เป้านิ่ง : น. เป้าที่อยู่กับที่, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ยืนเป็นเป้านิ่งให้เขาชกข้างเดียว.
นิ่ง, นิ่ง ๆ : ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
เป้า ๒ : น. ชิ้นผ้าที่เย็บแทรกตะเข็บตรงรักแร้เสื้อหรือรอยต่อขากางเกงผ้า หรือกางเกงแพรเพื่อให้เคลื่อนไหวได้สะดวก; ส่วนของเสื้อที่อยู่ ใต้รักแร้หรือส่วนของกางเกงที่อยู่ใต้หว่างขา.
เป้า ๓ :
(ถิ่น-พายัพ) น. นกเปล้า. (ดู เปล้า๒).
นิ่งเงียบ : ว. นิ่งอยู่ไม่พูดอะไร.
นิ่งแน่ : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, แน่นิ่ง ก็ว่า.
เป้าบิน : น. เป้าที่โยนขึ้นไปในอากาศแล้วยิง.
เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
เป้าหมาย : น. บุคคลหรือสิ่งที่ใช้เป็นเป้าแห่งการโจมตี หรือเป็น ศูนย์กลางแห่งความใส่ใจหรือสังเกต; ความมุ่งหมายเจาะจงให้ได้ ตามเจตนา เช่น การขายข้าวในปีนี้มีเป้าหมายให้ได้เกินหกแสนตัน.
นิ่งเฉย : ว. เฉยอยู่ไม่พูดไม่ทําอะไร.
แน่ ๒, แน่นิ่ง : ว. อาการที่ไม่ไหวติงไปชั่วระยะหนึ่งเพราะเป็นลมเป็นต้น, นิ่งแน่ ก็ว่า.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
ลักขะ : น. เครื่องหมาย, เป้า; จํานวนแสนหนึ่ง. (ป.; ส. ลกฺษ).
หุ่นนิ่ง : น. เรียกภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหวว่า ภาพหุ่นนิ่ง.
เบ้า : น. ดินหรือโลหะปั้นเป็นรูปคล้ายถ้วยสําหรับหลอมหรือผสมโลหะ บางชนิด เช่นทอง เงิน, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น เบ้าหัวไหล่ เบ้าขนมครก.
ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
นง : น. นาง (ใช้นําหน้าคําอื่น).
น้ำนิ่งไหลลึก : (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
เป้ : ว. เอน, ตะแคง, เบี้ยว, ไม่ตรงที่. น. เครื่องหลังของทหาร ตำรวจเป็นต้น.
ภาพนิ่ง : น. ภาพขยายที่ไม่มีการเคลื่อนไหวบนจอ เกิดจากการฉายแสง ที่มีความเข้มมาก ผ่านแผ่นสไลด์หรือแผ่นฟิล์มภาพไปยังจอ.
ภาพหุ่นนิ่ง : น. ภาพวาดหรือภาพถ่ายของสิ่งที่ไม่เคลื่อนไหว.
ยิงเป้า : ก. ต้องโทษโดยยิงให้ตายเพราะความผิดร้ายแรง.
อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
ขนอบ ๑ : [ขะหฺนอบ] ก. นิ่ง. (ต.).
เปล้า ๒ : [เปฺล้า] น. ชื่อนกในวงศ์ Columbidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกเขา และนกพิราบ ลําตัวสีเขียวเห็นได้ชัด แต่ละชนิดแตกต่างกันตรงสี ที่หน้าอกและไหล่ซึ่งอาจมีสีม่วงหรือนํ้าตาล กินผลไม้ หากินเป็นฝูง มีหลายชนิด เช่น ชนิด Treron curvirostra ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เปล้าขาเหลือง (T. phoenicoptera) เปล้าคอสีม่วง (T. vernans) เปล้าใหญ่ปักษ์ใต้ (T. capellei), เขาเปล้า ก็เรียก, พายัพเรียก เป้า.
เน่ง : (โบ) ก. นิ่ง, แน่.
พร้างัดปากไม่ออก : (สํา) ว. นิ่ง, ไม่ค่อยพูด, พร้าคัดปากไม่ออก ก็ว่า.
ลูกดอก : น. ไม้หรือเหล็กปลายแหลม มีพู่ข้างท้ายใช้หลอดเป่า ยิงสัตว์, เหล็กปลายแหลมมีด้ามเป็นไม้ มีหาง ใช้ปาไปที่เป้า.
สงบปากสงบคำ : ก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.
กก ๔ : ก. แนบไว้กับอก โดยปรกติเป็นอิริยาบถนอน เช่น กกกอด กกไข่ กกลูก, โดยปริยายหมายความว่า เก็บนิ่งไว้นานเกินควร เช่น เอา เรื่องไปกกไว้.
กระดุกกระดิก : ว. อาการที่ขยับไปขยับมาไม่อยู่นิ่ง ๆ, ยักไปยักมา, ดุกดิก ก็ว่า.
กระสับกระส่าย : ว. เร่าร้อนใจทนนิ่งเป็นปรกติไม่ได้, กระวนกระวาย, ทุรนทุราย.
กวางเดินดง : น. ชื่อวิธีรําท่าหนึ่งอยู่ในลําดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน); ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง เช่น อกเอ๋ยอกประหลาดจริงที่นิ่งเฉย โอ้เอ๋ยผิดคิดไม่เห็นจะเป็นเลย เสียดายเอ๋ยที่พี่เคยสงวนงาม. (กลบท).
ขยุกขยิก : [ขะหฺยุกขะหฺยิก] ก. ไม่อยู่นิ่ง ๆ ขยับไปขยับมา (ใช้ในอาการที่แสดง ถึงความไม่เรียบร้อย) เช่น นั่งขยุกขยิก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะ ที่เขียนไม่เรียบร้อย อ่านยากหรืออ่านไม่ออก เช่น เขียนลายมือขยุกขยิก.
ขรึม : [ขฺรึม] ว. มีอาการนิ่งอย่างตรึกตรอง.
ขวนขวาย : [-ขฺวาย] ก. หมั่นเสาะแสวงหาเพิ่มเติมโดยไม่ยอมอยู่นิ่ง, ขวายขวน ก็ว่า.
ขี้ขม : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Osteochilus hasselti ในวงศ์ Cyprinidae เกล็ด ข้างตัวมีจุดสีดําจนเห็นเรียงกันเป็นลายตามยาว ๖-๘ เส้น ที่โคนครีบ หางมีจุดสีดําใหญ่ ครีบต่าง ๆ สีแดงส้ม เฉพาะครีบอกสีเขียวอ่อน พบทั้งในแหล่งนํ้านิ่งและนํ้าไหลทั่วทุกภาคของประเทศไทย ขนาดยาว ได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, ซ่าสร้อยนกเขา นกเขา หรือ พรหมหัวเหม็น ก็เรียก.
ขีปนาวุธ : [ขีปะ-] น. อาวุธซึ่งถูกส่งออกไปจากผิวพิภพเพื่อใช้ประหัตประหาร หรือทําลายในการสงคราม โดยมีการบังคับวิถีในตัวเองเพื่อนําไปสู่ เป้าหมาย การบังคับวิถีนี้บังคับเฉพาะตอนขึ้นเท่านั้น มีหลายชนิด เช่น ขีปนาวุธข้ามทวีป. (อ. ballistic missile).
เข็ม ๓ : น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Dermogenys pusillus ในวงศ์ Hemirhamphidae ปากล่างยื่นยาวแหลม ลําตัวกลมเรียวยาวคล้ายเข็ม ขอบหางกลม ยาวไม่เกิน ๘ เซนติเมตร ออกลูกเป็นตัว พบว่ายตาม ผิวนํ้าในแหล่งนํ้านิ่งทั่วไป. (๒) ดู กระทุงเหว.
แข็ง : ว. กระด้าง เช่น ลิ้นแข็ง; ไม่อ่อน, ไม่นิ่ม, เช่น เนื้อแข็ง ของแข็ง; กล้า เช่น แดดแข็ง; ไม่ยอมง่าย ๆ, ไม่รู้สึกสงสาร, เช่น ใจแข็ง; แรง เช่น วันแข็ง ชะตาแข็ง, เข้มแข็ง, ทนทาน, เก่ง, เช่น ทํางานแข็ง วิ่งแข็ง; ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง; นิ่งไม่ไหวติง, ไม่กระดิกกระเดี้ย, เช่น ขาแข็ง ตัวแข็ง.
ความเฉื่อย : (ฟิสิกส์) น. สมบัติของเทหวัตถุที่จะคงสภาพนิ่งอยู่อย่างเดิมตลอดไป หรือคงสภาพเคลื่อนที่อย่างสมํ่าเสมอในแนวเส้นตรงตลอดไป. (อ. inertia).
คอแข็ง : ว. อาการที่นิ่งอั้นเพราะเถียงไม่ขึ้นเป็นต้น; ทนต่อรสอันเข้ม หรือรุนแรงของเหล้าได้, ตรงข้ามกับ คออ่อน.
เคลื่อนไหว : ก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลาเพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.
งัน : ก. หยุดชะงัก เช่น นิ่งงัน, ไม่งอกงาม เช่น ต้นไม้งันไป, อาการที่ชะงัก นิ่งอึ้งไปชั่วขณะเพราะคาดไม่ถึง ในคำว่า ตะลึงงัน.
เงียบ ๆ : ว. ไม่มีเสียงเอะอะ เช่น นั่งทำงานเงียบ ๆ, ไม่เอิกเกริกอื้ออึง เช่น ทำอย่างเงียบ ๆ; นิ่งไม่พูดจา, ไม่ทำเสียงเอะอะโวยวายหรืออื้ออึง, เช่น เขาเป็นคนเงียบ ๆ.
จังงัง : ว. อาการที่ตกตะลึงนิ่งงันอยู่.
จับปูใส่กระด้ง : (สำ) ก. ยากที่จะทำให้อยู่นิ่ง ๆ ได้.
จับเปาะ : (สำ) ว. ตรงเป้า เช่น ต่อยจับเปาะเข้าที่ปลายคาง.
จับหลัก : (สำ) ก. นิ่งอยู่กับที่, เช่น นกกระเต็นจับหลัก.