เพดาน ๑ : น. ส่วนที่สูงที่สุดของห้องเป็นต้น ไม่ว่าจะมีฝ้าหรือไม่ก็ตาม, ถ้าไม่มีฝ้า หมายถึงส่วนสูงสุดถึงหลังคา, ถ้ามีฝ้า หมายถึงฝ้า; โดยปริยายหมายความว่า ระดับสูงสุด เช่น เพดานค่าเล่าเรียน. (ป., ส. วิตาน).
เพดาน ๒ : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาววัวตัวเมีย หรือ ดาวอุตตรผลคุนี ก็เรียก.
เพดานบิน : น. ระดับสูงสุดที่เครื่องบินสามารถบินได้.
เพดานปาก : น. ส่วนบนของอุ้งปาก.
ปฎล : [ปะดน] (แบบ) น. หลังคา, เพดาน, ชั้น. (ป. ปฏล).
ไม้ฝ้า, ไม้เพดาน : น. ไม้กระดานแผ่นบาง ๆ ใช้สำหรับตีทำฝ้าหรือเพดาน.
ลดเพดานบิน : ก. ลดระดับความสูงในการบิน.
ฝ้า : น. อนุภาคเล็ก ๆ ที่รวมตัวกัน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ลอยอยู่บนผิวนํ้า หรือติดอยู่ที่แผลเป็นต้น; แผ่นที่ดาดกรุหลังคา เพดาน หรือปิดใต้ตง. ว. ขุ่นมัวไม่ผ่องใส (ใช้แก่ผิว) เช่น กระจกฝ้า เพชรเป็นฝ้า, เรียกหน้า ที่มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยผื่นสีคลํ้า ๆ ว่า หน้าเป็นฝ้า.
พิดาน : น. เพดาน เช่น ด้วยพิดานดาวทอง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส. วิตาน).
อุลโลจ : [อุนโลด] น. เครื่องกั้นข้างบน, เพดาน. (ป., ส.).
กรน : [กฺรน] ก. หายใจมีเสียงดังในลําคอขณะหลับ เหตุลิ้นตกจุกคอ หอยหรือลิ้นตกจุกคอหอยและลิ้นไก่กับเพดานอ่อนสั่น.
กระเดาะปาก : ก. ทําให้เกิดเสียงดังด้วยการใช้ลิ้นดันเพดาน เป็นต้นแล้วสลัดลง.
กัณฐชะ : (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤต ที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค กคือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺ?วฺย).
แก้ววิเชียร : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น หรือเพดานหรือกระพุ้งแก้ม สีขาวดั่งเนื้อในมะพร้าว มีอาการท้องอืด ลงท้องนับหนไม่ถ้วน. (แพทย์).
เขี้ยวแก้ว : น. เขี้ยวของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว; เขี้ยวของงูพิษ อยู่บริเวณส่วนหน้าของขากรรไกรบน มีขนาดใหญ่และยาว เช่น งูจงอาง งูเห่า งูเขียวหางไหม้, ถ้าอยู่บริเวณท้ายขากรรไกรบน เรียกว่า เขี้ยวแก้วใน หรือ เขี้ยวแก้วใต้ตา เช่น งูปล้องทอง งูเขียวหัวจิ้งจก; เขี้ยวที่งอกอยู่กลาง เพดานปากของหนุมาน.
คร่าว : [คฺร่าว] น. โครงสร้างซึ่งทำขึ้นด้วยวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นไม้ โลหะ เพื่อใช้ในการยึดแผ่นวัสดุที่ทำเป็นฝา รั้ว หรือฝ้าเพดาน ส่วนใหญ่จะยึด กับโครงสร้างที่สำคัญมีเสาคาน เป็นต้น คร่าวตีได้ทั้งในแนวตั้ง แนวนอน หรือเป็นตาราง.
จงกล : [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทําให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สําหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้าน ของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป. (รูปภาพ จงกล)
ช้างสำคัญ : (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ ๗ ประการ คือ ตาขาวเพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือ สีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาวและอัณฑโกศขาวหรือสี คล้ายหม้อใหม่.
ช้างสีปลาด : [ปะหฺลาด] (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหาง ขาว หรืออัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่.
ดัด ๒ : ก. ดาด, กั้น, เช่น ดัดพิดาน ว่า กั้นเพดาน.
ดาด ๑ : ก. เอาวัตถุเช่นผ้าเป็นต้นขึงหรือปิดบังให้ทั่วตอนเบื้องบน เช่น ดาดเพดาน ดาดหลังคา, ถ้าปูตอนล่างเช่นพื้นเรือนเป็นต้น เรียกว่า ลาด เช่น ลาดเสื่อ ลาดพรม. ว. ไม่ชัน เช่น หลังคาดาด.
ดาลุ : (แบบ) น. เพดานปาก. (ป., ส.).
ดาว ๑ : น. สิ่งที่เห็นเป็นดวงมีแสงระยิบระยับในท้องฟ้าเวลามืด นอกจาก ดวงอาทิตย์และดวงจันทร์, แต่ในตําราโหราศาสตร์ถือว่า ดวงอาทิตย์และ ดวงจันทร์เป็นดาวในพวกดาวนพเคราะห์; เรียกกลุ่มดาว เช่น ดาวลูกไก่ ดาวจระเข้ ดาวไถ; เรียกบุคคลที่เด่นในทางใดทางหนึ่ง; เรียกสิ่งที่มีรูป เป็นแฉกคล้ายคลึงเช่น นั้น เช่น ดาวเครื่องหมายยศทหารตํารวจ; ชื่อ ลายประดับเพดานเป็นดวง ๆ มีหลายชนิด เช่น ดาวจงกล ดาวรังแตน ดาวกระจาย.
เดี่ยว : ว. แต่ลําพังตัวโดยไม่มีใครหรืออะไรร่วมด้วย เช่น มาเดี่ยว ทําเดี่ยว ไล่เดี่ยว เทียมเดี่ยว, เรียกการเล่นกีฬาบางชนิดซึ่งมีผู้เล่นข้างละคน เช่น เทนนิส ประเภทเดี่ยว แบดมินตันประเภทเดี่ยว. ก. แสดงฝีมือการเล่นดนตรีคนเดียว เช่น เดี่ยวปี่ เดี่ยวซอ เดี่ยวระนาด. น. ส่วนสูงของเรือนตั้งแต่พื้นถึงเพดาน, โดยปริยายหมายถึงบางสิ่งที่มีลักษณะสูงเช่นนั้น.
แท่นมณฑล : น. แท่นยกพื้นสี่เหลี่ยมผืนผ้าดาดเพดานด้วยผ้าขาว ติดระบายรอบ ใช้ตั้งปูชนียวัตถุและเครื่องใช้เป็นต้นในการเข้าพิธี เฉลิมฉลองตามลัทธิประเพณี.
นพปฎล : [นบพะปะดน] ว. มีเพดาน ๙ ชั้น หมายถึง เศวตฉัตร. (ป. นว + ปฏล).
นวปฎล : [นะวะปะดน] ว. นพปฎล, มีเพดาน ๙ ชั้น หมายความถึง เศวตฉัตร. (ป.).
นักระ : [นักกฺระ] (แบบ) น. จระเข้. (ส.; ป. นกฺก). นักษัตร ๑, นักษัตร [นักสัด, นักสัดตฺระ] น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมีดาว ปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิร, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่าดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะ เนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา, อทระ (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสําเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสําเภา ดาวสําเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสําเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาว งูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัว ตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจําฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชฏฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ,บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาว ราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี หรือ ดาวไซ) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. (ส.; ป. นกฺขตฺต).
บัว : น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ สกุล Nelumbo ในวงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบ เป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม พันธุ์ดอก สีขาวเรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกสีชมพูเรียก ปัทม์ หรือ สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, สกุล Nymphaea ในวงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ หรือจักอยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาวเรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchali Burm.f.) ขอบใบเรียบ ดอก สีม่วงอ่อน, สกุล Victoria ในวงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบ กระด้ง หรือ บัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่น กลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่ บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้าน ดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก; ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทําเป็นรูป กลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐาน เป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อ ประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มี ความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุม หรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็น รูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็น ไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว.
บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี : [บุระพะ-, บุบพะ-, ปุระพะ-, ปุบ พะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือ เพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
บุรพภัทรบท, ปุพพะภัททะ : [บุระพะพัดทฺระบด, บุบพะพัดทฺระบด, ปุบพะพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้ หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
เบญจา : น. แท่นมีเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่น กัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. (เพี้ยนมาจาก มัญจา คือ เตียง).
ปุพพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุระพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก. ปุพพะภัททะ, บุรพภัทรบท [-พัดทะ, บุบพะพัดทฺระบด, บุระพะพัดทฺระบด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๕ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ตัวผู้หรือเพดานตอนหน้า, ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย ก็เรียก.
ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี, บุรพผลคุนี : [-, ปุบพะ-, บุบพะ-, บุระพะ-] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๑ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปแรดตัวผู้หรือเพดาน ตอนหน้า, ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย ก็เรียก.
ผลคุนี : [ผนละคุนี] น. ชื่อดาวนักษัตรมี ๔ ดวง เรียกว่า ดาวเพดาน เมื่อแยก เพียง ๒ ดวงหน้า เรียกว่า บุรพผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ที่ ๑๑ คือ ดาววัว ตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย, อีก ๒ ดวงหลังเรียกว่า อุตรผลคุนี เป็นดาวฤกษ์ ที่ ๑๒ คือ ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย. (ส.; ป. ผคฺคุณี).
พัดชัก : น. เครื่องโบกลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ติดระบายติดห่วงแขวน กับเพดานมีเชือกชัก. (รูปภาพ พัดชัก)
มอบ ๓ : ก. ทําให้แน่นหรือให้เรียบด้วยการหุ้มหรือขลิบตามริม เช่น มอบปาก กระทง. น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดู เรียบร้อยหรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน๒ด้านมาบรรจบกัน หรือไม้ที่ตีประกบด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน เรียกว่า ไม้มอบ.
มุ้งกระโจม : น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดานให้ชายด้านล่าง คลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ.
มุทธชะ : [มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการ ม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่ พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).
ไม้มอบ : น. ไม้ที่ตีเป็นขอบตามแนวเพดานห้องทั้ง ๔ ด้านเพื่อให้ดูเรียบร้อย หรือเพื่อทับรอยต่อตอนมุมที่ฝาเรือน ๒ ด้านมาบรรจบกันหรือไม้ที่ตีประกบ ด้านนอกของกราบเรือทั้ง ๒ ด้าน.
ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
รังแตน ๑ : น. ลายที่มีรูปลักษณะคล้ายดาวจงกลหรือดอกบัวแย้ม เรียกว่า ลายดาวรังแตน ใช้ประดับเพดานหรือประตู; เรียกแหวนที่หัวมีทรงคล้าย รูปดอกบัวแย้มว่า แหวนรังแตน.
ลวดบัว : น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรง ส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่าง พื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับ ผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความ เหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะ สลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลาย ที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก.
ละครยก : น. เครื่องสังเวยพระภูมิหรือแก้บน ทำเป็นแท่นยกขนาด เล็ก มีเสา ๔ มุม ดาดเพดานด้วยกระดาษ มีตุ๊กตาดินปั้นทาฝุ่นเขียน สีสมมุติเป็นตัวละคร ๓๕ ตัวเสียบไว้บนแท่นนั้น.
ลิ้นไก่ : น. ติ่งบนเพดานอ่อนที่ยื่นลงมาในช่องปาก.
วัวตัวเมีย : น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อุตรผลคุนี มี ๒ ดวง, ดาวเพดาน หรือ ดาวอุตตรผลคุนี ก็เรียก.
สถลทิน : น. ชื่อสถานที่สําหรับทําพิธีเกี่ยวกับรับช้างเผือก ทําเป็น เนินดินมีเสาโครงเพดานผ้าขาวเป็นที่หุงข้าวเภาและปักต้นอ้อย.
สมพง : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Tetrameles nudiflora R. Br. ในวงศ์ Datiscaceae ชอบขึ้นริมนํ้า โคนต้นเป็นพอนแผ่กว้าง เปลือกสีเทาหรือ เทาแกมนํ้าตาลเลื่อมเป็นมัน ใบมน ทิ้งใบหมดต้นในฤดูร้อน เนื้อไม้ อ่อนเบา ใช้ทําก้านไม้ขีดไฟ เรือขุด และฝ้าเพดานได้, กะพง ก็เรียก.
อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี : [อุดตะระผนละคุนี] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๒ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปงูเหลือม แรดตัวเมีย หรือเพดานตอนหลัง, ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย ก็เรียก. (ส. อุตฺตรผาลฺคุนี; ป. อุตฺตรผคฺคุนี).
อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ : [อุดตะระพัดทฺระบด, อุดตะระพัดทะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๖ มี ๒ ดวง เห็นเป็นรูปราชสีห์ ตัวเมียหรือเพดานตอนหลัง, ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า ก็เรียก. (ส. อุตฺตรภทฺรปท; ป. อุตฺตรภทฺทปท).