เป๊า : (ถิ่น-พายัพ) น. ปีฉลู, เขียนเป็น เปรา ก็มี.
เป๊าะ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงหักนิ้วหรือกิ่งไม้เล็ก ๆ หัก.
ปา : ก. ซัดไปด้วยอาการยกแขนขึ้นสูงแล้วเอี้ยวตัว; (ปาก) คําใช้แทน กิริยาได้หลายอย่างแล้วแต่คําประกอบที่ทําให้รู้ว่าเกินกว่าที่คาดคิด, มักใช้ว่า ปาขึ้นไป หรือ ปาเข้าไป, เช่น ค่าโดยสารปาขึ้นไปตั้ง ๑๐ บาท กว่าจะทำงานเสร็จก็ปาเข้าไปตั้ง ๒ ทุ่ม.
เปรา : [เปฺรา] (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อปีนักษัตรของไทยเหนือ ตรงกับ ปีฉลู, คําเดียวกับ เป๊า.
ปาจรีย์, ปาจารย์ : [ปาจะรี, ปาจาน] น. อาจารย์ของอาจารย์. (ป.; ส. ปฺราจารฺย = ปฺราคต + อาจารฺย).
ปารุสกวัน : [ปารุดสะกะ-] น. ชื่อสวนของพระอินทร์ ๑ ใน ๔ แห่ง ได้แก่ นันทวัน ปารุสกวัน จิตรลดาวัน และมิสกวัน. (ป. ปารุสกวน).
ปาทะ : น. บาท, ตีน. (ป.).
ปานีโยทก : น. นํ้าควรดื่ม. (ป., ส. ปานีย + อุทก).
ปารุปนะ : [-รุปะนะ] น. ผ้าห่ม. (ป.).
ปาสาทิกะ : (แบบ) ว. นํามาซึ่งความเลื่อมใส; น่ารัก, น่าชม. (ป.).
ปานีย-, ปานียะ : [ปานียะ-] ว. ควรดื่ม, น่าดื่ม, ดื่มได้. (ป., ส.).
กรรบาสิก, กรรปาสิก : [กับบา-, กับปา-] (แบบ) ว. อันทอด้วยฝ้าย. (ส. การฺปาสิก; ป. กปฺปาสิก).
จตุปาริสุทธิศีล : [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือ เครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สํารวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สํารวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
ดอย ๒ : ก. ผูก, มัด, ตอก, ชก, ตี, ปา, ทอย.
อุปปาติกะ : [อุปะปาติกะ, อุบปะปาติกะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, โอปปาติกะ ก็เรียก. (ป. อุปปาติก, โอปปาติก).
อุปาหนา : [อุปาหะนา, อุบปาหะนา] น. รองเท้า. (ป.; ส. อุปานหฺ).
โอปปาติกะ : [โอปะ] น. ผู้เกิดผุดขึ้นโดยไม่ต้องอาศัยพ่อแม่ อาศัยอดีตกรรม ได้แก่เทวดา พรหม สัตว์นรก เปรต อสุรกาย, อุปปาติกะ ก็เรียก. (ป.).
จัมปา : น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
ป่า : น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็น ต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้นเช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า; (กฎ) ที่ดินที่ยัง มิได้มีบุคคลได้มาตามประมวลกฎหมายที่ดิน; เรียกปลากัดหรือ ปลาเข็มที่เป็นพันธุ์เดิมตามธรรมชาติว่า ลูกป่า; (โบ) เรียกตําบล ที่มีของขายอย่างเดียวกันมาก ๆ เช่น ป่าถ่าน ป่าตะกั่ว. ว. ที่ได้มา จากป่าหรืออยู่ในป่า เช่น ของป่า ช้างป่า สัตว์ป่า คนป่า, ที่ห่างไกล ความเจริญ เช่น บ้านป่า เมืองป่า. ก. ตีดะไป ในคําว่า ตีป่า.
เป่า : ก. พ่นลมออกมาทางปาก, อาการที่ลมพุ่งเข้ามาหรือออกไปเช่นนั้น เช่น ตรงหน้าต่างลมเป่าดี, ทําให้เครื่องดนตรีหรือสิ่งอื่นเกิดเสียง โดยใช้ลมปากเช่น เป่าขลุ่ย, ทําให้สิ่งที่อยู่ในลํากล้องเช่นกล้องเป่า เป็นต้น ออกจากลํากล้องโดยวิธีเป่า เช่น เป่ายานัตถุ์ เป่าลูกดอก.
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : (สํา) ก. พูดจาตลบตะแลงพลิกแพลง ไปมาจนจับคําพูดไม่ทัน. น. คนกลับกลอก.
เมงอะปา : ว. ทําไม. (ช.).
ลิว : ก. เอามีดเฉือนหนังทั้งแผ่นให้เป็นเส้นเพื่อทําเชือกหนัง; ร่อน, ขว้าง, ปา.
ปาจนะ : ปาจะ-] (แบบ) น. ประตัก. (ป.; ส. ปฺราชน).
ปาป- : [ปาปะ-] น. บาป. (ป., ส.).
ปายาส : [ปายาด] น. ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยนํ้านมและนํ้าตาล, ข้าวเปียกเจือนม. (ป.).
ปาร- : [ปาระ-] น. ฝั่ง, ฝั่งตรงข้าม; ที่สุด; นิพพาน. (ป., ส.).
ปารมี : [ปาระ-] (แบบ) น. บารมี. (ป.).
ปาวจนะ : [ปาวะจะนะ] (แบบ) น. ปาพจน์. (ป.).
ปาวาร : [ปาวาน] (แบบ) น. ผ้าห่มใหญ่. (ป.; ส. ปฺราวาร).
ปาษาณ : [ปาสาน, ปาสานะ] (แบบ) น. หิน. (ส.; ป. ปาสาณ).
ปาส : [ปาสะ, ปาด] (แบบ) น. บาศ, บ่วง. (ป.; ส. ปาศ).
ปาสาณ : [ปาสาน, ปาสานะ] (แบบ) น. หิน. (ป.; ส. ปาษาณ).
ปาหุณ : [ปาหุน, ปาหุนะ] (แบบ) น. ผู้มาหา, แขก. (ป., ส.).
กฏุกผล : [กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตํารากลอน ปาราชิตฉันท์).
กรวม : [กฺรวม] ก. สวม เช่น วงแหวนกรวมหัวเสา, ครอบ เช่น เอากรวยกรวมพนมดอกไม้, คร่อม เช่น ปลูกเรือนกรวม ตอ ปลูกเรือนกรวมทาง; รวมความหมายหลายอย่าง เช่น กรวมความ; กํากวม เช่น พูดกรวมข้อ. (ปาเลกัว).
กระจังหลังเบี้ย : น. ใบไม้เล็ก ๆ เป็นหยัก ๆ. (ปาเลกัว).
กระเจาะ ๒ : น. เบี้ยเล็ก ๆ. (ปาเลกัว).
กระเฉก : ว. เขยก. (ปาเลกัว).
กระโฉกกระเฉก : ว. โขยกเขยก. (ปาเลกัว).
กระแด้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).
กระตราก : ก. ล่ามโซ่, ทุกข์ทรมานในคุก. (ปาเลกัว).
กระติ๊ดขี้หมู : น. ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Lonchura punctulata ในวงศ์ Estrildidae สีน้ำตาลกระขาว อกขาวมีลายสีน้ำตาล คล้ายเกล็ดปลา ปากดําอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ กินเมล็ดพืช.
กระผาน : น. ตะโพก. (ปาเลกัว).
กระสม : น. ไม้ที่อยู่ในเครื่องทอผ้า สําหรับบิดม้วนผ้าที่ทอแล้ว เรียกว่า ไม้กระสม. (ปาเลกัว).
กระสาบ ๑ : น. หนังที่เย็บเหมือนกระสอบ. (ปาเลกัว).
กระสุงกระสิง : ก. สุงสิง, ยุ่ง, ข้องแวะ. (ปาเลกัว).
กระเหม็ดกระเหมียด : [-เหฺม็ด-เหฺมียด] ก. ประหยัด. (ปาเลกัว).
กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.