เพิ่ง :
ว. พึ่ง. (ดู พึ่ง๒).
เพิก ๑ : ว. เพ่อ, เพิ่ง, พึ่ง.
พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
เพ่อ : ว. ใช้ประกอบหลังคํา อย่า เป็น อย่าเพ่อ หมายความว่า ห้ามไม่ให้ กระทําในขณะนั้น เช่น อย่าเพ่อกิน, พึ่ง เพิก หรือ เพิ่ง ก็ว่า.
หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
พอ :
ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
กระดักกระเดี้ย : ว. ไม่มีแรง, ขยับเขยื้อนไม่ใคร่ได้, เกือบจะหมดกําลังกาย, เช่น เพิ่งหายไข้ใหม่ ๆ จะลุกจะนั่งก็กระดักกระเดี้ย, ไม่ใคร่ไหว เช่น หากินกระดักกระเดี้ย.
กระเตาะ ๒ : ว. แรกรุ่น, เพิ่งแตกเนื้อสาว.
กำเดาะ : ว. กระเตาะ, รุ่น, เพิ่งแตกเนื้อสาว. (ปาเลกัว).
ขนอุย : น. ขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น.
ขบเผาะ : ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิง ที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
ข่าวสด : น. ข่าวใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น.
ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
ไข้ทับระดู : น. ไข้ขณะที่กําลังมีระดูหรือระดูเพิ่งหยุด.
คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
คล้อยหลัง : ว. ผ่านพ้นไปยังพอเห็นหลังไว ๆ เช่น เขาเพิ่งเดิน คล้อยหลังไปไม่นาน.
โงเง : ว. อาการที่ลุกขึ้นนั่งหรือยืนโงกเงกของคนที่มึนงงหรือเพิ่งตื่นนอนใหม่, ยังงัวเงียอยู่.
ผการาย : น. เรียกต้นหมากที่เพิ่งออกดอกประปราย.
พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
ฟื้นไข้ : ก. หายไข้ใหม่ ๆ, เพิ่งจะหายไข้.
เมื่อกี้, เมื่อตะกี้ : ว. เพิ่งล่วงไป, เพิ่งผ่านไป, (ใช้แก่เวลา).
ยังก่อน : คำขอร้องให้รั้งรอไว้ก่อน เช่น ยังก่อน อย่าเพิ่งกิน.
ระบัด : ก. ลัด, ผลิ, แตกใบอ่อน, เช่น ไม้ระบัดใบ. ว. เพิ่งลัด, เพิ่งผลิ, อ่อน, เช่น หญ้าระบัด.
รุ่งเช้า : น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวัน รุ่งขึ้น.
รุ่น : น. วัยของคนที่ถืออายุเป็นเครื่องกำหนด เช่น รุ่นเด็ก รุ่นหนุ่ม รุ่นสาว รุ่นน้อง, สมัยของคนที่ใช้หลักใดหลักหนึ่งเป็นต้นว่า ปีการศึกษา น้ำหนัก เป็นเครื่องกำหนด เช่น นิสิตรุ่นแรก บัณฑิตรุ่นที่ ๒ นักมวย รุ่นฟลายเวท, คราวหรือสมัยแห่งสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดหรือผลิตขึ้นเป็น ระยะ ๆ เช่น มะม่วงออกผลรุ่นแรก รถยนต์คันนี้เป็นรุ่นล่าสุด; กิ่งไม้ ที่แตกออกมาใหม่ อ้วน งาม เรียกว่า รุ่นไม้. ว. เพิ่งเป็นหนุ่มเป็นสาว, เพิ่งแตกเนื้อหนุ่มเนื้อสาว, เช่น วัยรุ่น.
รุ่นกระทง : ว. เพิ่งสอนขัน (ใช้แก่ไก่) ในคำว่า ไก่รุ่นกระทง, กำลังแตก เนื้อหนุ่ม.
รู้รส : ก. รู้สึกถึงผลที่ได้รับ (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น ถ้าเด็กดื้อต้องตีเสีย บ้าง จะได้รู้รสไม้เรียว ฉันเพิ่งรู้รสความหิว.
เร่งเร้า : ก. รบเร้าให้รีบทำ, รบเร้าให้ทำโดยเร็ว, เช่น เขายังไม่พร้อมที่จะ แต่งงาน ก็อย่าเพิ่งไปเร่งเร้าเขาเลย เกษตรกรเร่งเร้าให้ทางการช่วยเหลือ ก่อนที่พืชผลจะเสียหาย.
เร็ว ๆ นี้ : ว. ไม่นาน (ใช้แก่อดีต) เช่น เขามาถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ เขาเพิ่งบรรลุ นิติภาวะเร็ว ๆ นี้, ไม่ช้า (ใช้แก่อนาคต) เช่น เขาจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ เขาจะ แต่งงานเร็ว ๆ นี้.
แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
โรย : ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอน หรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อน กำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรย อาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.
ลับกาย, ลับตัว : ว. เพิ่งออกไปหยก ๆ เช่น เขาเพิ่งเดินลับกายไป เขาลับตัวไปเมื่อกี้นี้เอง.
วัยขบเผาะ : ว. วัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว.
แวบ, แว็บ : ว. ปรากฏให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่งก็หายไป เช่น แสงไฟจาก รถดับเพลิงแวบเข้าตามาเดี๋ยวเดียวแว็บไปแล้ว. ว. อาการที่ปรากฏ ให้เห็นชั่วประเดี๋ยวหนึ่ง เช่น ไปแวบเดียวกลับมาแล้ว เพิ่งมาได้แว็บ เดียวจะกลับแล้วหรือ.
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
สอนขัน : ว. เรียกไก่อ่อนที่เพิ่งหัดขันว่า ไก่อ่อนสอนขัน หรือ ไก่สอนขัน, โดยปริยายหมายถึงมีประสบการณ์น้อยยังรู้ไม่ทัน เล่ห์เหลี่ยมของคน.
สะเทิน ๑ : ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว หรือ อยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน.
หน้าใหม่ : ว. ที่เพิ่งเคยเห็นหรือรู้จักกัน เช่น นักร้องหน้าใหม่.
หมาด ๆ : (ปาก) ว. ที่เพิ่งได้หรือเสร็จเป็นต้นมาใหม่ ๆ เช่น เขาเพิ่งได้เลื่อนตำแหน่ง มาหมาด ๆ.
หยก ๆ : ว. เพิ่งทํามาเร็ว ๆ นี้, สด ๆ ร้อน ๆ, เช่น บอกอยู่หยก ๆ ไม่น่าลืมเลย มาถึงหยก ๆ โดนใช้งานเสียแล้ว.
ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
อโณทัย : [อะโนไท] น. พระอาทิตย์เพิ่งขึ้น. (กร่อนมาจาก อรุโณทัย). (ป. อรุโณทย).
อรุโณทัย : น. เวลาตั้งขึ้นแห่งอรุณ, เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลา เช้าตรู่, ใช้ว่า อโณทัย ก็มี. (ป.).
อุย ๑ : น. ลักษณะของขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น เรียกว่า ขนอุย.
พน, พน : [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.