Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพาะเลี้ยง, เลี้ยง, เพาะ , then พา, เพา, เพาะ, เพาะเลี้ยง, ลยง, เลี้ยง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพาะเลี้ยง, 490 found, display 1-50
  1. เพาะ : ก. ทําให้งอก, ทําให้เกิด, เช่น เพาะถั่วงอก, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพาะนิสัย.
  2. เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
  3. เพาะปลูก : น. กรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะ เมล็ดหรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น เช่น หัว กิ่ง ใบ ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต.
  4. เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
  5. เพาะชำ : น. การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เป็นเมล็ดจนโตถึงระยะพอที่ จะนำไปปลูกที่อื่นได้, การเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่ตัดกิ่งไปปักในดิน ที่ชุ่มน้ำจนกระทั่งรากงอกและแตกใบแล้วนำไปปลูกที่อื่นได้.
  6. เลี้ยงแขก : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ได้รับเชิญเช่น เลี้ยงแขกในงานมงคล สมรส อาหารพวกนี้สำหรับเลี้ยงแขก.
  7. เลี้ยงชีพ : ก. เลี้ยงตัว, ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงอาตมา ก็ว่า.
  8. เลี้ยงดู : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, ปรนปรือด้วยอาหารการกินเป็นต้น, (มักใช้แก่คน) เช่น เลี้ยงดูพ่อแม่.
  9. เลี้ยงดูปูเสื่อ : ก. ต้อนรับเลี้ยงดูด้วยอาหารการกินอย่างดี.
  10. เลี้ยงได้แต่ตัว : ก. เลี้ยงได้เฉพาะแต่ร่างกายเท่านั้นไม่สามารถจะ บังคับจิตใจเขาได้, มักใช้ว่าเลี้ยงได้แต่ตัวเท่านั้น จิตใจเลี้ยงไม่ได้.
  11. เลี้ยงต้อนรับ : ก. เลี้ยงอาหารเนื่องในการรับรองแขกหรือบุคคลใด บุคคลหนึ่ง เช่น รัฐบาลเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง.
  12. เลี้ยงตอบ, เลี้ยงตอบแทน : ก. เลี้ยงอาหารเป็นต้น ตอบแทนแก่ผู้ที่เคย เลี้ยงอาหารตนมาก่อน.
  13. เลี้ยงต้อย : ก. เลี้ยงมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยจนเติบโตแล้วก็ยกฐานะขึ้น เป็นสามีหรือภรรยาของผู้เลี้ยงเอง.
  14. เลี้ยงโต๊ะ : ก. เลี้ยงแขกอย่างกินโต๊ะ.
  15. เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง : ก. ทํามาหากินพอเลี้ยงตัว.
  16. เลี้ยงผี : ก. เลี้ยงวิญญาณของคนที่ตายแล้วเพื่อเอามาใช้ประโยชน์ เช่นการเสี่ยงทายเป็นต้น.
  17. เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย : (สำ) ก. เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก.
  18. เลี้ยงไม่ขึ้น : ก. อบรมเลี้ยงดูคนบางคนอย่างดีแต่ก็มิได้ทำให้คนผู้นั้น เจริญรุ่งเรืองขึ้นเลย; เลี้ยงคนบางคนแล้วผู้นั้นยังไม่กตัญญูรู้คุณ.
  19. เลี้ยงไม่เชื่อง : ก. อาการของสัตว์บางชนิดเช่นนกกระจอกแม้จะเอา มาเลี้ยงอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อง, โดยปริยายหมายความว่า เนรคุณ.
  20. เลี้ยงไม่รู้จักโต : ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้อง ขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบ ออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ.
  21. เลี้ยงไม่เสียข้าวสุก, เลี้ยงไม่เสียหลาย : ก. เลี้ยงแล้วยังใช้ประโยชน์ ได้บ้าง.
  22. เลี้ยงรับ : ก. เลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการต้อนรับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เลี้ยงรับผู้ที่จะมาอยู่ใหม่.
  23. เลี้ยงลา : ก. เลี้ยงอาหารเป็นการอำลาของผู้ที่จะจากไป เช่น นายแดง เลี้ยงลาเพื่อน ๆ ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น.
  24. เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : (สำ) ก. บำรุงเลี้ยงดูลูกศัตรูหรือลูกคนพาล จะได้รับความเดือดร้อนในภายหลัง.
  25. เลี้ยงไว้ดูเล่น : ก. เลี้ยงไว้ก็ไม่เสียหายอะไร.
  26. เลี้ยงส่ง : ก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่จะจากไปอย่างเดินทางไปต่างประเทศ เป็นต้น เช่น เลี้ยงส่งเพื่อนไปศึกษาต่างประเทศ.
  27. เลี้ยงเสียข้าวสุก : ก. เลี้ยงแล้วไม่ได้ประโยชน์อะไร.
  28. เลี้ยงอาตมา : ก. เลี้ยงตัว, เลี้ยงชีพ ก็ว่า.
  29. เพาะกาย : ก. บริหารร่างกายเพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรงโดยวิธียก น้ำหนักเป็นต้น.
  30. เลี้ยงไข้ : ก. อาการที่หมอจงใจชะลอการรักษาโรคให้หายช้าเพื่อ จะเรียกค่ารักษาได้นาน ๆ.
  31. เลี้ยงความ : ก. อาการที่ทนายความของโจทก์และจำเลยสมคบกัน ถ่วงคดีความให้ล่าช้า โดยประสงค์ที่จะเรียกค่าใช้จ่ายในการว่าความ ที่ต้องยืดเยื้อออกไป.
  32. เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง : (สํา) ก. หาผลประโยชน์โดยมิชอบจากงานที่ทํา.
  33. เลี้ยงน้ำใจ : ก. ถนอมน้ำใจ, ประคับประคองไว้ไม่ให้เสียน้ำใจ.
  34. เลี้ยงผม : ก. ไว้ผมยาวโดยไม่ตัด.
  35. เลี้ยงผอก : ก. นำข้าวไปให้ชาวนากินในเวลาทำนา.
  36. เลี้ยงไฟ : ก. อาการที่คอยเติมเชื้อไฟไว้มิให้ไฟดับ.
  37. เลี้ยงไม่โต : ก. ได้รับบาดเจ็บถึงพิการ แม้จะไม่ตายแต่ก็รักษาให้หาย เป็นปรกติไม่ได้.
  38. เลี้ยงลูกเจ้าเฝ้าคลัง : ก. ทำสิ่งที่มีแต่เสมอตัวกับขาดทุน, ทำดีก็เสมอตัว ทำไม่ดีก็ต้องได้รับโทษ.
  39. เกษตรกรรม : [กะเสดตฺระกํา] น. การใช้ที่ดินเพาะปลูกพืชต่าง ๆ รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ การประมงและการป่าไม้. (ส.).
  40. ฟาร์ม : น. อาณาบริเวณที่ใช้ทําการเกษตรกรรม มีเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ เช่น ทำฟาร์มปลูกข้าวโพดข้าวฟ่างเลี้ยงไก่เลี้ยงปลาเป็นต้น. (อ. farm).
  41. รังกล้วยไม้ : น. ที่เพาะเลี้ยงกล้วยไม้จำนวนมาก.
  42. หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
  43. เหมือง : [เหฺมือง] น. บ่อ เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองแร่; ลําราง, ร่องนํ้าสําหรับชักนํ้า เข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก, เช่น ชักน้ำจากเหมืองเข้านา.
  44. ชุบเลี้ยง : ก. บํารุงเลี้ยงดูให้มีฐานะดีขึ้น.
  45. ตฤป : [ตฺริบ] (แบบ) ก. อิ่ม, ให้อิ่ม, ให้กิน, เลี้ยง, กิน เช่น ตฤปตฤณ. (ส.; ป. ตปฺป).
  46. น้ำเลี้ยง : น. ของเหลวที่หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต เช่น นํ้าเลี้ยง ลูกตา นํ้าเลี้ยงลําต้น.
  47. ปาล : (แบบ) ก. บาล, เลี้ยง, รักษา, ปกครอง. (ป., ส.).
  48. พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง : (สํา) ก. พอมีกินมีใช้, พอเลี้ยงตัวได้.
  49. พี่เลี้ยง : น. ผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูเด็ก; ผู้ทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา หรือช่วยเหลือเป็นต้น เช่น พี่เลี้ยงนักมวย พี่เลี้ยงผู้เข้าประกวด.
  50. ฤๅษีเลี้ยงลิง : (สํา) น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ใน ระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรําคาญ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-490

(0.1589 sec)