เผอิญ : [ผะเอิน] ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, บังเอิญ, หาก ให้เป็น, จําเพาะเป็น, ใช้ว่า เพอิญ หรือ พรรเอิญ ก็มี.
จำเพาะ : ว. เฉพาะ, เจาะจง, เผอิญ, เช่น จําเพาะฝนมาตกเวลาจะออกจากบ้าน จึงไปไม่ได้.
เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
บังเอิญ : ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, เผอิญ.
พันเอิญ : (โบ) ว. เผอิญ.
กินนรรำ : น. ชื่อท่าละครชนิดหนึ่ง; ชื่อเพลงปี่พาทย์ชนิดหนึ่ง. (ดึกดําบรรพ์); ชื่อกลบทชนิดหนึ่งตัวอย่างว่า ชะจิตใจไฉนนางระคางเขิน ปะพบพักตร์จะทักทายชม้ายเมิน ละเลิงเหลือจะเชื้อเชิญเผอิญอาย.
เคน ๓ : (ถิ่น-อีสาน) ก. เคล็ด, ยอก, เช่น หลังเคน. (อะหม เคน ว่า เผอิญเกิดเหตุ ถึงฟกชํ้าดําเขียว).
ดล ๓ : [ดน] ก. ให้เป็นไป, ทําให้แล้ว, ตั้งขึ้น, เผอิญให้เป็นไป, บันดาลให้เป็นไป.
พรรเอิญ : [พัน] (โบ) ว. เผอิญ, ใช้ว่า เพอิญ ก็มี.
เพอิญ : [พะเอิน] ว. เผอิญ, ใช้ว่า พรรเอิญ ก็มี.