เปื่อย : ว. ที่ขาดง่าย เช่น ด้ายเปื่อย, ที่หลุดจากกันง่าย เช่น ผ้าเปื่อย, ยุ่ยง่าย เช่น เนื้อเปื่อย, ที่มีน้ำเหลืองเยิ้ม เช่น แผลเปื่อย.
ยุ่ย : ว. ผุหรือเปื่อยจนสลายตัวได้ง่าย เช่น ไม้เนื้อยุ่ย ดินยุ่ย.
เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
ขมวน : [ขะหฺมวน] น. ชื่อหนอนของแมลงพวกด้วงปีกแข็งที่กินปลาแห้ง เนื้อแห้ง และอาหารแห้งอื่น ๆ โดยทิ้งรอยให้เห็นเป็นขุยเล็ก ๆ ออกมา เรียกว่า ขี้ขมวน ตัวหนอนมักจะมีสีครีมหรือนํ้าตาลอ่อน ที่พบบ่อย ได้แก่ ชนิด Dermestes maculatus ในวงศ์ Dermestidae ซึ่งเมื่อเป็นตัว เต็มวัยจะเป็นด้วงที่มีลําตัวยาวประมาณ ๗ มิลลิเมตร ตัวสีดํา ท้องสี ขาวหม่นและมีเส้นสีดําเป็นลายพาดตามขวาง. ว. ผุ, ยุ่ย, ใช้แก่เนื้อแห้ง ปลาแห้งเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ ซึ่งเกิดจากเชื้อราหรือตัวขมวนกัดกิน เช่น ปลาเป็นขมวน เนื้อเป็นขมวน.
ชีรณ, ชีรณะ : [ชีระนะ] ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ เช่น ชีรณกถา ว่า นิทานโบราณ, ชีรณฎีกา ว่า ฎีกาโบราณ. (ป., ส.).
เชียรณ์ : ว. เก่า, แก่, ชํารุด, ยุ่ย, ย่อย, โบราณ. (แผลงมาจาก ชีรณ).
เนื้อเปื่อย : น. เนื้อวัวที่ต้มจนเปื่อยใช้ประกอบอาหาร.
เรื่อยเปื่อย : ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดิน เรื่อยเปื่อย.
ปอย ๑ : น. กลุ่มก้อนหรือกระจุกเล็ก ๆ ของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยอย่างเส้นด้าย หญ้า ผม หรือขน เช่น ปอยผม, ลักษณนามเรียกกระจุกหรือกลุ่มก้อน ของสิ่งเช่นนั้น เช่น ผมปอยหนึ่ง ผม ๒ ปอย.
กระดาษซับ : น. กระดาษที่ทําเนื้อยุ่ย ๆ สําหรับซับหมึกหรือน้ำ.
กระพี้ : น. ส่วนของเนื้อไม้ที่หุ้มแก่น, เนื้อไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือก กับแก่น มีลักษณะอ่อนและยุ่ยง่าย. ว. โดยปริยายหมายความว่า ไม่เป็นแก่นสาร.
กระสือ ๑ : น. ผีชนิดหนึ่งที่ถือว่าเข้าสิงในตัวผู้หญิง ชอบกินของโสโครก, คู่กับ กระหัง ซึ่งเข้าสิงในตัวผู้ชาย; ในทางวิทยาศาสตร์ คือ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของ สารอินทรีย์แล้วติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด; โคมชนิดหนึ่ง มีที่เปิดปิดไฟ มีแว่นฉายแสงไปได้ไกล, โคมตาวัว ก็ว่า.
กะเตง ๆ : ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไป อย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.
กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
ขนงเนื้อ : [ขะหฺนง-]น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร.
โขมด ๑ : [ขะโหฺมด] น. ชื่อผีชนิดหนึ่งในพวกผีกระสือหรือผีโพง เห็นเป็นแสง เรืองวาวในเวลากลางคืน ทําให้หลงผิดนึกว่ามีคนถือไฟหรือจุดไฟอยู่ ข้างหน้า พอเข้าไปใกล้ก็หายไป ทางวิทยาศาสตร์ อธิบายว่า ได้แก่ แก๊สมีเทน (methane) ที่เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังของสารอินทรีย์แล้ว ติดไฟในอากาศ เป็นแสงวอบแวบในที่มืด. (ข. โขฺมจ ว่า ผี).
เคย ๑, เคอย : [เคย] น. ชื่อสัตว์ทะเลหลายชนิดหลายสกุล มี ๒ วงศ์ ได้แก่ วงศ์ Mysidae เช่น เคยตาดํา (Mesopodopsis orientalis) ในอันดับ Mysidacea และวงศ์ Sergestidae เช่น เคยตาแดง (Acetes erythraeus) ในอันดับ Decapoda ของชั้น Crustacea รูปร่างคล้ายกุ้งแต่ตัวเล็กมาก ขนาดยาว ไม่เกิน ๓.๔ เซนติเมตร มีหนวด ๒ แฉก ลําตัวใสหรือขุ่น ทุกชนิดเนื้อยุ่ย เหมาะสําหรับใช้หมักเกลือทํากะปิและนํ้าเคย.
เคี่ยว : ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
ซุย ๒ : ว. ร่วนในลักษณะอย่างดินที่ยุ่ยไม่เกาะกันแน่นเหนียว เรียกว่า ดินซุย, เรียกเนื้อเผือกหรือมันที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า เนื้อซุย.
ดอง ๑ : ก. แช่หรือหมักผัก ผลไม้ และสิ่งต่าง ๆ ไว้ในนํ้าส้ม นํ้าเกลือ เป็นต้น เพื่อเก็บรักษาไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ เช่น ดองผัก ดองผลไม้ หรือเพื่อไม่ให้ เปื่อยเน่า เช่น ดองศพ; โดยปริยายหมายความว่า เก็บหมกไว้นานเกินควร เช่น เอาหนังสือไปดองไว้. ว. เรียกสิ่งที่ดองแล้วนั้น เช่น ผักดอง ยาดอง ศพดอง.
ต้มเค็ม : น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น เคี่ยว ให้เข้าไส้หรือให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบ ไทยมีรสหวานเค็ม.
นกกระจอก ๑ : น. ดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง จุดแล้วจะพุ่งออกจากรังไปได้ไกล เรียกเต็มว่า นกกระจอกออกจากรัง; ชื่อไพ่จีนชนิดหนึ่งมี ๑๑๔ ตัว; เรียกปากที่มีแผลเปื่อยที่มุมปากว่า ปากนกกระจอก.
น่าย : ว. อาการที่ของเหนียวของแข็งหรือของแห้งที่แช่นํ้าไว้แล้วเปื่อยหรือ อ่อนตัว เช่น แช่ข้าวไว้ให้น่ายแล้วจึงโม่.
บูดู : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. น้ำที่ได้จากปลาหมักจนเปื่อย ต้มสุกแล้วปรุง รส มี ๒ ชนิด คือ บูดูแบบเค็ม เป็นเครื่องจิ้มกับผักสด และบูดู แบบหวาน สำหรับคลุกกับข้าวยำปักษ์ใต้.
ปอย ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. งานพิธีต่าง ๆ, ถ้างานใหญ่ เช่นประเพณีฉลองการ สร้างถาวรวัตถุของวัด เรียกว่า ปอยหลวง, ถ้างานเล็ก เช่นงานบวช เรียกว่า ปอยน้อย.
ปาก : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะ เป็นช่องสําหรับกินอาหารและใช้สําหรับเปล่งเสียงได้ด้วย; โดย ปริยายหมายถึงส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ในบริเวณปาก เช่น ปากเปื่อย; ขอบ ช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห; ต้นทางสําหรับเข้าออก เช่น ปากช่อง ปากตรอก; กลีบดอกกล้วยไม้คล้ายรูปกรวยหรือหลอดที่อยู่ ตรงกลางเป็นที่อยู่ของเกสร, กระเป๋า ก็เรียก; ใช้เป็นลักษณนามของสิ่ง บางอย่างเช่นแหอวนหรือพยานบุคคล เช่น แหปากหนึ่ง อวน ๒ ปาก พยาน ๓ ปาก. ก. พูด เช่น ดีแต่ปาก.
ปากนกกระจอก : น. เรียกปากที่เป็นแผลเปื่อยขาว ๆ เหลือง ๆ ที่ มุมปากว่า ปากนกกระจอก.
ผุ : ก. กร่อนอย่างฟันผุ, ร่วนหรือยุ่ย เช่น กระดูกผุ ไม้ผุ.
แผลริมอ่อน : น. แผลที่อวัยวะสืบพันธุ์เนื่องจากเชื้อกามโรคชนิด Haemophilus ducreyi จะเกิดเป็นตุ่มขึ้นก่อน แล้วแตกเป็นแผล ลักษณะขอบแผลอ่อนคล้ายแผลเปื่อย เลือดออกง่าย เจ็บ และ บางครั้งต่อมนํ้าเหลืองบริเวณขาหนีบจะบวมโต.
เฟะ : ว. เละ, เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเป็นร่าง, เช่น เน่าเฟะ.
มหากาฬ ๑ : น. ชื่อยาไทยชนิดหนึ่งสําหรับแก้โรคปากเปื่อย คอเปื่อย ลิ้นเปื่อย.
มัมมี่ : น. ศพอาบนํ้ายากันเน่าเปื่อยของชาวอียิปต์โบราณ. (อ. mummy).
มีเทน : น. สารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไวไฟ มีสูตร CH4 มีปรากฏในที่ซึ่งมีสารอินทรีย์ผุพังเน่าเปื่อย ในบ่อถ่านหิน ในแก๊สธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง และใช้ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์โปรตีนเป็นต้น. (อ. methane).
ลำลาบ ๒ : น. ชื่อโรคผิวหนังชนิดหนึ่งเปื่อยลามเป็นทางไป.
เละ : ว. เปื่อยหรือแหลกเหลวจนไม่เป็นรูปเดิม เช่น ต้มข้าวต้มจนเละ น้อยหน่างอมจนเละ, เฟะ หรือ แฟะ ก็ว่า; เหลวเป็นปลัก เช่น ฝนตกถนนเป็นโคลนเละ; ไม่แน่น เช่น คนแก่เนื้อเละ ผ้าเนื้อเละ; โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัววางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด.
วุ้น : น. ของกินชนิดหนึ่ง ทำจากสาหร่ายทะเลเป็นต้น เมื่อนํามาต้มแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็นจะแข็งตัว มีลักษณะค่อนข้างใสและนุ่ม ใช้ทําเป็นของ หวานบางอย่าง เช่นวุ้นกะทิ วุ้นนํ้าเชื่อม, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เคี่ยวหนังหมูจนเปื่อยเป็นวุ้น.
สตัฟฟ์ : [สะ] น. การนําวัสดุบางอย่างบรรจุในโครงหนังสัตว์ซึ่งผ่านกรรมวิธี ทางเคมีสําหรับรักษาไม่ให้เน่าเปื่อยแล้วตกแต่งให้ดูเหมือนสัตว์จริง. (อ. stuff).
หมูหย็อง : น. ของกินทำด้วยหมูเนื้อแดงปรุงรส ต้มเคี่ยวให้เปื่อยจนงวด นำไปผัดจนแห้ง ขยี้ให้เป็นฝอย.
หวี่ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Drosophilidae ตัวยาว ๓-๔ มิลลิเมตร มักมีสีนํ้าตาลอมแดง ตาสีแดง มีปีกใสคู่เดียว มักตอมผลไม้ หรือผักเน่าเปื่อย ที่พบมากที่สุดเป็นชนิด Drosophila melanogaster นิยมใช้เป็นสัตว์ทดลองในการศึกษาทางพันธุศาสตร์ของสัตว์. ว. มีเสียงอย่างเสียงแมลงหวี่กระพือปีก.
หิด : น. ชื่อโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ Sarcoptes scabiei ลักษณะเป็นเม็ดสีขาว ใสเป็นเงาในเนื้อ ขึ้นตามผิวหนัง มีอาการปวดและคัน เรียกว่า หิดด้าน เมื่อเม็ดแตกมีนํ้าเหลืองไหลเยิ้ม เรียกว่า หิดเปื่อย.
ยู่ยี่ : ว. อาการที่ย่นหรือยับจนเสียรูป เช่น ผ้ายับยู่ยี่ ขยำกระดาษเสียยับยู่ยี่; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นแจ่มใส เช่น ตื่นนอนมาใหม่ ๆ หน้าตายู่ยี่.
ไยไย, ไย่ไย่ : ว. เป็นแถวเป็นแนว.
ซีป่าย : น. ชื่อทหารกองหนึ่ง ในรัชกาลที่ ๔ เอาแบบมาจากทหารซีปอย.
ยับ ๒ : ก. ย่น, ยู่ยี่, เช่น ผ้ายับ เสื้อยับ กระดาษยับ, อาการซึ่งแสดงความเสียหาย มาก หรือเสียรูปจนถึงชํ้าชอก พังทลาย ป่นปี้ ปู้ยี่ปู้ยํา ยู่ยี่ เป็นต้น เช่น รถถูกชนยับ บ้านพังยับ.
แวนดา : น. ชื่อกล้วยไม้ในสกุล Vanda วงศ์ Orchidaceae เช่น เอื้องสามปอย (V. denisoniana Bens. et Rchb.f.).
หยิก : ก. ใช้เล็บ ๒ เล็บตามปรกติเป็นเล็บนิ้วหัวแม่มือกับเล็บนิ้วชี้จิกลงไปที่ เนื้อแล้วบิด,ใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้หนีบเนื้อแล้วบิด. ว. งอ, หงิก, ยู่ยี่, (ใช้แก่ผม ขน หรือใบไม้).
หางเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก.
หีเต่า : น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หางเต่า ก็เรียก.
แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.