Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพิง , then พง, เพิง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพิง, 40 found, display 1-40
  1. เพิง : น. สิ่งปลูกสร้างมีทั้งชนิดชั่วคราวขนาดเล็ก และชนิดถาวรประกอบ ด้วยหลังคาปีกเดียว, ถ้าเอียงลาด เรียกว่า เพิงหมาแหงน, ถ้ามีแขนนาง คํ้าตอนหน้า เรียกว่าเพิงแขนนาง, ถ้าปลายข้างหนึ่งพิงอยู่กับสิ่ง ก่อสร้างหลัก เรียกว่า เพิงพะ หรือ พะเพิง, ส่วนเพิงพะที่ใช้เป็นที่พัก ทหาร เรียกว่า เพิงพล.
  2. กระเพิง : น. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  3. พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  4. กระพัก : น. โขดหินหรือไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้ เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ตะพัก ก็ว่า.
  5. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  6. กันสาด : น. เพิงที่ต่อชายคาสําหรับกันฝน, บังสาด ก็เรียก.
  7. ชะงุ้ม : ว. เป็นเพิงงุ้มลงมา.
  8. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  9. บังสาด : น. เพิงที่ต่อชายคาสําหรับกันฝนสาด, กันสาด ก็เรียก.
  10. พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
  11. พะเพิง : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก.
  12. พะไล : น. เรือนหรือเพิงโถง ต่อจากเรือนเดิมหรืออยู่ในบริเวณของเรือนเดิม ใช้เป็นที่นั่งเล่นหรือประโยชน์อื่น ๆ ซึ่งไม่ใช่ห้องนอน, พาไล ก็ว่า.
  13. พง ๒ : ดู แขม๑และ เลา ๑.
  14. พน, พน : [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
  15. พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
  16. พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
  17. พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
  18. เพิ่ง : ว. พึ่ง. (ดู พึ่ง๒).
  19. แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
  20. หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.
  21. เข้ารกเข้าพง : (สํา) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความ ชํานาญในเรื่องนั้น.
  22. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  23. พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
  24. เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
  25. แขม ๑ : [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
  26. พงศ, พงศ์ : [พงสะ, พง] น. เชื้อสาย, เทือกเถา, เหล่ากอ, สกุล. (ส.; ป. วํส).
  27. เลา ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum spontaneum L. ในวงศ์ Gramineae ดอกสีขาวเงิน เป็นมัน, พง หรือ อ้อยเลา ก็เรียก; เรียกผมที่หงอกขาว และมีสีดำแซมอยู่บ้างว่า ผมสีดอกเลา.
  28. อฏวี : [อะตะ] น. ดง, ป่า, พง. (ป., ส.).
  29. กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
  30. กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
  31. เขนงนายพราน : [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลาย ใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.
  32. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  33. ดัดดั้น : ก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  34. พวย ๒ : ก. สูง, พุ่ง, ไปโดยเร็ว.
  35. เพ่อ : ว. ใช้ประกอบหลังคํา อย่า เป็น อย่าเพ่อ หมายความว่า ห้ามไม่ให้ กระทําในขณะนั้น เช่น อย่าเพ่อกิน, พึ่ง เพิก หรือ เพิ่ง ก็ว่า.
  36. เพิก ๑ : ว. เพ่อ, เพิ่ง, พึ่ง.
  37. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  38. ไหว ๆ : ว. อาการที่เคลื่อนไหวหรือพลิ้วไปมา เช่น ปลาแหวกว่ายกอบัวอยู่ไหว ๆ ลมพัดธงสะบัดอยู่ไหว ๆ, อาการที่เคลื่อนไหวอย่างเห็นไม่ชัด เช่น เห็น คนร้ายวิ่งหนีเข้าไปในพงหญ้าอยู่ไหว ๆ.
  39. อาศัย : ก. พักพิง, พักผ่อน; พึ่ง; อ้างถึง เช่น อาศัยความตามมาตราที่ (ส.). อาศัยที่, อาศัยว่า สัน. เนื่องจาก, โดยเหตุที่.
  40. อิง : ก. พิง เช่น อิงหมอน; พึ่ง, อาศัย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ อาศัย เป็น อิงอาศัย.
  41. [1-40]

(0.0562 sec)