Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เบื้อง , then บอง, เบื้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เบื้อง, 102 found, display 1-50
  1. เบื้อง : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
  2. เบื้อง : น. ชื่ออาหารว่างอย่างหนึ่ง ทําโดยละเลงแป้งที่ผสมดีแล้วลงบน กระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอ กัน ใส่ไส้หวานหรือไส้เค็มแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง หรือ ขนมเบื้องไทย.
  3. เบื้องญวน : น. ชื่ออาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกรอกแป้ง ลงบนกระทะให้บางกรอบ ใส่ไส้กุ้งแล้วพับ ๒ เรียกว่า ขนมเบื้อง ญวน.
  4. เบื้องหลัง : ว. ข้างหลัง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ไม่เปิดเผยหรือแอบ แฝงอยู่, เบื้องหน้าเบื้องหลัง ก็ว่า.
  5. เบื้องต้น : ว. ก่อน, แรก.
  6. เบื้องบน : น. ที่อยู่สูงขึ้นไป, โดยปริยายหมายถึงผู้หรือสิ่งที่มีอํานาจ เหนือกว่า.
  7. เบื้องว่า : สัน. ฝ่ายว่า, ส่วนว่า.
  8. เบื้องหน้า : ว. ข้างหน้า, ต่อไป, อนาคต.
  9. ทิศ, ทิศา : น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
  10. ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก : (สํา) ก. ดีแต่พูด แต่ทำไม่ได้.
  11. ข้าง : น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
  12. กถามุข : น. เบื้องต้นของเนื้อเรื่อง. (ป.; ส. -มุข ว่า หน้า).
  13. ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
  14. กระจกตา : น. ส่วนใสของตา มีรูปกลมแบน สีใส พื้นหน้านูนออก พื้นหลังหวำ หนาประมาณ ๑ มิลลิเมตรประกอบอยู่เบื้องหน้า ของดวงตา.
  15. กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
  16. กระเบื้อง : น. เครื่องมุงหลังคาหรือปูพื้นเป็นต้น ทําด้วยดิน หรือวัสดุอย่างอื่น โดยปรกติเป็นแผ่น, เครื่องถ้วยชามที่ปั้นด้วยดินประสมอย่างดี เนื้อมีลักษณะแข็งและขาว เคลือบผิวเป็นมัน มีพื้นหรือลวดลาย เป็นสีต่าง ๆ เรียกรวมว่า เครื่องกระเบื้อง, ชิ้นของเครื่องกระเบื้อง ที่แตกออก, กระทะแบน ๆ สําหรับละเลงขนมเบื้องเป็นต้น เดิมทํา ด้วยดินเผา แต่ปัจจุบันทําด้วยโลหะ; ลักษณนามเรียกจํานวนข้าวเม่า เป็นต้นที่คั่วครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ข้าวเม่ากระเบื้องหนึ่ง งา ๒ กระเบื้อง.
  17. กระวีชาติ : น. หมู่กวี, พวกกวี, เช่น เสดจ์ในพระที่นั่งพลับพลาทอง โดยอุตราภิมุขพร้อมด้วยหมู่มาตยามนตรีกระวีชาติราชปะโรหิตาจารย์ เฝ้าพระบาท. (สามดวง), เขียนเป็น กระวีชาต หรือ กระวิชาติ ก็มี เช่น พระองค์ทรงพระกรุณาเพื่อจะมิให้มุกขมนตรีกระวีชาตแลราษฎร ล่วงเกินพระราชอาญา, พร้อมด้วยหมู่มุกขมาตยามนตรีกระวิชาติราช สุริยวงษพงษพฤฒาโหราจารยเฝ้าเบื้องบาทบงกชมาศ. (สามดวง).
  18. กรินทร์ : น. พญาช้าง, ช้างที่ควรยกย่อง, เช่น เบื้องนั้นบรรลุ ผู้เผือกกรินทร์ หนึ่งฤๅ. (ลิลิตพยุหยาตรา), ใช้เป็น กเรนทร์ ก็มี. (ส. กรินฺ + อินฺทฺร = กรินทร์ = ช้างใหญ่, ช้างศึก, ช้างพระอินทร์).
  19. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  20. กะยุ : (โบ) ก. ยก, ย่าง, เยื้อง, เช่น กะยุบาทไคลคลา. (เสือโค), กะยุบาทเบื้องปลายตีน. (พิชัยสงคราม).
  21. กาบู : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทน มากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย ก็เรียก.
  22. กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
  23. โกรกธาร : น. หุบผาลึกชันและแคบมาก มีหน้าผาชัน ๒ ข้าง มักมีลําธารอยู่เบื้องล่าง.
  24. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  25. จรบน, จรบัน : [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชําระจรบันสระหอมรส. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  26. ช่อฟ้า : น. ชื่อตัวไม้ที่ติดอยู่บริเวณหน้าจั่ว รูปเหมือนหัวนาค ชูขึ้นเบื้องบน.
  27. ชักใย : (สํา) ก. บงการอยู่เบื้องหลัง.
  28. ดอกไม้จีบ : น. เรียกลายแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่จัดเป็นดอกเล็ก ๆ สําหรับประดับที่รังดุมคอพับของเสื้อสากลเบื้องซ้ายแทนเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์, ภาษาปากใช้ว่า ดอกจอก.
  29. ดาด ๑ : ก. เอาวัตถุเช่นผ้าเป็นต้นขึงหรือปิดบังให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา, ถ้าปูตอนล่างเช่นพื้นเรือนเป็นต้น เรียกว่า ลาด เช่น ลาดเสื่อ ลาดพรม. ว. ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด.
  30. เดือย ๑ : น. อวัยวะของไก่ตัวผู้และนกบางชนิด มีรูปเรียวแหลม งอกขึ้นที่เหนือ ข้อตีนเบื้องหลัง; แกนที่ยื่นออกมาสําหรับเอาของอื่นสวม เช่น เดือยโม่ เดือยหัวเสา, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่ยื่นออกมามีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น.
  31. ต้น : น. ลําของต้นไม้, เป็นชื่อรวมทั่วไปของต้นไม้และพืชผักต่าง ๆ เช่น ต้นมะขาม ต้นสัก ต้นหญ้า ต้นผักชี ต้นข้าว, ลักษณนามว่า ต้น เช่น มะม่วงต้นหนึ่ง ผักชี ๒ ต้น; เรียกผู้ที่นับกันว่าเป็นผู้เริ่มต้น วงศ์สกุลว่า ต้นวงศ์ต้นสกุล; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) คํานําหน้าชื่อพระภิกษุ สามัญ; เบื้องต้นของสิ่งที่มีลักษณะกลมยาว เช่น ต้นขา ต้นแขน; ตอนแรก ๆ เช่น ต้นสัปดาห์ ต้นเดือนต้นปี; ใช้ประกอบหน้าคําอื่น แปลว่า ผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้มีหน้าที่รักษาสิ่งของหรือทํา กิจการประจํา เช่น ต้นกุญแจ ต้นห้อง; ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า ต้น เช่น ต้นเพลงฉิ่ง ต้นเพลงยาว ต้นเพลงรํา. (ดึกดําบรรพ์). ว. แรก เช่น หน้าต้น; แรกเริ่ม เช่น แต่ต้น; เนื่องใน พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ประพาสต้น กฐินต้น ช้างต้น ม้าต้น.
  32. ตะโพก : น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อ ส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า.
  33. ทวย ๒ : น. ไม้เท้าแขนที่รับเต้า บางทีทําเป็นรูปนาค, เรียกว่า คันทวย ก็มี; วัตถุอย่างหนึ่งเป็นคันสําหรับรองส่งเครื่องราชูปโภค เช่น ขัน ใส่เงินทรงโปรยหรือพระสุพรรณศรีถวายพระมหากษัตริย์จาก เบื้องตํ่าสู่ที่ประทับ เรียกว่า พระทวย. ว. ระทวย, อ่อน, งอน.
  34. ทศทิศ : น. ทิศทั้ง ๑๐ คือ ทิศทั้ง ๘ ทิศเบื้องบน ๑ ทิศเบื้องล่าง ๑. (ส.).
  35. ท้องน่อง : น. ส่วนของขาเบื้องหลัง มีลักษณะโค้งนูน ด้าน ตรงกันข้ามกับหน้าแข้ง.
  36. ทักขิญ : [-ขิน] น. ความเป็นเบื้องขวา หมายความว่า สะดวกในการพูดจา ปราศรัย, ความอารีอารอบ, ความกรุณา. (ป. ทกฺขิ?ฺ?).
  37. ทาย ๑ : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทํานาย ก็ว่า.
  38. ทำนาย : ก. บอกเหตุการณ์หรือความเป็นไปที่จะเกิดในเบื้องหน้า, ทาย ก็ว่า. (แผลงมาจาก ทาย).
  39. นาคปรก : [นากปฺรก] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ หงายพระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา มีพญานาค แผ่พังพานปกคลุมเบื้องบนพระเศียร ที่สร้างเป็นแบบขัดสมาธิเพชรก็มี มี ๒ แบบ แบบหนึ่งประทับนั่งสมาธิบนขนดพญานาคอีกแบบหนึ่ง ประทับนั่งสมาธิภายในวงขนดพญานาค คือพญานาคขดตัวล้อมพระกาย ไว้ถึงพระอังสา เพื่อป้องกันลมฝน.
  40. นิทานวจนะ : [นิทานนะวะจะนะ] น. คําแถลงเรื่องเดิม, ข้อความเบื้องต้น. (ป.).
  41. บน ๑ : ก. ขอร้องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ช่วยโดยให้คํามั่นว่าจะให้สิ่งของตอบ แทนหรือทําตามที่ให้สัญญาไว้เมื่อเป็นผลสําเร็จ, บนบาน ก็ว่า. ว. เบื้องสูง, ตรงข้ามกับ เบื้องล่าง, เช่น ข้างบน ชั้นบน เบื้องบน. บ. ในที่ซึ่งอยู่สูงหรือเหนือ เช่น นั่งอยู่บนเรือน วางมือบนหนังสือ มีหนังสือวางอยู่บนโต๊ะ.
  42. บรรพ- ๒, บรรพ์ : [บันพะ-, บัน] ว. ก่อน, ทีแรก, เบื้องต้น; ตะวันออก. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว).
  43. บรากรม : [บะรากฺรม] (แบบ) น. ความเพียร, ความบากบั่น, ความพยายาม, ความแข็งขัน, ความก้าวไปเพื่อคุณในเบื้องหน้า. (ส. ปฺรากรฺม; ป. ปรกฺกม).
  44. บอง ๑ : น. เสือบอง. (ดู แมวป่า ที่ แมว๑).
  45. บุพ-, บุพพ- : [บุบพะ-] ว. ก่อน, ทีแรก; เบื้องต้น, เบื้องหน้า. (ป. ปุพฺพ; ส. ปูรฺว). บุพกรรม น. กรรมที่ทําไว้แต่ปางก่อน. (ป. ปุพฺพ + ส. กรฺมนฺ; ป. ปุพฺพกมฺม).
  46. บุพพัณหสมัย : [-พันหะสะไหฺม] น. เวลาเบื้องต้นแห่งวัน, เวลาเช้า. (ป. ปุพฺพณฺหสมย; ส. ปูรฺวาหณ + สมย).
  47. บุพพาจารย์ : น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา. (ป. ปุพฺพาจริย; ส. ปูรฺวาจารฺย).
  48. บุพภาค : น. ส่วนเบื้องต้น. (ป. ปุพฺพภาค).
  49. บุรพาจารย์, บูรพาจารย์ : [บุระ-, บูระ-] น. อาจารย์ในเบื้องต้น คือ บิดามารดา.
  50. บุรัตถิมทิศ : [-ถิมะทิด] น. ทิศตั้งอยู่เบื้องหน้า, ทิศตะวันออก. (ป. ปุรตฺถิมทิส).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-102

(0.0552 sec)