เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
ลมเบ่ง : ก. อาการที่อยากเบ่งขณะที่มดลูกหดตัวและตำแหน่ง ของทารกอยู่ต่ำมากพร้อมที่จะคลอดออกมา.
เป่ง : ว. พองขึ้นหรือนูนขึ้นเต็มที่ เช่น บวมเป่ง ท้องเป่ง.
กระเบง : (กลอน) ก. เบ่ง เช่น ระด่าวตึงกระเบงแขน. (อนิรุทธ์); ตะเบ็ง, กระเบญ ก็ใช้.
กรรมชวาต : [กำมะชะวาด] น. ลมเกิดแต่กรรม คือ ลมเกิดในครรภ์ เวลาคลอดบุตร ได้แก่ ลมเบ่ง เช่น พอถึงพระหัตถ์พระราชเทวีก็ทรง จับเอากิ่งรัง พอเกิดลมกรรมชวาตหวั่นไหวประชวรพระครรภ์. (ปฐมสมโพธิกถา). (สฺ กรฺม + ช = เกิด + วาต = ลม).
กัมมัชวาต : [กํามัดชะวาด] (แบบ) น. กรรมชวาต, ลมเบ่ง. (ป.).
ตระเบ็ง : [ตฺระ-] (กลอน) ก. กลั้นใจดันเบ่งเสียงออกให้ดัง, อัดใจให้ท้องป่องขึ้น, กระเบง. undefined
ตะเบ็ง : ก. เบ่งเสียงออกให้ดังเกินสมควร.
ทำ : ก. กระทํา, ประกอบขึ้น, ผลิตขึ้น, สร้างขึ้น, ก่อขึ้น, เช่น ทําเก้าอี้ ทําโต๊ะ ทํารองเท้า ทํารัง; ประกอบการงาน เช่น ทํานา ทําสวน ทําโป๊ะ; ดําเนินการ, ปฏิบัติงาน, เช่น ทําหน้าที่ประธาน ทําตาม คําสั่ง ทําตามกฎหมาย; แต่งให้งาม เช่น ทําผม ทํานัยน์ตา ทําจมูก; คิดและปฏิบัติไปตามกฎเกณฑ์ที่กําหนดไว้ เช่น ทําเลข ทําการฝีมือ, ประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับการนั้น ๆ เช่น ทําวัตร ทําศพ; แสดง เช่น ทําบท ทําเพลง ทําเบ่ง; (ปาก) ศึกษาในระดับปริญญา เช่น ทําปริญญา ทําดอกเตอร์.
บง ๒ : (กลอน) ก. มองดู, แลดู, เช่น พลางพระบงจัตุบาท. (ตะเลงพ่าย).
บง ๓ : ก. คล้อง, ห่ม, เช่น บงบ่าเฉวียง. (ม. คําหลวง จุลพน). (ข. บงกอ ว่า คล้องคอ).
บง ๔ : (โบ) ก. บ่ง, ชี้, ระบุ, เช่น แถลงปางแสดงดิพรเกื้อ บุญบง บาปนา. (ยวนพ่าย).
ปะทุ : ก. แตกหรือผุดออกมาด้วยแรงเบ่งดัน เช่น ภูเขาไฟปะทุ ถ่านปะทุ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพ่งจนตาจะปะทุ.
ปูด ๒ : ว. นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินปูด หน้าปูด; เสียงดังเช่นนั้น.
ยืดอก : ก. เบ่งอกแสดงให้เห็นความสง่าผ่าเผยเป็นต้น.
อูด ๒ : ก. นูนขึ้น เช่น นํ้าอูด, นูนเบ่งขึ้นมาในลักษณะอย่างดินอูด.
อูม : ว. โป่งพอง เช่น หน้าอูม, เบ่งนูนขึ้น เช่น บวมอูม.
บง ๑ : น. ชื่อไผ่ชนิด Bambusa tulda Roxb. ในวงศ์ Gramineae ไม่มีหนาม ปล้องสั้น เนื้อลําหนา ใช้จักตอก.
บงอับบงรา, บ่งอับบ่งรา : ก. เข้าที่อับจน.
บ่ง : ก. ชี้, ระบุ, อ้างหรือแสดงให้รู้โดยเจาะจง, เช่น การกระทําของเขา บ่งชัดอยู่แล้วว่าเขาเป็นผู้กระทําผิด; ใช้ของแหลม ๆ แทงที่เนื้อเพื่อ เอาหนามเป็นต้นที่ฝังอยู่ในเนื้อหรือหนองออก เช่น บ่งหนาม บ่งหนอง.
บึ่ง ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายสกุลในหลายวงศ์ ขนาดเท่าแมลงหวี่ หรือโตกว่าเล็กน้อย มีปีกคู่เดียว ปากแบบดูดกิน เจาะดูดเลือด คนและสัตว์กินเป็นอาหาร มีอยู่ชุกชุมตามบริเวณชายนํ้า ชายทะเล และในป่าทึบ ที่สําคัญได้แก่ สกุล Phlebotomus วงศ์ Psychodidae, สกุล Simulium วงศ์ Simuliidae, สกุล Lepto conops และ Culicoides วงศ์ Ceratopogonidae เป็นต้น, ปึ่ง หรือ คุ่น ก็เรียก.
บึ่ง ๒ : ก. วิ่งหรือขับไปโดยเร็ว เช่น บึ่งไป บึ่งรถ บึ่งเรือ.
บุ่ง : น. บึง.
เบิ่ง : ก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง.
แบ่ง : ก. แยกสิ่งที่เป็นอันเดียวกันหรือถือว่าเป็นอันเดียวกันออกเป็น ส่วน ๆ เช่น แบ่งเงิน แบ่งของ.
บงกช : [บงกด] น. บัว. (ป., ส. ปงฺกช).
กระบอก ๓ : น. ดอกไม้, กลีบดอกไม้, เช่น กระบอกทิพย์ผกากวน กาเมศ กูเอย. (นิ. นรินทร์), กว่ากลิ่นกระบอกบง - กชเกศเอาใจ. (เสือโค), ใช้ว่า ตระบอก ก็มี. (เทียบอะหม บฺลอก; ไทยใหญ่ หมอก; ไทยขาว และ ไทยนุง บอก; เขมร ตฺรบก).
กระบอง : น. ไม้สั้นสําหรับใช้ตี มีรูปกลมบ้าง เหลี่ยมบ้าง คล้ายพลองแต่สั้นกว่า, ใช้ว่า ตระบอง ก็มี. (ข. ฏํบง; ปักษ์ใต้ บอง).
กำโบล ๑ : (แบบ) น. กโบล, กระพุ้งแก้ม, เช่น ปรางเปรียบกำโบลบง- กชรัตนรจนา. (สุธน). (ป., ส. กโปล).
จำแนก : ก. แจก, แบ่ง, แยกออก, เช่น จําแนกออกเป็น ๓ อย่าง. (แผลงมาจาก แจก).
ชรแร่ง : [ชฺระ] (กลอน) ก. แบ่ง, แยก, เช่น ฟ้าชรแร่งหกคลอง ช่วยดู. (แช่งนํ้า).
ชิ้น ๑ : น. ก้อนหรือแผ่นเล็กที่ตัด แล่ แบ่ง แยก หรือ แตกออกจาก ส่วนใหญ่ เช่น ชิ้นปลา ชิ้นเนื้อ ชิ้นกระเบื้อง, ลักษณนาม เรียกสิ่งที่เป็นก้อนเป็นแผ่นเล็ก ๆ เช่นนั้น เช่น ผ้าชิ้นหนึ่ง เนื้อ ๒ ชิ้น.
บัดบง : ก. สูญหาย. (ข. บาต่ ว่า หาย, บง่ ว่า เสียไป).
บาทบงกช : [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
เบียก : ก. แบ่ง, ปัน.
ปัน : ก. แบ่ง เช่น ปันเป็นส่วน ๆ, แบ่งซื้อ ในคำว่า ขอปัน, แบ่งขาย ในคำว่า ปันให้.
พิสูจน์ : ก. บ่ง, ชี้แจงให้รู้เหตุผล, เช่น เอาพยานหลักฐานไปพิสูจน์ความจริง ในศาล, ทดลองให้เห็นจริง, ทดลองหาความจริง, เช่น มีวิธีพิสูจน์ ว่าเป็นผงชูรสแท้หรือไม่. (ส. วิสูจน).
ระนาดเอก : น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมาก ทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบา และนุ่มนวล.
รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
ลบอง : [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
เลบง : [ละเบง] (กลอน) ก. แต่ง, ประพันธ์. (ข. เลฺบง ว่า การเล่น).
วิภัช, วิภัช : [พัด, พัดชะ] ก. แบ่ง, แยก, จําแนก. (ป., ส.).
สบง : [สะบง] น. ผ้านุ่งของภิกษุสามเณร. (ข. สฺบ่ง).
สัตตบงกช :
[สัดตะบงกด] น. ชื่อบัวหลวงพันธุ์หนึ่ง. (ดู บัว).
หอย : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Mollusca มีเปลือกหุ้มตัว แบ่ง ออกได้เป็น ๒ จําพวกตามลักษณะของเปลือก คือ จําพวกกาบเดี่ยว เช่น หอยขม (Filopaludina doliaris) ในวงศ์ Viviparidae และจําพวกกาบคู่ เช่น หอยนางรม (Saccostrea forskali) ในวงศ์ Ostreidae.
อลึ่งฉึ่ง : [อะหฺลึ่ง] ว. อาการที่บวมเป่งเห็นได้ชัด เช่น หน้าบวมอลึ่งฉึ่ง; เรียกลักษณะของซากศพที่ขึ้นเต็มที่ว่า ขึ้นอลึ่งฉึ่ง, โดยปริยายเรียก อาการที่คนอ้วนมากนอนหงายหรือนั่งตามสบายว่า นอนอลึ่งฉึ่ง นั่งอลึ่งฉึ่ง.