecythidaceae ชอบขึ้นในป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้น ดอกมีเกสรเพศผู้จํานวนมาก เป็นพู่คล้ายดอกชมพู่ขาว หอม ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕-๘ เซนติเมตร ผลค่อนข้างกลม เปลือกใช้เบื่อปลาหรือทุบเป็นแผ่นปูหลังช้าง, โดน จิก ปุย ปุยกระโดน ปุยขาว หรือ ผ้าฮาด ก็เรียก.
กลอย ๑ : [กฺลอย] น. ชื่อไม้เถามีหนามชนิด Dioscorea hispida Dennst. ในวงศ์ Dioscoreaceae มีหัวกลมใหญ่อยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ หัวดิบมีพิษเบื่อเมา แต่เมื่อฝานแช่น้ำไหลและนํามา นึ่งหรือต้มให้สุกแล้วกินได้.
ขอทอง : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนขมิ้น แต่หัวเล็กสอดกันเป็นข้อ ๆ ต้นและใบเขียว เนื้อเหลือง ใช้แก้เบื่อเมา, ขอคําน้อย ก็เรียก. (กบิลว่าน).
ขี้กาแดง : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Trichosanthes tricuspidata Lour. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก.
จืดตา : ว. ไม่เข้ม, ไม่เด่น, เบื่อเพราะชินตา.
นิพพิทา : [นิบพิทา] น. ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
นิพพิทาญาณ : น. ความรู้ที่ทําให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
เบือ ๑ : ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่กริยาตาย) ในคําว่า ตายเป็นเบือ คือ ตาย เกลื่อน กลาดไปเหมือนถูกยาเบื่อ.
เพลิดเพลิน : [เพฺลิดเพฺลิน] ก. สนุกสนานไม่รู้จักเบื่อ, สนุกสนานจนลืมกังวล.
เพลินตา : ก. ดูเพลิน, ดูไม่รู้จักเบื่อ.
โพบาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Sapium baccatum Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae เป็นไม้เนื้ออ่อน มียางทําให้ระคายเคืองต่อผิวหนัง ผลใช้เบื่อปลา, พายัพเรียก กระดาด.
มังตาน : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Schima wallichii (DC.) Korth. ในวงศ์ Theaceae เปลือกชั้นในระคายผิวหนังทําให้เป็นเม็ดผื่นคัน ใช้เบื่อปลาได้, ปักษ์ใต้เรียก พันตัน.
มาน ๑ : น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
ยาหม้อใหญ่ : (สํา) น. สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่.
ระอมระอา : (กลอน) ก. เบื่อหน่ายเต็มที.
ระอา : ก. เบื่อหน่ายหรือหมดกําลังใจเพราะถูกรบกวน, ทําให้เกิดรําคาญหรือ มีเหตุติดขัดบ่อย ๆ, ระอิดระอา ก็ว่า.
รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
วิจาร, วิจารณ, วิจารณ์ : [วิจาน, วิจาระนะ, วิจาน] ก. ให้คําตัดสินสิ่งที่เป็นศิลปกรรมหรือ วรรณกรรมเป็นต้น โดยผู้มีความรู้ควรเชื่อถือได้ ว่ามีค่าความงาม ความไพเราะดีอย่างไร หรือมีข้อขาดตกบกพร่องอย่างไรบ้าง เช่น เขาวิจารณ์ว่า หนังสือเล่มนี้แสดงปัญหาสังคมในปัจจุบันได้ดีมาก สมควรได้รับรางวัล, ติชม, มักใช้เต็มคำว่า วิพากษ์วิจารณ์ เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่าหนังเรื่องนี้ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
วิพากษ์วิจารณ์ : ก. วิจารณ์, ติชม, เช่น คนดูหนังวิพากษ์วิจารณ์ว่า หนังเรื่องนี้ ดำเนินเรื่องช้าทำให้คนดูเบื่อ.
เว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงเว้ย ไปไหนเว้ย ไปตลาดมาเว้ย เบื่อจริงเว้ย, โว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น เว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, โว้ย ก็ว่า.
แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
โว้ย : ว. คําลงท้ายของการร้องเรียก ถาม หรือขานรับเป็นต้น ใช้ใน ลักษณะที่ไม่สุภาพหรือเป็นกันเอง เช่น แดงโว้ย ไปไหนโว้ย ไปตลาดมาโว้ย เบื่อจริงโว้ย, เว้ย ก็ว่า. อ. คําที่เปล่งออกมาแสดง ความสงสัยหรือไม่พอใจเป็นต้น เช่น โว้ย! ไม่มีใครอยู่สักคนเลย, เว้ย ก็ว่า.
สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
หน่ายหนี : ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.
หยำเหยอะ, หยำแหยะ : [หฺยําเหฺยอะ, หฺยําแหฺยะ] ว. อาการที่เคี้ยวซ้ำ ๆ น่ารังเกียจ, อาการที่พูด ซ้ำซากน่าเบื่อ.
หางไหลแดง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Derris elliptica (Roxb.) Benth. ในวงศ์ Leguminosae รากใช้เบื่อปลาและทํายาฆ่าแมลง, ไหลนํ้า หรือ โล่ติ๊น ก็เรียก.
อิดหนาระอาใจ : ก. เบื่อหน่าย, เอือมระอา.
เอียน ๑ : ว. ชวนให้คลื่นไส้ (มักใช้แก่รสหวาน). ก. เบื่อมาก เช่น ฉันเอียน หน้าเขาเต็มทีแล้ว.
เอือม : ว. เบื่อหน่ายในสิ่งที่ซํ้า ๆ ซาก ๆ มากเกินไป.
บอระเพ็ด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
บ่อ : น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือ เป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.
บโทน : [บอ-] น. ผู้ติดหน้าตามหลัง, คนใช้.
บราง : [บอ-] (โบ; กลอน) ก. ไม่, ไม่มี, เช่น บรางนาน บรางโทษ, ใช้ บร้าง ก็มี.
บ๊อง, บ๊อง ๆ : (ปาก) ว. ไม่เต็มเต็ง, บ้า ๆ บอ ๆ.
ไม่เต็มเต็ง, ไม่เต็มบาท : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ สติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ไปทาง บ้า ๆ บอ ๆ, สองสลึงเฟื้อง หรือ สามสลึงเฟื้อง ก็ว่า.
ไม่เต็มหุน : (ปาก) ว. มีสติไม่สมบูรณ์, บ้า ๆ บอ ๆ.
สติไม่ดี : ว. บ้า ๆ บอ ๆ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น หมู่นี้สติไม่ดี ทำงาน ผิดพลาดบ่อย ๆ.
สองสลึงเฟื้อง : (ปาก) ว. บ้า ๆ บอ ๆ, มีสติไม่สมบูรณ์, มีจิตใจใกล้ ไปทางบ้า ๆ บอ ๆ, สามสลึงเฟื้อง ไม่เต็มเต็ง หรือ ไม่เต็มบาท ก็ว่า.
บ ๒, บ่ : [บอ, บ่อ] ว. ไม่, มักใช้ในหนังสือเก่าหรือกวีนิพนธ์ หรือบางท้องถิ่น, ในที่ใช้ บ เมื่อใช้ว่า บ่ ก็มีความเช่นเดียวกัน.