เผชิญ : [ผะเชิน] ก. ประเชิญ, ชนกัน, ปะทะกัน, ต่อกัน.
เผชิญภัย : ก. เจออันตรายเฉพาะหน้า, กล้าเสี่ยงภัยโดยรู้ว่าจะมี อันตราย.
เผชิญหน้า : ก. เจอกันซึ่งหน้า (ใช้แก่ผู้ที่ไม่ชอบหน้ากัน).
ประจัน : ก. กั้นเป็นส่วนสัด เช่น ฝาประจันห้อง; ประชัน, ประเชิญ, เผชิญ, เช่น หันหน้าประจันกัน; เรียกไม้ที่ใช้คํ้าแคมเรือที่เบิกได้ที่แล้วเพื่อ ไม่ให้หุบว่า ไม้ประจัน.
กำลังใจ : น. สภาพของจิตใจที่มีความเชื่อมั่นและกระตือรือร้น พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ทุกอย่าง.
เข้าหน้า : ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า.
ประจันหน้า : ก. เผชิญหน้ากัน, อยู่ต่อหน้ากัน.
ไปตายดาบหน้า, ไปตายเอาดาบหน้า : (สำ) ก. ยอมไปเผชิญกับ ความทุกข์''และความลำบากข้างหน้า.
รอหน้า : ก. เข้าหน้า, เผชิญหน้า, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น รอหน้า ไม่ติด ไม่อยู่รอหน้า.
รับหน้า : ก. เผชิญหน้า, รอหน้า, เช่น ส่งเด็กไปรับหน้าเจ้าหนี้ไว้ก่อน.
ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
หน้า : น. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับ หลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่ เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขา ไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่าง กระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วน กว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิด ที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้ว ก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน, โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน, เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า, ลักษณนามบอกจํานวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือ เล่มนี้มี๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า, ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้าม กับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.
หลบหน้า, หลบหน้าหลบตา : ก. หลบไปไม่เผชิญหน้า.