เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
เป่าคอ : ก. เป่ายาเข้าไปในคอ; อาการที่แก๊สในท้องพุ่งขึ้นมาทางลำคอ เนื่องจากร้อนใน เรียกว่า ลมเป่าคอ.
เป่าใบไม้ : ก. เอาใบไม้บางชนิด เช่น ใบฝรั่ง ใบมะยม มาเป่าให้ เป็นเพลง.
เป่าปาก : ก. เอานิ้วมือใส่ปากแล้วเป่าให้เกิดเสียง; หายใจทางปาก เพราะเหนื่อยมาก.
เป่าไฟ : ก. เอาปากหรือหลอดเป่าลมให้ไฟติดหรือให้ลุก.
เป่ามนตร์ : ก. เสกคาถาแล้วเป่าลงไปที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกายมีกระหม่อมเป็นต้น.
เป่าแล่น : ก. เอาหลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงิน ให้ติดกัน. น. หลอดเป่าไฟสําหรับเชื่อมโลหะให้ติดกัน.
เป่าแตร : (ปาก) ก. ป่าวประกาศ, ประชาสัมพันธ์.
เป่าปี่ : (ปาก) ก. สูบฝิ่น; ร้องไห้.
เป่าผม : ก. ใช้เครื่องพ่นลมร้อนทำให้ผมแห้ง.
เป่าฝุ่น : (ปาก) ก. หกล้มไม่มีท่า, พลาดพลั้งอย่างไม่เป็นท่า.
เป่าหลอด : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
เป่าหวูด : ก. ดึงสายเชือกเพื่อเปิดหวูดเรือกลไฟเป็นสัญญาณในการ เดินเรือ.
ปัดเป่า : ก. ทําพิธีเสกเป่าเพื่อให้ความเจ็บไข้หาย, แก้ความลําบาก ขัดข้องให้หมดไป.
ยาเป่า : น. ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ.
ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
เงียบเป็นเป่าสาก : (สํา) ว. ลักษณะที่เงียบสนิท.
แข่งเกมวิบาก : น. การเล่นชนิดหนึ่ง ผู้เล่นต้องวิ่งข้ามสิ่งกีดขวางหรือ ทำกิจกรรมที่ยาก ๆ เช่น ใช้ปากควานหาสตางค์ในแป้ง สนเข็ม เป่า ลูกโป่งให้แตก ใครทำเสร็จและวิ่งถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ.
เปียว : (โบ) ก. เป่า เช่น เปียวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
ลูกดอก : น. ไม้หรือเหล็กปลายแหลม มีพู่ข้างท้ายใช้หลอดเป่า ยิงสัตว์, เหล็กปลายแหลมมีด้ามเป็นไม้ มีหาง ใช้ปาไปที่เป้า.
กล้อง ๑ : [กฺล้อง] น. วัตถุลักษณะยาวกลวงตลอด, เรียกของใช้บางอย่างที่มี ลักษณะเช่นนั้น เช่น กล้องเป่าแล่น กล้องส่อง; เครื่องที่มีรูปร่างต่าง ๆ ประกอบด้วยเลนส์สําหรับถ่ายภาพหรือขยายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องจุลทรรศน์; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) หลอด เช่น กล้องเกียง ว่า หลอดตะเกียง.
กำพวด ๑ : น. ส่วนประกอบของปี่ซึ่งทําให้เกิดเสียงเวลาเป่า สอดติดอยู่กับเลาปี่.
แก้เคล็ด : ก. กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือ ป้องกันภัยหรือเหตุร้ายที่จะมีมา.
ขม่อม : [ขะหฺม่อม] น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวกลางศีรษะ แต่ต่ำกว่า ส่วนสูงสุดลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะ มีเนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้นเนื้อเยื่อ อ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่าขม่อม ลงขม่อม, กระหม่อม ก็ว่า.
ขลุ่ย : [ขฺลุ่ย] น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งสำหรับเป่าให้เป็นเพลง มักทํา ด้วยไม้รวกเจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สําหรับเอานิ้วปิดและ เปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
เขนง : [ขะเหฺนง] น. เขาสัตว์, เขาวัวเขาควายที่ใช้เป่าบอกอาณัติสัญญาณ; ภาชนะใส่ดินปืน เดิมใช้เขาสัตว์; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
ควายธนู : น. ของขลังชนิดหนึ่ง ทำเป็นรูปตัวควายหรือเขาควาย ใช้เวทมนตร์ทางไสยศาสตร์เสกเป่าไปทำร้ายผู้อื่นหรือกันไม่ให้ ผู้อื่นมาทำร้าย.
เคน ๑ : (โบ) น. เครื่องเป่า เช่น ปยวปี่แก้วเคนผสาร. (ม. คําหลวง มหาราช).
เคล็ด ๑ : [เคฺล็ด] น. วิธีการที่ฉลาด พลิกแพลง ใช้ในการอย่างใดอย่างหนึ่ง; การ กระทําอย่างใดอย่างหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นวิธีปัดเป่าหรือกันภัยหรือเหตุร้าย ที่จะมีมา เช่น ต้นไม้บางชนิดไม่มีลูก เชื่อกันว่าถ้าเอามีดไปสับต้นเป็น เคล็ดแล้วจะมีลูก; อุบาย, เล่ห์, กลเม็ด, เช่น รู้เคล็ด มีเคล็ด เคล็ดลับ.
แคน : น. เครื่องดนตรีทางถิ่นอีสาน ทําด้วยไม้ซางผูกเรียงต่อกับเต้าแคน สําหรับเป่าเป็นเพลง.
จมูกวัว : น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
ฉมัง : [ฉะหฺมัง] ว. แม่น เช่น มือฉมัง, ขลัง เช่น เป่ามนตร์ฉมัง.
ซาง ๑ : น. ชื่อไผ่หลายชนิดในสกุล Dendrocalamus วงศ์ Gramineae ชนิดปล้องเล็กบางยาวใช้เป็นลํากล้องเป่าลูกดอก หรือลูกดินเหนียว ปั้นกลมเป็นต้น เรียกว่า ไม้ซาง.
ดุริย-, ดุริยะ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย).
ดุริยางค-, ดุริยางค์ : น. เครื่องดีดสีตีเป่า. (ป. ตุริย + องฺค).
ตะเกียงลาน : น. ตะเกียงชนิดไขลานให้ใบพัดหมุนเป่าลมไล่ควันและช่วยให้ไฟ สว่างนวล.
ทะแยกลองโยน : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ซึ่งใช้ทำนองเพลงทะแย มาบรรเลงอย่างเพลงเรื่อง และต้องตีกลองหน้าทับกลองโยนเลียน วิธีการตีกลองชนะในกระบวนแห่ในการเสด็จพระราชดำเนินโดย กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ปี่ชวามักเป่าเพลงทะแยกลองโยน เข้ากับกลองชนะในกระบวนเสด็จ และใช้บรรเลงเป็นเพลงประจำ กัณฑ์นครกัณฑ์ในการเทศน์มหาชาติ, เรียกสั้น ๆ ว่า กลองโยน.
ธมกรก : [ทะมะกะหฺรก] น. กระบอกกรองนํ้าของพระสงฆ์ เป็นเครื่องใช้สอย ๑ อย่างในอัฐบริขาร; เครื่องกรองนํ้าด้วยลมเป่า; กระบอกก้นหุ้มผ้า. (ป.).
นกหวีด : น. เครื่องสําหรับใช้เป่าให้มีเสียงดังหวีด.
นัด ๒ : ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์.
น้ำมันมนตร์ : น. นํ้ามันมะพร้าวที่เสกเป่าด้วยเวทมนตร์คาถา เชื่อกันว่า ทาแก้เมื่อยขบเป็นต้น.
บำรุงขวัญ : ก. ทําพิธีเช่นรดนํ้ามนต์ให้ เสกเป่าให้ หรือทําการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกล่าวปลุกใจเพื่อให้ขวัญดี มีใจกล้าหาญ.
ประอุก : ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
ปรี๊ด : [ปฺรี๊ด] ว. อาการที่นํ้าหรือของเหลวพุ่งออกมาโดยแรงจากช่องแคบ ๆ มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น น้ำพุ่งปรี๊ด บ้วนนํ้าลายปรี๊ด; มาก เช่น สูงปรี๊ด, จัด (ใช้แก่รสเปรี้ยว); เสียงอย่างเสียงเป่านกหวีดยาว ๆ.
ปัดซาง : ก. เสกเป่าให้ซางหาย.
ปัดพิษ : ก. เสกเป่าเพื่อให้พิษหมดไป.
ปี่ : น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าลมอย่างหนึ่งที่ใช้ลิ้น ตัวปี่หรือเลาปี่ มักทำด้วยไม้แก่น เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง มีลักษณะค่อนข้างยาว ป่องตรงกลาง หัวท้ายบานออกเล็กน้อย ภายในเลาปี่เจาะรูกลวง ตลอดตั้งแต่หัวจดท้าย มีหลายชนิด เช่น ปี่นอก ปี่ใน ปี่ไฉน ปี่ชวา, ลักษณนามว่า เลา เช่น ปี่ ๒ เลา.
เป่ากบ : น. การเล่นของเด็กชนิดหนึ่ง โดยมีผู้เล่น ๒ คน ผลัดกันเป่า ยางรัดของวงเล็ก ๆ ให้เกยทับยางของฝ่ายตรงข้าม.