มงคล, มงคล- : [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นํามาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่ง ซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้าย มากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งาน ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องราง ของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกัน ภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้น สำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทย หรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
ชิงเปรต : (ถิ่นปักษ์ใต้) ก. แย่งเครื่องเซ่นสรวงวิญญาณ บรรพบุรุษหรือผู้ที่ตายไปแล้ว ซึ่งเรียกว่า ''เปรต'' ในงาน ทําบุญวันสารท เมื่อเสร็จพิธีเซ่นแล้ว ถือว่าสิ่งเหล่านั้น เป็นมงคล. น. เรียกงานพิธีทําบุญวันสารทว่า พิธีชิงเปรต.
ถูกโฉลก : ก. ถูกตามตำรับนับโฉลก, ถูกชะตากัน, เป็นมงคล.
ภัทร, ภัทระ : [พัดทฺระ] ว. ดี, เจริญ, ประเสริฐ, งาม, น่ารัก, เป็นมงคล. (ส. ภทฺร; ป. ภทฺท, ภทฺร).
เป็น ๑ : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
เป็น ๒ : ก. สามารถ, ได้, เช่น เต้นเป็น รําเป็น. ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น ปลาเป็น; ประหนึ่ง เช่น ทําเป็นบ้า.
ภัทรบิฐ : น. แท่นสําหรับเทพบดี หรือพระราชาประทับ ถือว่าเป็น มงคล. (ส.).
มะตูม : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Aegle marmelos (L.) Corr?a ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งมีหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ นิยมใช้ในการ มงคล ผลกลมทุย รสหวานเจือเผ็ด ใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อมะม่วงพันธุ์ หนึ่งของชนิด Mangifera indica L.
ลัคน, ลัคน์, ลัคนา : [ลักคะนะ, ลัก, ลักคะนา] น. ราศีที่ปรากฏขึ้นที่ขอบฟ้าทางทิศ ตะวันออกในเวลาเจ้าของชะตาเกิด เช่น นาย ก เกิดเวลา ๑๑.๐๐ น. ลัคนาสถิตราศีกันย์, ในดวงชะตาถ้าอาทิตย์อยู่ในราศีเดียวกับลัคน์ เรียกว่า อาทิตย์กุมลัคน์; เวลาหรือวันที่ถือว่าเป็นมงคลสําหรับ ลงมือทําการใด ๆ, ถ้าเป็นเวลาที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนกาล ถ้าเป็นวันที่เป็นมงคล เรียกว่า ลัคนทิน เช่น โหรคํานวณว่าวันที่ ๑๔ พฤษภาคม เป็น ลัคนทิน เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็น ลัคนกาล เป็นวันและเวลาที่เหมาะสําหรับทําพิธีรดนํ้าแต่งงาน.
เวท, เวท : [เวด, เวทะ] น. ความรู้, ความรู้ทางศาสนา; ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่ผูก ขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคมเมื่อนํามาเสกเป่าหรือบริกรรมตาม ลัทธิวิธีที่มีกําหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตราย ต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์; ชื่อคัมภีร์ภาษาสันสกฤตโบราณซึ่งเป็น พื้นฐานของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก มี ๔ คัมภีร์ได้แก่ ๑. ฤคเวท ว่าด้วยบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ตอนท้ายกล่าวถึงการ สร้างโลกซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบความเชื่อของชาวอินเดีย ๒. ยชุรเวท ว่าด้วยรายละเอียดการประกอบยัญพิธีและลำดับมนตร์ ที่นำมาจากคัมภีร์ฤคเวทเพื่อสวดในขั้นตอนต่าง ๆ ของพิธี ๓. สามเวท ว่าด้วยบทขับที่คัดเลือกมาจากประมาณหนึ่งในหก ของฤคเวท และใช้เฉพาะในพิธีที่บูชาด้วยน้ำโสม ๔. อถรรพเวท หรือ อาถรรพเวท เป็นเวทมนตร์คาถาเพื่อให้เกิดผลดีแก่ฝ่ายตน หรือผลร้ายแก่ฝ่ายศัตรู ตลอดจนการบันดาลสิ่งที่เป็นมงคล หรืออัปมงคล การทำเสน่ห์ การรักษาโรค และอื่น ๆ สามคัมภีร์แรก เรียกว่า ไตรเวท หรือ ไตรเพท ต่อมารับอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท เข้ามารวมเป็นสี่คัมภีร์เรียกว่า จตุรเวท หรือ จตุรเพท, เรียกยุคแรก ของศาสนาพราหมณ์จนถึงประมาณสมัยพุทธกาลว่า ยุคพระเวท มีวรรณกรรมหลักประกอบด้วยคัมภีร์พระเวท คัมภีร์พราหมณะ คัมภีร์อารัณยกะและคัมภีร์อุปนิษัทรุ่นแรก. (ป., ส.).
อุปัทว, อุปัทวะ : [อุปัดทะวะ, อุบปัดทะวะ] ว. อุบาทว์, อัปรีย์, จัญไร, ไม่เป็น มงคล, นิยมใช้คู่กับคำ อันตราย เป็น อุปัทวันตราย. (ป. อุปทฺทว; ส. อุปทฺรว).
พืชมงคล : [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อ ความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
มิ่งมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นสิริมงคลอันจะนำความสุขความเจริญมาสู่.
อัษฎมงคล, อัษฏมงคล : น. สิ่งที่ถือว่าเป็นมงคล ๘ อย่าง นิยมดังนี้ ๑. กรอบหน้า ๒. คทา ๓. สังข์ ๔. จักร ๕. ธง ๓ ชาย ๖. ขอช้าง ๗. โคเผือก ๘. หม้อนํ้า. (ส.).
เป็นควัน : ว. อาการที่ปฏิเสธข้อกล่าวหาอุตลุดเป็นพัลวัน.
เป็นคุ้งเป็นแคว : ว. อาการที่เล่าเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวติดต่อกัน เหมือนกับรู้เห็นมาด้วยตนเอง.
เป็นเงินเป็นทอง : ว. มีค่า, มีราคา, เช่น เวลาเป็นเงินเป็นทอง.
เป็นจริงเป็นจัง : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน.
เป็นชิ้นเป็นอัน : ว. เป็นสาระ, เป็นเรื่องเป็นราว, มักใช้ในความ ปฏิเสธว่า ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
เป็นดั้งหน้า : (สํา) คอยออกหน้าป้องกัน เช่น รับเป็นดั้งหน้า เข้ามาแก้. (ไชยเชฐ).
เป็นแดน : ว. เป็นไปเสมอ, เป็นประจํา, เช่น นั่งที่ไหนนินทาเขา เป็นแดน. (สุภาษิตสอนหญิง).
เป็นต่อ : ก. ได้เปรียบ, ถ้าเสียเปรียบใช้ว่า เป็นรอง.
เป็นตัว : ว. เรียกข้าวสารเมล็ดงามไม่ค่อยหักว่า ข้าวเป็นตัว, เรียก ข้าวสวยหรือข้าวต้มที่ยังคงรูปเป็นเมล็ดอยู่ว่า ข้าวสวยเป็นตัว ข้าวต้มเป็นตัว; ข้าวสารหรือเมล็ดถั่วเป็นต้นที่เก็บไว้นาน ๆ จนมีตัวมอดว่า ข้าวเป็นตัว ถั่วเป็นตัว. ก. มีชีวิตอยู่ เช่น จะจาก เจ้าเหมือนดังว่าวขาดลมลอย อย่าหมายคอยเลยว่าเมียจะเป็นตัว. (ขุนช้างขุนแผน).
เป็นตัวเป็นตน : ว. จริงจัง, แน่นอน, ปรากฏชัด, เช่น มีผัว เป็นตัวเป็นตน, เป็นหลักฐาน.
เป็นตายเท่ากัน : ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย.
เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง : ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็น ระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของเป็นที่เป็นทาง.
เป็นที่ ๒ : ว. ใช้นำหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อเสริมความให้แจ่ม ชัดยิ่งขึ้น เช่น เป็นที่เข้าใจกันว่า เป็นที่น่ากลัว เป็นที่น่าพอใจ.
เป็นที่ตั้ง : ว. เป็นสำคัญ. เป็นทุกข์, เป็นทุกข์เป็นร้อน
เป็นธุระ : ว. ถือเป็นเรื่องที่ตนควรทำให้, เอาเป็นธุระ ก็ว่า.
เป็นน้ำ : ว. คล่อง เช่น พูดเป็นนํ้า.
เป็นเนื้อเป็นตัว : ว. เป็นหลักเป็นฐาน, สามารถตั้งหลักฐานขึ้นมาได้.
เป็นเนื้อเป็นหนัง : ว. เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นกอบเป็นกํา.
เป็นบ้า : (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น สวยเป็นบ้า เก่งเป็นบ้า.
เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
เป็นเบือ : ว. มากมาย เช่น ตายเป็นเบือ.
เป็นปากเสียง : ก. โต้เถียง เช่น เป็นปากเสียงกัน, พูดหรือโต้เถียงแทน เช่น หนังสือพิมพ์เป็นปากเสียงของประชาชน, เป็นปากเป็นเสียง ก็ว่า.
เป็นปี่เป็นขลุ่ย : ว. ถูกคอกัน, เข้ากันได้ดี, เช่น พูดเข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย.
เป็นผู้เป็นคน : ว. เป็นคนปรกติ, กลับเนื้อกลับตัวเป็นคนดีได้, มักใช้ในทางปฏิเสธ เช่น ไม่เป็นผู้เป็นคน.
เป็นพัก ๆ : ว. เป็นระยะ ๆ เช่น ทำงานเป็นพัก ๆ หยุดเป็นพัก ๆ.
เป็นฟืนเป็นไฟ : ว. รุนแรง, เต็มที่, (ใช้แก่กริยาโกรธ) เช่น โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ.
เป็นไฟ : ว. คล่อง เช่น พูดฝรั่งเป็นไฟ.
เป็นมัน : ว. อาการที่มองดูด้วยความอยากได้หรือพออกพอใจ เช่น เห็นผู้หญิงสาวสวยดูตาเป็นมัน เห็นเงินตาเป็นมัน.
เป็นรอง : ก. เสียเปรียบ, ถ้าได้เปรียบใช้ว่า เป็นต่อ.
เป็นระนาว : ว. มากมายเป็นแถว เช่น บาดเจ็บเป็นระนาว.
เป็นรัง : ว. เรียกข้าวสารที่เก็บไว้นานจนมีลักษณะคล้ายรังก่อน จะกลายเป็นตัวหนอนว่า ข้าวเป็นรัง.
เป็นราย : ว. แต่ละ เช่น เป็นรายหัว เป็นรายคน เป็นรายวัน.
เป็นล่ำเป็นสัน : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง.
เป็นโล้เป็นพาย : ว. เอาการเอางาน, แข็งขัน, จริงจัง, ได้เรื่องได้ราว, เข้าท่าเข้าทางดี, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ทําไม่เป็นโล้เป็นพายเลย.
เป็นวรรคเป็นเวร, เป็นวักเป็นเวน : ว. ไม่รู้จักจบจักสิ้น เช่น ร้องไห้ เป็นวรรคเป็นเวร.