เปียก ๒ : ก. กวนสิ่งเช่นข้าวหรือแป้งเป็นต้นบนไฟให้สุก เช่น เปียก ข้าวเหนียว เปียกสาคู. ว. เรียกข้าวที่ต้มและกวนให้เละ หรือข้าว ที่ต้มกับน้ำกะทิเจือเกลือเล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรส เค็ม ๆ มัน ๆ ว่า ข้าวเปียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แป้งเปียก สาคูเปียก, เรียกขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้า ตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรย ถั่วทองคั่ว ว่า ขนมเปียก.
เปียก ๑ : ก. มีนํ้าชุ่มปนผสมอยู่หรือติดอยู่ เช่น เปียกเหงื่อ เปียกฝน เปียกน้ำ. ว. ที่ชุ่มน้ำ เช่น ผมเปียก ผ้าเปียก เหงื่อเปียก, อ่อนเกือบเละอย่างข้าวเปียก.
เปียกแฉะ : ก. มีน้ำชุ่มอยู่มาก เช่น ถนนเปียกแฉะ.
เปียกชื้น : ก. เปียกพอหมาด ๆ เช่น ผ้าเปียกชื้น.
เปียกโชก : ก. เปียกชุ่มทั่วตัว เช่น น้ำเปียกโชก เหงื่อเปียกโชก.
เปียกปอน : ก. เปียกมาก เช่น ถูกสาดน้ำจนเปียกปอน.
เปียกปูน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าว เผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มี ด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก โรยด้วยมะพร้าวขูด.
กระเบื้องขนมเปียกปูน : น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคา รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.
ขนมเปียกปูน : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผา ให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิและน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลง ใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาว เท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยม ข้าวหลามตัด ก็เรียก.
ขนมเปียก : น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อ และกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
ข้าวเปียก : น. ข้าวที่ต้มและกวนให้เละ, ข้าวที่ต้มกับนํ้ากะทิเจือเกลือ เล็กน้อย กวนให้สุกจนข้นหรือเละ มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
เบียก : ก. แบ่ง, ปัน.
ปากเปียก, ปากเปียกปากแฉะ : น. เรียกการว่ากล่าวตักเตือนซํ้าแล้วซํ้าเล่า ก็ยังไม่ได้ผลตามที่มุ่งหมาย.
แป้งเปียก : น. แป้งเจือเกลือเล็กน้อยตั้งไฟกวนให้ข้น ใช้เป็น อาหาร, แป้งที่ตั้งไฟกวนให้ข้นเหนียว ใช้แทนกาว.
ฝันเปียก : น. การหลั่งนํ้ากามในขณะนอนหลับและฝัน.
มะขามเปียก : น. เนื้อมะขามเปรี้ยวที่แก่เกราะ นํามาปั้นเป็นก้อนเก็บไว้ใช้ปรุงอาหาร.
สาคูเปียก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ต้มสาคูเม็ดเล็กจนบานใส แล้วใส่น้ำตาล จะใส่เนื้อมะพร้าวอ่อนหรือแห้วเป็นต้นก็ได้ เมื่อจะกินจึงหยอดหน้าด้วยกะทิ.
อ่อนปวกเปียก, อ่อนเปียก : ว. หย่อนกําลังจนทําอะไรไม่ไหว; ไม่ขึงขัง.
ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
กระเบื้องว่าว : น. กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องขนมเปียกปูน หรือ กระเบื้องหน้าวัว ก็เรียก.
กระเบื้องหน้าวัว : น. กระเบื้องปูพื้นรูปสี่เหลี่ยมทําด้วยดินเผา; กระเบื้องสำหรับมุงหลังคารูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ทำด้วยปูนซีเมนต์ ทราย และน้ำ, กระเบื้องว่าว หรือ กระเบื้อง ขนมเปียกปูน ก็เรียก.
กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
ข้าวแขก : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเปียก มีหน้าคล้ายตะโก้ แต่สีเหลือง มีรสเค็ม ๆ มัน ๆ.
ข้าวปาด : (ถิ่น-อีสาน) น. ขนมชนิดหนึ่ง คล้ายขนมเปียกปูน แต่ เหนียวมาก.
ข้าวหลามตัด : น. ข้าวเหนียวนึ่งอัดใส่ถาดโรยถั่วทอง ตัดเป็นรูป สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มักกินกับข้าวหมาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้าน ขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด, สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ก็เรียก.
เฉอะแฉะ : ว. เปียกเลอะเทอะเปรอะเปื้อน.
แฉะ : ก. เปียกหรือชุ่มน้ำอยู่เสมอ เช่น ถนนแฉะ ตาแฉะ, เปียกหรือชุ่มน้ำเกินไป เช่น ข้าวแฉะ; ไม่รีบร้อน, เฉื่อยชา, เช่น ทํางานแฉะ.
ชโลม : [ชะ] ก. ลูบไล้ให้เปียก เช่น ชโลมยา ชโลมนํ้ามันยาง; ทำให้ชุ่มชื่น เช่น ชโลมใจ.
โชก, โชก ๆ : ว. มากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เสื้อเปียกโชก เหงื่อโชก ราดนํ้าแกงโชก ๆ.
ซก, ซ่ก : ก. เปียกชุ่มจนถึงหยด เช่น เหงื่อซก.
โซก : ก. เปียกมากจนไหลอาบไปทั่ว เช่น เหงื่อโซก.
โซม : ก. เปียกทั่ว เช่น เหงื่อโซมตัว; คําบอกให้ช้างย่อตัว.
ตม ๒ : น. ดินเปียกที่เหนียวกว่าเลน.
ถมตะทอง : น. เครื่องถมที่ทําโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
ถ่านไฟฉาย : น. เซลล์ไฟฟ้าชนิดปฐมภูมิ มีรูปทรงกระบอกขนาด เล็กภายในบรรจุผงคาร์บอน แมงกานีสไดออกไซด์ ซิงก์คลอไรด์ แอมโมเนียมคลอไรด์ ซึ่งผสมนํ้าให้มีลักษณะคล้ายแป้งเปียกหุ้ม อยู่รอบแท่งคาร์บอนซึ่งเป็นขั้วบวก ภายนอกหุ้มด้วยกระบอก สังกะสีซึ่งเป็นขั้วลบ ตอนปากของกระบอกสังกะสีมีครั่งหุ้มปิด ไว้ เหลือแต่หมวกโลหะที่ครอบแท่งคาร์บอนเท่านั้นที่โผล่พ้น พื้นครั่งขึ้นมา ใช้ใส่ในไฟฉาย วิทยุ เป็นต้น.
ทับทรวง : น. เครื่องประดับชนิดหนึ่งเรียกว่า ตาบ รูปสี่เหลี่ยมขนม เปียกปูนฝังเพชรพลอย ติดอยู่ตรงที่ไขว้สังวาล สะพายแล่งทับ หน้าอก, ตาบหน้า หรือ ตาบทับ ก็เรียก. (รูปภาพ ทับทรวง)
ทา : ก. คํารวมหมายถึงกิริยาอาการที่เอาของเปียกหรือของเหลวเป็นต้น ฉาบ ลูบ ไล้ ป้าย หรือบ้าย เช่น ทาสี ทาแป้ง ทาปาก ทายา, ถ้าทา เกลือกหรือเคลือบแต่ผิว ๆ ก็เรียกว่า ฉาบ, ถ้าทาโดยใช้ฝ่ามือทาบลง แล้วเลื่อนไปมาก็เรียกว่า ลูบ, ถ้าทาโดยละเลงทั่ว ๆ ไป ก็เรียกว่า ไล้, ถ้าทาให้ติดเฉพาะที่ใดที่หนึ่ง ก็เรียกว่า ป้าย หรือ บ้าย.
บอระมาน : (โบ) น. กาว, แป้งเปียก.
โบกขรพรรษ : [-พัด] น. ฝนดุจนํ้าตกลงในใบบัว, ฝนชนิดนี้ กล่าว ไว้ว่า ใครอยากจะให้เปียก ก็เปียก ถ้าไม่อยากให้เปียก ก็ไม่เปียก เหมือนนํ้าตกลงบนใบบัว. (ป. โปกฺขร ว่า ใบบัว + ส. วรฺษ ว่า ฝน).
ป่านคม : น. เส้นด้ายชักว่าวที่เอาผงแก้วผสมกาวหรือแป้งเปียก เป็นต้นทาเพื่อให้คม.
ปายาส : [ปายาด] น. ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยนํ้านมและนํ้าตาล, ข้าวเปียกเจือนม. (ป.).
พุ่มเทียน : น. พุ่มดอกไม้ถวายพระ ใช้เทียนไขหรือเทียนขี้ผึ้งหล่อ เป็นดอกไม้ชนิดต่าง ๆ มีดอกมะลิเป็นต้น ติดแป้งเปียกตามลวดลาย ที่โครงกระดาษรูปพุ่มแทนดอกไม้สด.
ม่อลอกม่อแลก : ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อลอกม่อแลก, มะลอกมะแลก ก็ว่า.
ไม้คมแฝก : น. อาวุธชนิดหนึ่ง ทําด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบ เหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.
รด : ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยาย หมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอนนกขี้รดหลังคา.
ล้างคอ : ก. ดื่มเหล้าหรือกาแฟเป็นต้นเพียงเล็กน้อยหลังอาหารเพื่อ ล้างคาวคอ, กินของเปรี้ยวเช่นมะขามเปียกหรือมะยมเพื่อล้างรสขื่น ของเหล้า.
ลูกกระแอม :
น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุดหรือปิดช่อง ไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์. (ดู กระแอม๒).
ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
เลน : น. ดินเปียกเหลวจนปั้นไม่ได้ เช่น โกยเลนลอกท้องร่อง.
เลย : ก. พ้นหรือเกินจุดที่กำหนด เช่น เลยเวลาเที่ยงไปตั้งนาน รถเลยบ้าน ไปแล้ว อายุเลยวัยกลางคน. ว. ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงว่ากระทำ กริยาอีกอย่างหนึ่งต่อไป เช่น จะไปซื้อของแล้วเลยกินข้าวนอกบ้าน ผมเปียกแล้วเลยสระผมเสียด้วย; ใช้ประกอบหลังคำอื่นเพื่อเน้นความ ว่า ทันที, ทีเดียว, เช่น ออกจากนี่แล้วไปเลย ไม่ต้องแวะเวียนที่ไหน พอนั่งโต๊ะก็กินเลยไม่รอใคร อายุ ๗๐ แล้วยังดูหนุ่มอยู่เลย; โดยสิ้นเชิง, แม้แต่น้อย, เช่น ไม่เชื่อเลย ไม่เห็นด้วยเลย ซื้อของจนเงินหมดกระเป๋า เลย. สัน.จึง เช่น ทำถ้วยเขาแตกเลยต้องใช้เงินเขา รถเมล์จอดพ้นป้าย ไปมาก เลยต้องเดินย้อนกลับมาใหม่.