อะไร : ส. คําใช้แทนนาม แสดงคําถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คําใช้แทนนาม ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
ทำไม : ว. เพราะเหตุไร, เพราะอะไร, เพื่ออะไร. ก. ทําอะไร เช่น ฉันจะทํา อย่างนี้ ใครจะทําไม.
เพราะ ๑ : ว. น่าฟัง, เสนาะ, ไพเราะ, เช่น เสียงเพราะ พูดเพราะ.
เพราะ ๒ : สัน. ด้วย, เหตุ, เพื่อ.
ลูบหน้าปะจมูก : (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะ เกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
เพราะฉะนั้น : สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่บอกผลหรือข้อสรุป.
เพราะว่า : สัน. คําสําหรับนําหน้าความที่อธิบายเหตุหรือสาเหตุ.
เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
ไกลปืนเที่ยง : (สํา) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.
งง : ก. ฉงน, คิดไม่ออกเพราะยุ่งยากซับซ้อน, ทําอะไรไม่ถูกเพราะยังตั้งสติ ไม่อยู่; อาการมึนเกิดเพราะหัวหรือบริเวณหน้าได้รับความกระทบ กระเทือนอย่างแรงเป็นต้น.
ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
รำไร : ว. เล็กน้อย เช่น แสงสว่างรำไร แสงแดดรำไร; อาการที่เห็นไม่ชัดเต็มที่ เพราะอยู่ในระยะไกลหรือมีอะไรบังเป็นต้น เช่น เห็นกระท่อมรำไรอยู่ ในหมู่ไม้.
รู้สึก : ก. รู้ตัว เช่น ย่องไปข้างหลังอย่าให้เขารู้สึก หลับเป็นตายปลุก เท่าไรก็ไม่รู้สึก, รู้ด้วยการสัมผัส เช่น รู้สึกร้อน รู้สึกหนาว, รู้สำนึก เช่น เขารู้สึกตัวว่าทำผิด, เกิดอาการที่รู้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์ เช่น รู้สึก สนุก รู้สึกซาบซึ้ง รู้สึกมึนศีรษะ, เกิดสังหรณ์ขึ้นในใจ เช่น รู้สึกว่า จะมีใครมาหา, มีแนวโน้มให้สันนิษฐานหรือคาดคะเนว่าจะมีอะไร เกิดขึ้น เช่น รู้สึกว่าสินค้าเกษตรจะมีราคาตกต่ำในปีนี้ ในที่สุดต้อง ยกเลิกเรื่องบางเรื่องเพราะรู้สึกว่าจะไปไม่รอด.
เวรกรรม : [เวนกำ] น. การกระทำที่สนองผลร้ายซึ่งทำไว้แต่ปางก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมของตนใน อดีต เช่น ไม่รู้ว่าเวรกรรมอะไรต้องมาตกระกำลำบากเมื่อแก่, กรรมเวร หรือ เวร ก็ว่า.
หน้าเก้อ : ว. มีสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น เด็กตีหน้าเก้อเมื่อถูกจับได้ว่าทำความผิด.
หน้ายุ่ง : ว. มีสีหน้าว่ามีความยุ่งยากลำบากใจเพราะมีงานมากเสียจนไม่รู้ จะทำอะไรก่อนอะไรหลังเป็นต้น.
กระใด : (โบ) ว. กระไร, อะไร, ทําไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู. (สมุทรโฆษ).
กว้า : [กฺว้า] (โบ) ว. หรือ, อะไร, ทําไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า, หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).
บ่า ๒ : ว. อาการที่นํ้าไหลล้นมาโดยเร็ว; อะไร, ทําไม.
พิเราะ : ว. ไพเราะ, เพราะ, เสนาะ. (ข. พีเราะ).
เพื่อ : บ. เหตุด้วย, เพราะด้วย, เพราะ, เพราะว่า, ด้วย, เช่น ทำงานเพื่อจะ ได้เงิน, ด้วยว่า, เกี่ยวกับ, เนื่องด้วย, สําหรับ, เช่น สละชีวิตเพื่อ ประเทศชาติ ทำงานเพื่อลูก.
มล่อน : [มะล่อน] (โบ) ว. สนุก, เพราะ, หวาน.
มอน : น. ใจกลาง, ส่วนสําคัญ, เช่น มอนไข่ คือ ไข่แดง. ว. สนุก, เพราะ, หวาน, เช่น ใจมอน ใจหวาน, ใจดี.
ไย : ว. ไฉน, อะไร, ทําไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.
ฤๅ ๒ : [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้ง แหล่งสยาม.
ว่าอะไรว่าตามกัน : (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
หมองูตายเพราะงู : น. ผู้ที่ชำนาญในการเอางูเห่ามาเลี้ยงเป็นอาชีพก็อาจ ถูกงูเห่ากัดตายเพราะความประมาทได้, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความรู้ อาจตายหรือพลาดท่าเสียทีเพราะความรู้ของตนก็ได้.
ปลาหมอตายเพราะปาก : (สํา) น. คนที่พูดพล่อยจนได้รับอันตราย. ปลาหมอแถกเหงือก
ดี ๒ : ว. มีลักษณะที่เป็นไปในทางที่ต้องการ น่าปรารถนา น่าพอใจ ใช้ใน ความหมายที่ตรงข้ามกับลักษณะบางอย่างแล้วแต่กรณี คือ ตรงข้ามกับ ชั่ว เช่น คนดี ความดี, ตรงข้ามกับร้าย เช่น โชคดี เคราะห์ดี; สวย, งาม, เช่น หน้าตาดี, เรียบร้อย เช่น มรรยาทดี, เพราะ เช่น เสียงดี, จัด เช่น แดดดี, เก่ง เช่น ดีแต่พูด, ชอบ เช่น ดีแล้ว, อยู่ในสภาพปรกติ เช่น สุขภาพดี คืนดี.
หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ครรไลหงส์ : น. ``พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ'' หมายถึง พระพรหม เพราะ พระพรหมทรงมีหงส์เป็นพาหนะ.
ไซ้ ๒ : ว. ได้, ไหน, อะไร.
ฐาน ๓ : สัน. เพราะ เช่น ถูกลงโทษฐานละเลยหน้าที่.
น้ำนอนคลอง : น. นํ้าในคลองซึ่งไหลลงไม่หมด เหลือนํ้าอยู่มาก เพราะ มีนํ้าหนุนขึ้นมา.
เนปจูน : น. ชื่อดาวเคราะห์ดวงที่ ๘ ในระบบสุริยะ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เพราะ อยู่ห่างโลกมาก อยู่ห่างดวงอาทิตย์ประมาณ ๔,๕๒๙ ล้านกิโลเมตร มีเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวที่ผ่านเส้นศูนย์สูตร ๔๘,๔๐๐ กิโลเมตร ในแนวที่ผ่านขั้ว ๔๗,๔๐๐ กิโลเมตร, ดาวสมุทร ก็เรียก. (อ. Neptune).
เบื่อเป็นยารุ : ว. เบื่อมากเหมือนกับยารุที่ไม่มีใครอยากกิน เพราะ มีกลิ่นเหม็นและรสขมเฝื่อน.
ปิดทองหลังพระ : (สํา) ก. ทําความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ เไม่มีใครห็นคุณค่า.
เป็นใด : (กลอน) ว. เป็นอะไร, อะไร.
พิสัง : (ถิ่นอีสาน) ว. อะไร.
ไร ๕ : ว. ไหน, ใด, อะไร.
ละล่ำละลัก : ก. อาการที่พูดไม่ได้เร็วอย่างใจกระอึกกระอักติด ๆ ขัด ๆ เพราะ เหนื่อย ตกใจ ดีใจ หรือรีบร้อน เป็นต้น.
เหตุ : [เหด] น. สิ่งหรือเรื่องที่ทําให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่อง; เหตุผล. สัน. ด้วย, เพราะ. (ป., ส.).
เพรา ๑ : [เพฺรา] น. เวลาเย็น เช่น เกลออย่ากินเข้าเพราเลย เกลออดเข้าเพรา ให้เถิงรุ่ง. (ไตรภูมิ); มื้อ.
เพรา ๒ : [เพฺรา] ว. งาม, น่าดู. เพราพริ้ง, เพราเพริศ ว. สวยงาม, พริ้งเพรา ก็ว่า.
อร ๓ : ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
กกุธภัณฑ์ : [กะกุดทะ-] น. เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ตามที่ แสดงไว้ในบรมราชาภิเษก ร. ๗ คือ ๑. พระมหาพิชัยมงกุฎ ๒. พระแสงขรรค์ชัยศรี ๓. ธารพระกร ๔. วาลวีชนี (พัดกับ แส้จามรี) ๕. ฉลองพระบาท รวมเรียกว่า เบญจราชกกุธภัณฑ์. (ป. กกุธ ว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ ว่า ของ ใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๓๕๘ ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาทวาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร; ใน จดหมายเหตุบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๒ มีทั้งฉัตรและธารพระกร พระแสงขรรค์ พระแสงดาบ วาลวีชนี พระมหาพิชัยมงกุฎ และ ฉลองพระบาท รวมเป็น ๗ สิ่ง. (รูปภาพ เบญจราชกกุธภัณฑ์) วาลวีชนี ที่ปรากฏวัตถุเป็นพัดกับแส้จามรีนั้น แต่ก่อนเป็นพัด ใบตาลอย่างที่เรียกว่า พัชนีฝักมะขาม ต่อมาท่านเห็นควรเป็น แส้จามรีจะถูกกว่า เพราะศัพท์ว่า วาลวีชนี หมายความเป็น แส้ขนโคชนิดหนึ่ง จึงสร้างแส้จามรีขึ้น แต่ก็ไม่อาจเลิกพัดใบตาล ของเก่า เป็นอันรวมไว้ทั้ง ๒ อย่างในเครื่องที่เรียกว่า วาลวีชนี).
กงการ : (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
ก้นกระดก : (สำ) ว. ลืมตัวเพราะถูกเยินยอ.
ก้นขบ : น. ชื่องูชนิด Cylindrophis ruffus ในวงศ์ Aniliidae หรือ Uropeltidae สีดําแกมม่วง มีลายขาวเป็นปล้อง ๆ ไม่มีพิษ แต่เข้าใจกันว่ามีพิษ ข้างหางเพราะชูและแผ่หางซึ่งปลายมีสีแดงส้ม.