Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เปล่งประกาย, ประกาย, เปล่ง , then ประกาย, ปลง, ปลงปรกาย, เปล่ง, เปล่งประกาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เปล่งประกาย, 160 found, display 1-50
  1. เปล่ง : [เปฺล่ง] ก. ฉายออก, แผ่ออก, เช่น เปล่งรัศมี, ออกเสียง เช่น เปล่งเสียง. ว. แจ่มใส, สุกใส.
  2. ประกาย : น. แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากวัตถุที่ลุกเป็นไฟ เช่น ประกายลูกไฟ, แสงที่เห็นกระเด็นกระจายออกจากของแข็ง บางอย่างที่กระทบกันอย่างแรง เช่น ดาบกระทบกันเป็นประกาย ตีเหล็กไฟเป็นประกาย, ความแวววาวที่เหลี่ยมเพชรเป็นต้น กระทบแสง, แสงแปลบปลาบอย่างแสงฟ้าแลบ, โดยปริยาย หมายถึงแสงที่มีลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตาเป็นประกาย, แสงสะท้อนจากสิ่งที่เป็นมันเป็นเงา เช่น ประกายแสงจาก กระเบื้องหลังคาโบสถ์. (แผลงมาจาก ผกาย).
  3. ปลง : [ปฺลง] ก. เอาลง เช่น ปลงหม้อข้าว, ปล่อยหรือเปลื้องให้พ้นไป (ในลักษณะที่รู้สึกว่าหนักอยู่) เช่น ปลงหาบ; เมื่อใช้ประกอบกับ คําอื่น มีความหมายต่าง ๆ.
  4. ปลั่ง : [ปฺลั่ง] ว. ผ่องใส, มีนํ้านวล, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปล่ง เป็น เปล่งปลั่ง.
  5. ปากนก : น. ชื่อดาวฤกษ์บูรพาษาฒ; ชื่อหินสําหรับใช้นกสับให้เป็น ประกาย.
  6. ผกาย : น. ดาว; แสงกระจาย, โดยมากใช้ว่า ประกาย. (ข. ผฺกาย).
  7. กรี๊ด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องดังเช่นนั้นด้วยความตกใจหรือโกรธเป็นต้น.
  8. กรี๊ดกร๊าด : ว. อาการที่เปล่งเสียงร้องอุทานแสดงความพอใจเป็นต้น.
  9. กล่องเสียง : น. อวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด ตั้งอยู่บริเวณส่วนบนของหลอดลม.
  10. กัด ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens ในวงศ์ Anabantidae ทํารังเป็นหวอดที่ผิวน้ำ ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัว ให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด.
  11. กู่ ๒ : ก. ส่งเสียงเป็นสัญญาณให้รู้ว่าอยู่ที่ไหน โดยปรกติเปล่งเสียง วู้.
  12. เกตุมาลา : [เก-ตุมาลา, เกดมาลา] น. พระรัศมีซึ่งเปล่งอยู่ เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า. (ป.).
  13. แก๊ป : น. ชื่อหมวกของทหารตํารวจหรือข้าราชการพลเรือนเป็นต้น ที่มีกะบังหน้า เรียกว่า หมวกแก๊ป; เครื่องที่ทําให้ระเบิดเป็น ประกายติดดินปืน เดิมมีรูปเหมือนหมวกแก๊ปแต่ไม่มีกะบังปิดหน้า; ชื่อปืนชนิดหนึ่ง มีนกสับ ใช้ยัดกระสุนและดินปืนทางปาก และสับแก๊ป เรียกว่า ปืนแก๊ป. (อ. cap).
  14. คอยล์ : น. อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งซึ่งใช้ประกอบกับเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่แปลงไฟฟ้าแรงตํ่าจากแบตเตอรี่ให้เป็นไฟฟ้าแรงสูง เพื่อก่อ ให้เกิดประกายไฟฟ้าที่เขี้ยวหัวเทียน. (อ. ignition coil).
  15. คาบศิลา : น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ มีนกเป็นเหล็กคาบหินเหล็กไฟ หรือหินปากนกสับลงกับเหล็กให้เป็นประกายติดดินหู.
  16. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  17. โฆษะ : ว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่น ในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ. (ส.; ป. โฆส).
  18. แจ๋วแหวว : ว. มีประกายสดใส.
  19. ชโย : [ชะ] น. ความชนะ. (คําเดียวกับ ชัย). อ. คําที่เปล่งเสียง อวยชัยให้พรหรือแสดงความดีใจเมื่อได้รับชัยชนะเป็นต้น.
  20. ชะ ๒, ชะชะ : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะช้า หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
  21. ชะช้า : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชัดช้า ก็ว่า.
  22. ชะต้า : (แบบ) อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือชอบใจ เช่น ชะต้าเขา เป็นหญิงยังทำได้. (ขุนช้างขุนแผนแจ้ง), ใช้ว่า ฉะต้า ก็มี.
  23. ชัดช้า : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อเวลาโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น, ชะ ชะชะ หรือ ชะช้า ก็ว่า.
  24. ชิ, ชิชะ, ชิชิ : อ. คําที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกโกรธหรือไม่ชอบใจเป็นต้น.
  25. ไชโย : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความดีใจหรืออํานวยพรเป็นต้น.
  26. แซ่ซ้อง : ก. เปล่งเสียงแสดงความนิยมยินดีหรือสรรเสริญกันทั่วไป.
  27. ดูดู๋, ดูหรู : (กลอน) อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแค้นใจ.
  28. ดูรึ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ.
  29. ดูหรือ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความแปลกใจ เช่น ดูหรือมาเป็นไปได้.
  30. ถ่านไฟแช็ก : น. โลหะเจือประเภทไพโรฟอริก เช่น โลหะซีเรียม ผสมเหล็ก เป็นสารแข็งลักษณะเป็นแท่งกลมสั้น เมื่อครูดกับจักร โลหะจะเกิดประกายไฟ.
  31. โถ ๒ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือเห็นอกเห็นใจเป็นต้น.
  32. ทองขาว : (โบ) น. โลหะสีขาวแกมเทา บุเป็นแผ่นรีดเป็นลวดได้ อาจหมายถึงโลหะนิกเกิล หรือโลหะแพลทินัม ก็ได้; ส่วนประกอบ ส่วนหนึ่งของจานจ่ายไฟในเครื่องยนต์ของรถยนต์ ทําหน้าที่เป็น ทางเดินของกระแสไฟฟ้าแรงตํ่า และทําให้กระแสไฟฟ้าแรงตํ่า ขาดวงจรเพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่คอยล์ (coil) เป็นผลให้ มีประกายไฟฟ้าขึ้นที่ปลายเขี้ยวของหัวเทียนในจังหวะที่ถูกต้อง.
  33. ทุด : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือติเตียน.
  34. เทววาจิกะ : ว. ที่ทําด้วยกล่าว ๒ หน, ที่กล่าววาจา ๒ หน, ใช้เรียก สรณคมน์ในเวลาแรกตรัสรู้ว่า เทววาจิกสรณคมน์ แปลว่า สรณคมน์ ที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก เพราะเวลานั้นยังไม่มีพระสงฆ์.
  35. ธนิต : ว. หนัก, เสียงพยัญชนะบางประเภทที่เปล่งเสียงพร้อมกับมีกลุ่มลมออกมา ในภาษาไทยได้แก่เสียง พ ท ค ช ฮ, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและ สันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค. (ป.).
  36. โธ่ : อ. คําที่เปล่งออกมาด้วยความสงสารหรือรําคาญใจเป็นต้น. (ตัดมาจาก พุทโธ่).
  37. นมผา : น. หินงอกหรือหินย้อยซึ่งเกิดจากคราบหินปูนที่ย้อยลงมาจาก เพดานถํ้า มีสีนวลอ่อนคล้ายนํ้านม เมื่อต้องแสงจะมีประกายแวววาว
  38. นมหนู : น. ส่วนของปืนที่สวมแก๊ปเพื่อให้ประกายเข้าไปเผาดินปืน ข้างใน; ส่วนของเครื่องใช้เป็นปุ่มมีรูเพื่อให้ฉีดนํ้ามันออกมา เช่น นมหนูตะเกียง นมหนูเครื่องยนต์.
  39. น้อยหรือ : ว. คําแสดงความหมายว่า มาก; คําเปล่งแสดงความไม่พอใจ เช่น น้อยหรือทําได้, ตัดพ้อต่อว่าด้วยความเอ็นดู เช่น น้อยหรือช่างว่า.
  40. นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
  41. น้ำมันเบนซิน : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง นําไปใช้โดยทําให้ไอของ นํ้ามันผสมกับอากาศเข้าไปจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าจากหัวเทียน ในเครื่องจักรกลชนิดเผาไหม้ภายใน.
  42. บ๊ะ : อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือประหลาดใจเป็นต้น, อุบ๊ะ ก็ว่า.
  43. บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  44. เบนซิน : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งนําไปใช้โดยทําให้ไอของนํ้ามัน ผสมกับอากาศเข้าไปจุดระเบิดด้วยประกายไฟฟ้าจากหัวเทียน ในเครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายใน.
  45. ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
  46. แผด ๑ : ก. เปล่งเสียงดังสนั่น (ตามปรกติใช้ประกอบกับคำ เสียง เป็น แผดเสียง); ฉายแสงกล้า (ใช้แก่แดด).
  47. ฝนแสนห่า ๑ : น. วิธีเขียนหนังสืออย่างหนึ่งใช้ตัวเลขแทนตัวหนังสือ; ชื่อดอกไม้ไฟ ชนิดหนึ่งมีประกายไฟพุ่งออกมาคล้ายไฟพะเนียง แต่หมุนรอบตัว. (รูปภาพ ฝนแสนห่า)
  48. พจนา : [พดจะ] น. การเปล่งวาจา, การพูด; คําพูด. (ป.).
  49. พยัญชนะ : [พะยันชะนะ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ในปากและคอ เช่น เสียง ป โดยทั่วไปจะออกเสียงพยัญชนะร่วมกับ เสียงสระ, เสียงพยัญชนะ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะ เช่น ก ข, รูปพยัญชนะ ก็เรียก, ตัวหนังสือ เช่น แปลโดยพยัญชนะ; กับข้าวที่ไม่ใช่แกง, คู่กับ สูปะ ซึ่งหมายถึง แกง. (ป. พฺยญฺชน, วฺยญฺชน; ส. วฺยญฺชน); ลักษณะของร่างกาย.
  50. พยางค์ : [พะยาง] น. ส่วนของคำที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ เช่น กะ มี ๑ พยางค์ กระเป๋า มี ๒ พยางค์ พยากรณ์ มี ๓ พยางค์.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-160

(0.1293 sec)