เพลิง : [เพฺลิง] น. ไฟ เช่น เพลิงไหม้บ้าน ดับเพลิง. (ข. เภฺลิง).
เพลิงกัลป์ : น. ไฟกัลป์.
เพลิงฟ้า : น.ไฟที่ใช้แว่นส่องจุดด้วยแสงแดด.
อมเพลิง : [เพฺลิง] น. เรียกไม้เสาที่มีเปลือกและกระพี้เป็นชั้น ๆ ว่า เสาอมเพลิง ถือว่าเป็นเสาไม่ดี.
คบ ๒, คบไฟ, คบเพลิง : น. ของใช้สําหรับจุดไฟให้สว่าง ทําด้วยของแห้งเช่นใบไม้และขี้กบ เป็นต้น เอามามัดเป็นดุ้นยาว, มัดเชื้อเพลิง ก็ว่า.
เจตมูลเพลิง : [เจดตะ-] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Plumbago วงศ์ Plumbaginaceae เช่น เจตมูลเพลิงแดง (P. indica L.) ดอกสีแดง และ เจตมูลเพลิงขาว (P. zeylanica L.) ดอกสีขาว, รากของทั้ง ๒ ชนิด มีรสเผ็ดร้อน ใช้ทํายาได้.
พนมเพลิง : น. กองเพลิงเผาศพ.
มัดเชื้อเพลิง : น. คบไฟ, คบเพลิง.
เรือดับเพลิง : น. เรือที่ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง.
วางเพลิง : [เพฺลิง] ก. จุดไฟเผาอาคารบ้านเรือนหรือทรัพย์สมบัติ; โดยปริยายหมายความว่าให้ร้ายคนอื่น.
กลบบัตรสุมเพลิง : น. ชื่อพิธีพราหมณ์อย่างหนึ่ง ทําแก้เสนียด.
กำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง).
คำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืน. (ข. กําเภลิง).
จะเพลิง : ดู กระดูกค่าง.
ฉากบังเพลิง : น. ฉากพับได้ที่ติดไว้กับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน ใช้สําหรับกั้นบัง ในเวลาเผาศพชั้นโกศเท่านั้น, ถ้าเป็นเมรุธรรมดาและเป็นศพข้าราชการ ใช้ลายเถาไม้, ถ้าเป็นพระศพพระราชวงศ์ ใช้ฉากรูปเทวดา.
ชะเพลิง : ดู กระดูกค่าง.
เชื้อเพลิง : น. สิ่งที่ทําให้ไฟติดง่าย; สิ่งที่ทําให้เกิดการเผาไหม้.
ดอกไม้เพลิง, ดอกไม้ไฟ : น. เครื่องสําหรับจุดในงานเทศกาลหรืองานศพ เป็นต้น ทําด้วยกระบอกไม้อ้อหรือไม้ไผ่เป็นต้น บรรจุดินดํา มีชื่อต่าง ๆ กันตามชนิด.
ต้นเพลิง : น. คนหรือสิ่งที่เป็นเหตุทําให้เกิดไฟไหม้; ผู้ที่จุดไฟเผาศพคนแรก.
ธุมเพลิง : [ทุมเพฺลิง] น. แสงสว่างที่เกิดขึ้นในอากาศผิดธรรมดา.
บังเพลิง : น. เครื่องส่องแสงไฟที่มีกําบังไม่ให้เห็นผู้ส่อง.
ประชุมเพลิง : [-เพฺลิง] ก. เผาศพ.
ผทมเพลิง : ก. อยู่ไฟ.
ม่านบังเพลิง : น. ฉากพับได้ติดกับเสาเมรุทั้ง ๔ ด้าน.
รถดับเพลิง : น. รถใช้ในการดับไฟที่ไหม้อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เป็นต้น มีอุปกรณ์ในการดับไฟ เช่น ถังน้ำสำรอง สายสูบน้ำ หัวสูบ ระหว่างวิ่ง ไปเพื่อดับไฟจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
ระเบิดเพลิง : น. ลูกระเบิดซึ่งบรรจุสารเคมีที่ติดไฟทันทีเมื่อเกิดการ ระเบิดขึ้นแล้ว.
ตระบอง : [ตฺระ-] น. ตะบอง เช่น ครั้นพ้นขึ้นมาเปนเปรตถือตระบองเหลกลุกเปนเปลว เพลิง. (สามดวง), กระบอง ก็ว่า.
เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
กระดูกค่าง : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Diospyros undulata Wall. ex G. Don var. cratericalyx (Craib) Bakh. ในวงศ์ Ebenaceae ขึ้นในป่าดิบ มีมากทางภาคใต้ สูงได้ถึง ๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ, จะเพลิง ชะเพลิง คําดีควาย ดูกค่าง ตะโกดํา พลับเขา ไหม้ หม้าย หรือ สะลาง ก็เรียก.
กลไฟ : [กน-] น. เรียกเรือโดยสารหรือบรรทุกสินค้าที่ใช้ฟืนเป็นต้น เป็นเชื้อเพลิง มีขนาดใหญ่กว่าเรือไฟ นิยมใช้แล่นในท้องทะเลหรือ มหาสมุทร ว่า เรือกลไฟ.
กัตติเกยา : น. การตามเพลิงในพิธีพราหมณ์.
ก๊าซชีวภาพ, แก๊สชีวภาพ : น. แก๊สที่เกิดจากการเสื่อมสลาย ผุพังของสิ่งมีชีวิต หรือสิ่งที่สืบเนื่องจากสิ่งมีชีวิต ติดไฟได้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงเป็นต้น.
การกลั่นทำลาย : น. กรรมวิธีที่ให้ความร้อนสูงแก่สารอินทรีย์ โดยไม่ให้อากาศเข้า เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นแก่สารนั้น ให้ผลเป็นสารที่ระเหยได้และแยกตัวออกมา เช่น การกลั่นทําลาย ขี้เลื่อย ให้ผลเป็นเมทิลแอลกอฮอล์ กรดน้ำส้ม และสารอื่นอีก, การกลั่นทําลายถ่านหิน ให้ผลเป็นแก๊สถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ น้ำมันเบนซิน ลูกเหม็นกันแมลงสาบ และสารอื่นที่มีประโยชน์อีกมาก กากที่เหลือเรียกว่า ถ่านโค้ก. (อ. destructive distillation).
กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
โกรธ : [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า ''ทรงพระโกรธ'' ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธ ดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).
ไข้สันนิบาต : (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง.
คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
คาร์บอนมอนอกไซด์ : [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้ โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของ เครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
จตุกาลธาตุ : [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
จรวด ๒ : [จะหฺรวด] น. อาวุธหรือยานอวกาศที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงมาก โดย ใช้เชื้อเพลิงในตัวเองเผาไหม้เป็นแก๊สพุ่งออกมาจากส่วนท้าย มีทั้งชนิด ที่ใช้เชื้อเพลิงแข็งและชนิดที่ใช้เชื้อเพลิงเหลว. (อ. rocket).
ไฉน ๒ : [ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนปี่ชวา ใช้บรรเลงนำหมู่กลองชนะ สำหรับประโคมในงานพระราชทานเพลิงศพที่ได้รับพระราชทานโกศเป็นต้น มีหัวหน้าเรียกว่า จ่าปี่, สรไน ก็ว่า.
ซาง ๒ : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค.
โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
โซลา : น. นํ้ามันเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลชนิดหมุนเร็ว โดยใช้ความร้อนซึ่งเกิดจากกําลังอัดของลูกสูบจุดระเบิด, ทางการเรียกว่า นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว. (อ. sola, solar).
ดอกมะตาด, ดอกไม้ตาด : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยกระบอกไม้ บรรจุดินปืนเมื่อจุดมีสีต่าง ๆ. (เทียบอิหร่าน มะตัด ว่า ดอกไม้เทียน). ดอกไม้ น. ฟันของเด็กที่แรกขึ้น.
ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
ดีเซล : น. เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีระบบจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงด้วย การอัดอากาศภายในเครื่องยนต์จนได้ความร้อนสูงมากพอ แล้วจึงฉีด นํ้ามันเชื้อเพลิงให้เป็นฝอยผสมเข้ากับอากาศซึ่งมีอุณหภูมิสูงนั้น เป็นผล ให้เกิดการจุดระเบิดนํ้ามันเชื้อเพลิงขึ้น, นํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงใน เครื่องยนต์ชนิดนี้ เรียกว่า นํ้ามันดีเซล. (อ. diesel).
ตรีปิตผล : [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
ตรีสาร : น. แก่น ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก, หรืออีกอย่างหนึ่ง รส ๓ อย่าง เป็นคําแพทย์ใช้ในตํารายาไทย ประสงค์เอา เจตมูลเพลิง สะค้าน ช้าพลู. (ส.).