เปลี่ยว ๒ : ว. ว้าเหว่ เช่น เปลี่ยวใจ; ห่างไกลผู้คน เช่น ทางเปลี่ยว, ไม่มีผู้คน ไปมา เช่น เวลากลางคืนถนนสายนี้เปลี่ยว.
เปลี่ยว ๑ : [เปฺลี่ยว] น. เรียกเนื้อที่นูนขึ้นที่คอวัวควายและสัตว์มีกีบเมื่อ เวลาหนุ่ม, ความหนุ่มของวัวควาย. ว. หนุ่ม (ใช้แก่วัวควาย).
เปลี่ยวดำ : น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความ เย็นมาก, เกลี่ยวดํา ก็ว่า.
โกรด : [โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกําลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
เหว่ : [เหฺว่] ว. เปล่า, เปลี่ยว, เช่น เหว่ใจ.
เอ ๑ : ว. หนึ่ง; เปลี่ยว, เดี่ยว, เช่น เอองค์. (ตัดมาจาก เอก).
เปล่าเปลี่ยว : ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่.
ถึก : ว. เปลี่ยว, หนุ่ม, (ใช้แก่วัวควายตัวผู้) เช่น วัวถึก ควายถึก (ไทยเดิม ใช้หมายความว่า ตัวผู้, ถ้าตัวเมียใช้ แม่ เช่น ม้าแม่ หมาแม่).
วิธุระ : [วิทุ] ว. เปลี่ยว, ว้าเหว่. (ป., ส.).
เกลี่ยวดำ : [เกฺลี่ยว-] น. โรคเปลี่ยวดํา.
เงียบเหงา : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย.
ชระงม : [ชฺระ] (กลอน) น. ป่ากว้าง, ป่าใหญ่. ว. เปลี่ยวเปล่า, เงียบสงัด, เช่น อยู่ชระงมนั้น. (ม. คําหลวง มหาราช).
ตระโมจ : [ตฺระโหฺมด] ว. ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, โดดเดี่ยว. (ข. สฺรโมจ).
เถลิง : [ถะเหฺลิง] ก. ขึ้น เช่น เถลิงราชย์ เถลิงอํานาจ. ว. ขึ้นหนุ่ม, ขึ้นเปลี่ยว, เช่น วัวเถลิง.
ประหว่า : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เช่น มือประหว่าคว้าหมอน. (สมุทรโฆษ).
ปริปันถ์ : [ปะริ-] น. อันตราย, อันตรายในทางเปลี่ยว. (ป., ส.).
เปล่า : [เปฺล่า] ว. ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง เช่น ขวดเปล่า มือเปล่า, ว่าง ๆ; เป็นคําปฏิเสธ แปลว่า ไม่มี ไม่เป็นอย่างนั้น; ไม่มี ข้อผูกพัน เช่น ให้เปล่า ได้เปล่า. ว. อ้างว้าง, ว้าเหว่, เช่น เปล่าอก เปล่าใจ เปล่าเปลี่ยว.
พี้โพ้ : น. โพล้เพล้; ที่เปล่าเปลี่ยวทุรกันดาร; เพล้โพล้ ก็ว่า.
เพล้โพล้ : น. โพล้เพล้; ที่เปล่าเปลี่ยวทุรกันดาร; พี้โพ้ ก็ว่า.
วังเวง : ก. ลักษณะบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทำให้เกิดความรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยวใจ เช่น เข้าไปในบ้านร้างรู้สึกวังเวง.
วัวเถลิง : น. วัวเปลี่ยว, วัวหนุ่ม.
ว้า ๒ : ว. ว่าง, เปลี่ยวใจ, เปล่าใจ, ใจหาย.
ว้าเหว่ : ว. รู้สึกอ้างว้าง, เปลี่ยวใจ, เช่น ไปต่างถิ่น พอเย็นลงก็รู้สึก ว้าเหว่ คิดถึงบ้าน.
วิวัน : น. ที่เปล่าเปลี่ยว. (ป.).
วิเวก : ว. เงียบสงัดทำให้รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ, เงียบสงัดทำให้รู้สึกวังเวงใจ, เช่น อยู่ในวิเวก รู้สึกวิเวกวังเวงใจ. (ป.).
หงอยเหงา : [หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.
หนาวอารมณ์ : ว. รู้สึกเปล่าเปลี่ยวใจ.
เหงา ๑ : [เหฺงา] ว. เปลี่ยวใจ, เปล่าเปลี่ยว, ไม่คึกคัก.
เหงาหงอย : ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, หงอยเหงา ก็ว่า.
อ้างว้าง : ว. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, เปลี่ยวใจ, เช่น รู้สึกอ้างว้าง.
อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
เอย ๒, เอ่ย ๑ : คํากล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้าย คํากลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และ ทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).