เพล : [เพน] น. เวลาพระฉันกลางวัน คือ เวลาระหว่าง ๑๑ นาฬิกาถึงเที่ยง เรียกว่า เวลาเพล. (ป., ส. เวลา ว่า กาล).
กลองเพล : [-เพน] น. กลองทัดขนาดใหญ่ใช้ตีเป็นสัญญาณ บอกเวลา ๑๑ นาฬิกา เพื่อภิกษุสามเณรจะได้ฉันเพล.
น้องเพล : น. เรียกเวลาก่อนเพล ระหว่าง ๑๐ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา.
เพลา ๔, เพลา ๆ : [เพฺลา] ว. เบาลง, เบาพอประมาณ, เช่น เพลาไม้เพลามือ เพลา ๆ หน่อย.
พล, พล : [พน, พนละ, พะละ] น. กําลัง, มักใช้ประกอบคําอื่น เช่น พระทศพล อันเป็นพระนามพระพุทธเจ้า หมายความว่า ทรงมีพระญาณอันเป็น กำลัง ๑๐ ประการ มี ฐานาฐานญาณ คือ ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและสิ่งที่มิใช่ ฐานะเป็นต้น; ทหาร เช่น กองพล ตรวจพล ยกพลขึ้นบก; สามัญ, ธรรมดา ๆ, พื้น ๆ, เช่น ของพล ๆ; ยศทหารและตํารวจสัญญาบัตร รองจากจอมพล (เดิมใช้ว่า นายพล). (ป., ส.).
เพลา ๑ : [เพลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
เพลา ๓ : [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอ ดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
เพลา ๒ : [เพฺลา] น. แกนสําหรับสอดในดุมรถหรือดุมเกวียน, โดยปริยาย หมายถึงแกนสําหรับให้ล้อหรือใบจักรหมุน; ไม้สําหรับขึงใบเรือ.
เพลา ๕ : [เพฺลา] น. ตัก, ช่วงขาตั้งแต่เข่าถึงโคนขา, ราชาศัพท์ว่า พระเพลา. (ข. เภฺลา).
พลขันธ์ : [พนละ] น. กองทัพ.
พลขับ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ขับยานพาหนะ.
พลตระเวน : [พน] (โบ) น. พลตํารวจพระนครบาลผู้ตรวจตรา เหตุการณ์.
พลรบ : [พนละ] น. ทหารที่ทำหน้าที่ฝ่ายรบ.
พลสิงห์ : [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
กระบอกเพลา : น. ไม้แข็งเช่นเต็งรังทําเป็นปลอกตอกอัดไว้ใน รูดุมเกวียน สําหรับสอดเพลาเข้าในรูนั้นป้องกันมิให้รูดุมคราก.
กรีธาพล : ก. รวมพลเข้าเป็นกระบวน.
คลี่ทัพ, คลี่พล : (โบ) ก. เคลื่อนพล, เคลื่อนกำลังไป, เช่น ยังยโสธรคล้อย คลี่พล. (ยวนพ่าย).
จัตุรงคพล : [จัดตุรงคะ-] น. จตุรงคพล, กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
ประดาพล : ก. ยกพลเรียงหน้าเข้าไป.
พิทยาพล : น. กําลังกายสิทธิ์. (ส. วิทฺยาพล).
โพล่ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สำหรับใส่เสบียงกรังและของใช้ต่าง ๆ เช่น ข้าวสาร เสื้อผ้า ประกอบด้วยกระชุ ๒ ใบ สานเป็นตาชะลอม กรุด้วย กาบไผ่ กระชุนั้นผูกติดกับคันซึ่งทำเป็นขา ๒ ขา ส่วนบนไขว้กัน มีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ด้านบนมีกัญญาซึ่งสานด้วยไม้ ไผ่เป็นตาชะลอมแล้วกรุด้วยใบไม้ผูกติดกับคันสำหรับกันแดดกันฝน. (รูปภาพ โพล่)
ไพล่ : [ไพฺล่] ก. ไขว้ เช่น เอามือไพล่หลัง, เอี้ยว, หลบไป, หลีกไป; แทนที่จะเป็นอย่างนี้กลับเป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น เคยทำอย่างนี้ ไพล่ไปทำอย่างนั้น.
รวมพล : ก. รวมกำลังพลเข้าด้วยกัน.
เรือยกพลขึ้นบก : น. เรือที่ใช้ในการลำเลียงขนส่งทหาร พัสดุ และอาวุธ ยุทโธปกรณ์ในการรบแบบสะเทินน้ำสะเทินบก มีหลายขนาด เช่น เรือคอมมานโด เรือยกพลจู่โจม.
เลิกพล : ก. ยกพลกลับ.
สนับเพลา : [เพฺลา] น. กางเกงชั้นในมีขายาวประมาณครึ่งแข้งแล้ว นุ่งผ้าโจงกระเบนทับอย่างตัวละคร, (ราชา) พระสนับเพลา.
กระดาษเพลา : [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ.
กำมัชพล : [-มัดชะพน] น. ชื่อเกณฑ์เลขในคัมภีร์สุริยยาตร ซึ่งคํานวณมาจากจุลศักราช.
จตุรงคพล : [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
เภสัชเพลา : [เพสัดเพ] น. หมากพลูบุหรี่ที่ถวายพระ.
ระดมพล : ก. เกณฑ์ทหารเข้าประจำกองทัพอย่างรีบด่วน.
อรสุมพล : น. กําลังไอนํ้า.
อำพล : (โบ) ว. อำพน.
ธุวยัษฎี : น. เพลา (หรือเส้น) แห่งขั้วโลกทั้ง ๒. (ส. ธฺรุวยษฺฏี).
พลากร : [พะลากอน] น. กองทหารเป็นจํานวนมาก. (ป. พล + อากร).
พลาดิศัย : ว. มีกําลังยิ่ง. (ส. พล + อติศย).
มุลู : น. พล. (ช.).
อากร : [กอน] น. หมู่, กอง, เช่น พลากร (พล + อากร); บ่อเกิด, ที่เกิด, เช่น ทรัพยากร ศิลปากร; ค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่รัฐบาลเรียก เก็บ เช่น อากรรังนก อากรมหรสพ; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น ดารากร นรากร ทวิชากร ประชากร หรืออาจมีความหมายคงเดิมก็ได้ เช่น พระปฏิมากร.
กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
กระกัติ : (โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).
กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
กระโปก ๒ : น. เครื่องเกวียนสําหรับยึดเพลา ติดอยู่กับตัวทูบ.
กระโปรง : [-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์ หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าว เป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สําหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.
กระพี้เขาควาย : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ชนิด Dalbergia cultrata Grah. ex Benth. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าทุ่งทั่วไป เว้นแต่ปักษ์ใต้ แก่นสีดําแข็งและหนักมาก ใช้ทําเครื่องเรือน เพลาเกวียน และด้ามเครื่องมือต่าง ๆ.