เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
เปรตวิษัย, เปรตวิสัย : [เปฺรดตะ-] น. ภูมิหรือกําเนิดแห่งเปรต, เปตวิสัย ก็ใช้. (ส. ไปตฺรฺย + วิษย; ป. เปตฺติวิสย).
ข้าวเปรต : น. เครื่องเซ่นเปรตในเทศกาลตรุษสารท.
ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
นรกจกเปรต : น. คนที่เหี้ยมโหด คล้ายกับเปรตมาจากนรก.
ต้มเปรต : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ทําคล้ายต้มยํา แต่ใช้ปลาไหลทั้งตัวโดยมาก.
เปต : [เปตะ, เปดตะ] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์; ผู้ตายไปแล้ว, เปรต ก็ว่า. (ป.; ส. เปฺรต).
อมนุษย์ : [อะมะ] น. ผู้ที่มิใช่มนุษย์ (หมายรวมทั้ง เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย ภูตผีปิศาจ เป็นต้น) แต่โดยมากหมายถึง ภูตผีปิศาจ. (ส.; ป. อมนุสฺส).
อสุรกาย : [อะสุระ] น. สัตว์เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง เชื่อกันว่า ชอบเที่ยวหลอกหลอนคน, คู่กับ เปรต. (ป.).
อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
กรู ๒ : [กฺรู] น. ข้าวชนิดที่ทําเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งใน พิธีสารท เรียกว่า ข้าวกรู.
กามภพ : น. ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวด้วยกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของ ผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ (นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตวิสัยภูมิ อสุรกายภูมิ) มนุษยโลก ๑ และสวรรค์ ๖ ชั้น (จาตุมหาราชิกหรือ จาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานนรดี ปรนิมมิตวสวัตดี) รวมเป็น ๑๑, กามภูมิ ก็ว่า. (ป.).
ข้าวกรู : น. ข้าวชนิดที่ทําเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท.
ตระบอง : [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลว เพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
เปตวิสัย : [เปตะวิไส, เปดตะวิไส] น. เปรตวิสัย.
ส่วนบุญ : น. ส่วนที่เป็นบุญกุศล เช่น แผ่ส่วนบุญ เปรตขอส่วนบุญ.
อบายภูมิ : [อะบายยะพูม] น. ภูมิที่เกิดอันปราศจากความเจริญ มี ๔ คือ นรก เปรตวิสัย อสุรกายภูมิ และกําเนิดดิรัจฉาน. (ป., ส. อปาย).
ปรตยักษ์ : [ปฺรดตะยัก] (กลอน) ก. ประจักษ์. (ส. ปฺรตฺยกฺษ; ป. ปจฺจกฺข).
ปฏิ- : คําอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นําหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ, ตอบ, ทวน, กลับ. (ป.; ส. ปฺรติ).
ประติทิน : น. ปฏิทิน. (ส. ปฺรติ + ทิน; ป. ปฏิ + ทิน).
ปรีดิ, ปรีดิ์, ปรีดี : [ปฺรี-, ปฺรี] น. ความอิ่มใจ, ความปลื้มใจ, ความยินดี. (ส. ปฺรีติ; ป. ปีติ).
ปีติ : น. ความปลาบปลื้มใจ, ความอิ่มใจ. (ป.; ส. ปฺรีติ).