เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
เป็น ๒ : ก. สามารถ, ได้, เช่น เต้นเป็น รําเป็น. ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น ปลาเป็น; ประหนึ่ง เช่น ทําเป็นบ้า.
เป็นควัน : ว. อาการที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาอุตลุดเป็นพัลวัน.
เป็นคุ้งเป็นแคว : ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกัน เหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง.
เป็นเงินเป็นทอง : ว. มีค่า, มีราคา, เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง.
เป็นจริงเป็นจัง : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน.
เป็นชิ้นเป็นอัน : ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
เป็นดั้งหน้า : (สํา) คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้า เข้ามาแก้. (ไชยเชฐ).
เป็นแดน : ว. เป็นไปเสมอ, เป็นประจํา, เช่น นั่งที่ไหนนินทาเขา เป็นแดน. (สุภาษิตสอนหญิง).
เป็นต่อ : ก. ได้เปรียบ, ถ้าเสียเปรียบใช้ว่า เป็นรอง.
เป็นตัว : ว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียก ข้าวสวยหรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว; ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจาก เจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
เป็นตัวเป็นตน : ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัว เป็นตัวเป็นตน, เป็นหลักฐาน.
เป็นตายเท่ากัน : ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง : ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็น ระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของเป็นที่เป็นทาง.
เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
เป็นที่ตั้ง : ว. เป็นสำคัญ. เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน
เป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า.
เป็นน้ำ : ว. คล่อง เช่น พูดเป็นนํ้า.
เป็นเนื้อเป็นตัว : ว. เป็นหลักเป็นฐาน, สามารถตั้งหลักฐานขึ้นมาได้.
เป็นเนื้อเป็นหนัง : ว. เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นกอบเป็นกํา.
เป็นบ้า : (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น สวยเป็นบ้า เก่งเป็นบ้า.
เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
เป็นเบือ : ว. มากมาย เช่น ตายเป็นเบือ.
เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
เป็นปี่เป็นขลุ่ย : ว. ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย.
เป็นผู้เป็นคน : ว. เป็นคนปรกติ, กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้, มักใช้ในทางปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นผู้เป็นคน.
เป็นพัก ๆ : ว. เป็นระยะ ๆ เช่น ทำงานเป็นพัก ๆ หยุดเป็นพัก ๆ.
เป็นฟืนเป็นไฟ : ว. รุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ.
เป็นไฟ : ว. คล่อง เช่น พูดฝรั่งเป็นไฟ.
เป็นมัน : ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
เป็นรอง : ก. เสียเปรียบ, ถ้าได้เปรียบใช้ว่า เป็นต่อ.
เป็นระนาว : ว. มากมายเป็นแถว เช่น บาดเจ็บเป็นระนาว.
เป็นรัง : ว. เรียกข้าวสารที่เก็บไว้นานจนมีลักษณะคล้ายรังก่อน จะกลายเป็นตัวหนอนว่า ข้าวเป็นรัง.
เป็นราย : ว. แต่ละ เช่น เป็นรายหัว เป็นรายคน เป็นรายวัน.
เป็นล่ำเป็นสัน : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง.
เป็นโล้เป็นพาย : ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
เป็นวรรคเป็นเวร, เป็นวักเป็นเวน : ว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวร.
เป็นวัน ๆ : ว. ตลอดทั้งวัน, หลาย ๆ วัน, เช่น เดินเป็นวัน ๆ กว่าจะถึง, บางวัน, เฉพาะวัน, แต่ละวัน, เช่น ทำงานเป็นวัน ๆ ได้ค่าจ้างเป็นวัน ๆ.
เป็นว่าเล่น : ว. ง่าย, สะดวกสบาย, เช่น เขาใช้เงินเป็นว่าเล่น.
เป็นสัด : ก. อาการกระหายใคร่สืบพันธุ์ของสัตว์ที่เป็นไปตามฤดูกาล.
เป็นสัดเป็นส่วน : ก. แยกไว้เฉพาะเป็นหมู่เป็นพวก เช่น ของทำบุญ จัดให้เป็นสัดเป็นส่วน.
เป็นสาวเป็นนาง : ว. เป็นหญิงสาวแบบที่เป็นลูกผู้หญิง เช่น เป็นสาวเป็นนางต้องอยู่ในขนบประเพณี.
เป็นสาวเป็นแส้ : ว. เป็นสาววัยรุ่น เช่น เป็นสาวเป็นแส้แล้วไม่ควร เล่นซุกซนเหมือนเด็ก ๆ.
เป็นเสียเอง : ก. ทำเรื่องเสียหายเอง, เป็นเอง ก็ว่า.
เป็นหน้าเป็นตา : ว. เป็นที่เชิดหน้าชูตา เช่น บ้านนี้มีลูกชายเก่ง และขยัน เป็นหน้าเป็นตาของวงศ์ตระกูล.
เป็นหมวดหมู่, เป็นหมวดเป็นหมู่ : ว. เป็นประเภท, เป็นชนิด, เช่น จัดหนังสือให้เป็นหมวดหมู่.
เป็นหลักเป็นฐาน : ว. มีฐานะมั่นคง เช่น เขาตั้งตัวเป็นหลักเป็น ฐานแล้ว.
เป็นหลักเป็นแหล่ง : ว. อยู่เป็นที่เป็นทางไม่โยกย้ายไปมา เช่น เขามี ที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง.
เป็นไหน ๆ : ว. มากมายจนประมาณไม่ได้ เช่น ดีกว่าเป็นไหน ๆ.