เพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย เช่น หน้าเพี้ยน, คลาดเคลื่อน เช่น พูดเพี้ยน เสียงเพี้ยน, ผิดเพี้ยน ก็ว่า, โบราณใช้ เพียน ก็มี; (ปาก) ไม่ค่อยปรกติ (มักใช้แก่คน) เช่น เขามีท่าทางเพี้ยน ๆ.
เพี้ยนผัด : ก. ขอเลื่อนเวลาให้ผิดไป, ผัดเพี้ยน ก็ว่า.
ผิดเพี้ยน : ว. ผิดแปลกไปเล็กน้อย, คลาดเคลื่อน, เพี้ยน ก็ว่า. ผิดมนุษย์มนา ว. ไม่เหมือนมนุษย์ธรรมดาสามัญ เช่น รูปร่าง ใหญ่โตผิดมนุษย์มนา มีพละกำลังผิดมนุษย์มนา.
ผัดเพี้ยน : ก. ขอเลื่อนเวลาอยู่เรื่อย ๆ, เพี้ยนผัด ก็ว่า.
เพียน : (โบ) ว. เพี้ยน.
กุลี ๒ : เพี้ยนมาจาก กลี เช่น เกิดการกุลี. (กฎ. ราชบุรี).
กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
กระดวง : (ปาก; เพี้ยนมาจาก กราดวง) น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก.
กระดวน : (ปาก; เพี้ยนมาจาก ประดวน) ก. ยอน, แยง.
กระบถ : [-บด] (โบ; เพี้ยนมาจาก กบฏ) น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ, ขบถ.
กระวี ๒ : (โบ) ก. แกว่ง. (เพี้ยนมาจาก คระวี).
กะเบือ : น. เรียกครกดินหรือสากที่ตําข้าวเบือว่า ครกกะเบือ สากกะเบือ. (เพี้ยนมาจาก ข้าวเบือ).
กำนัด : [กำหฺนัด] (โบ) ก. กําหนัด เช่น พิศเพี้ยนพระพนิดาทุกขานลกํานัด ดัดรัตนธารี มาดู. (สมุทรโฆษ).
เกด ๓ : น. ลูกองุ่นแห้งชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกเกด. (อ. raisin คงเพี้ยนมาจาก grape = องุ่น).
คาหนังคาเขา : (สํา) ว. จับได้ในขณะที่กําลังกระทําผิดหรือพร้อมกับ ของกลาง, ใช้เพี้ยนว่า คาหลังคาเขา ก็มี.
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
เจ้าประคุณ : น. (โบ) คำเรียกผู้ที่นับถือ และท่านที่เป็นเจ้าบุญนายคุณ. ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้ เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (เพี้ยนมา จาก เจ้าพระคุณ).
ชัด : ว. ประจักษ์แจ้ง, แจ่มแจ้ง, เช่น เห็นชัด ปรากฏชัด; ไม่ผิดเพี้ยน, ไม่แปร่ง, เช่น พูดชัด.
โดยปริยาย : ว. โดยอ้อม, โดยผิดเพี้ยนไปจากความหมายเดิม, เช่น โดดร่ม ความหมายตรงว่า โดดจากเครื่องบินโดยมีร่มชูชีพเป็นเครื่องพยุง ความหมายโดยปริยายว่า หนีงาน, หนีโรงเรียน.
ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน : (สํา) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ ทําไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.
ตรีเนตร : น. ชื่อหนึ่งของพระอิศวร แปลว่า ผู้มีนัยน์ตา ๓ ตา โบราณมักเรียกว่า พระอินสวน และเขียนเป็น พระอินศวร ต่อมาจึงใช้เพี้ยนไป หมายถึง พระอินทร์. (ส. ตฺริเนตฺร).
เถอะ : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงตกลง วิงวอน หรือ ชักจูง เช่น เอาเถอะ มาเถอะ กินเถอะ, เถิด ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะ ก็มี.
เถอะน่า : ว. คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิงชักชวนหรือ วิงวอนเป็นต้น เช่น ไปเถอะน่า, เถิดน่า ก็ว่า, พูดเพี้ยนเป็น เหอะน่า ก็มี.
นมบกอกพร่อง : (กฎ; โบ) น. ลักษณะของหญิงที่ชายทําให้เสียความ บริสุทธิ์แล้วทอดทิ้งไป เช่น แลมันทําชู้แล้วมันทอดหญิงนั้นเสีย ท่าน ว่ามันทําให้ลูกหลานท่านนมบกอกพร่อง ให้ไหมชายผู้เลมิดพ่อแม่ ผู้เถ้าผู้แก่นั้นโดยขนาฎ. (สามดวง), มักใช้เพี้ยนไปเป็น นมตกอกพร่อง.
เนรนาด : [เนระ] (กลอน) ก. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด, เช่น เสมือนหนึ่ง ราชกัญญาคณานางสนมล้มเนรนาดด้วยอาลัย. (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). (อาจเพี้ยนมาจาก ระเนระนาด).
เบญจา : น. แท่นมีเพดานดาดและระบายผ้าขาว, แท่นซ้อน ๕ ชั้นลดหลั่น กัน มักใช้ประดิษฐานบุษบกหรือพระโกศ. (เพี้ยนมาจาก มัญจา คือ เตียง).
แปร่ง : [แปฺร่ง] ว. มีเสียงพูดผิดเพี้ยนไปจากเสียงที่พูดกันเป็นปรกติในถิ่น นั้น ๆ, ไม่สนิท.
แปร่งหู : ว. ผิดเพี้ยนไปจากที่เคยตกลงกันไว้, มีเสียงพูดที่ผิดเพี้ยนไป จากปรกติ เนื่องจากมีอารมณ์ไม่พอใจแฝงอยู่.
แปลก, แปลก ๆ : [แปฺลก] ว. แตกต่างไปจากที่เคยคิด เคยรู้ เคยเห็น เป็นต้น เช่น แปลกตา แปลกใจ; ต่าง, เพี้ยนไป, ผิดปรกติ เช่น เป็นคนแปลก.
แผลง : [แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลง พยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คําแผลง.
ไผ่ผัง : ก. ไปเร็ว, วิ่งเร็ว. (เพี้ยนมาจาก ผายผัง).
แพว : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Polygonum odoratum Lour. ในวงศ์ Polygonaceae ต้นและใบมีกลิ่นหอม ใบอ่อนและกิ่งกินได้ ใช้ทํายา ได้ เรียกว่า ผักแพว, เรียกเพี้ยนเป็น พักแพว พัดแพว หรือ เพ็งแพว ก็มี, พายัพเรียก ผักไผ่. (๒) ดู หญ้างวงช้าง.
มังกุ ๑ : น. เรือที่มีกระดูกงูใหญ่ รูปเหมือนเรือโขมดยา หัวเป็น ๓ เส้า เช่น เอาหัวเป็นมังกุ เอาท้ายเป็นมังกร, แต่มักใช้เพี้ยนไปเป็น มงกุฎ.
มังค่า : ว. คําประกอบคํา ฝรั่ง ว่า ฝรั่งมังค่า เพี้ยนมาจาก พังคะ ซึ่งเป็นชื่อ แคว้นเบงกอล.
มินหม้อ : น. เขม่าดําที่ติดก้นหม้อ, มักพูดเพี้ยนเป็น ดินหม้อ ก็มี.
มุหงิด : [-หฺงิด] น. ชื่อชนชาติชวามลายูในเกาะเซลีเบส, เรียกเพี้ยนเสียงเป็น ยุหงิด ก็มี.
ยมนา : [ยมมะนา] น. แม่นํ้าใหญ่, ชื่อแม่นํ้าสายหนึ่งในอินเดีย คือ แม่นํ้ายมุนา ซึ่งเรียกเพี้ยนเป็น ชุมนา ก็มี. (ป., ส. ยมุนา).
ยวน ๑ : น. ชื่อชนชาติกรีก, ชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; เรียก ชาวไทย ทางล้านนาว่า ไทยยวน, เพี้ยนเป็น เยาวนะ โยน หรือ โยนก ก็มี. (ส.).
ยัชโญปวีต : [ยัดโยปะวีด] น. สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ และแพศย์ สวมจากซ้ายไปขวา, สายมงคล สายธุรํา หรือ สายธุหรํ่าของพราหมณ์ ก็เรียก, เพี้ยนเป็น ยัชโญปิวีต ก็มี. (ส.).
เยาวนะ : [วะ] น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อ เรียกชาวไทยทางล้านนา, ยวน โยน หรือ โยนก ก็เรียก.
โยน ๓, โยนก : น. ชื่อชนชาติกรีก ซึ่งชาวอินเดียเรียกเพี้ยนมาจากคํา Ionia; ชื่อเรียกชาว ไทยทางล้านนา, ยวน หรือ เยาวนะ ก็เรียก. (ป.).
รั่ว ๒ : ว. อาการที่ไล่ไม้ตีระไปบนลูกระนาดโดยไม่ลงคู่ ทำให้เสียงเพี้ยนหรือ ไม่ชัดเจน เช่น เขาตีระนาดรั่ว ฟังไม่เป็นเพลง.
รัษฎากร : [รัดสะ] น. รายได้ของแผ่นดิน; (กฎ) ภาษีอากรประเภทต่าง ๆ ที่เรียก เก็บตามประมวลรัษฎากร. (เพี้ยนมาจาก ส. ราษฺฏฺร + อากร หมายความ ว่า อากรของประเทศ).
ลินลา, ลิ้นลา : ก. ไปอย่างนวยนาด. (เพี้ยนมาจาก ป., ส. ลีลา).
วัสสานฤดู : [วัดสานะรึดู] น. ฤดูฝน, ในกลุ่มประเทศเขตร้อน อันมีประเทศไทยรวมอยู่ด้วย แบ่งฤดูกาลออกเป็น ๓ ฤดู คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ช่วงระยะเวลาของแต่ละฤดูในแต่ละ ท้องถิ่นหรือประเทศอาจแตกต่างกันไปบ้างและไม่ค่อยตรงกัน เฉพาะในภาคกลางของประเทศไทย ฤดูฝนเริ่มต้นประมาณตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม หรือทางจันทรคติเริ่มต้น, วันแรมค่ำหนึ่ง เดือน๘ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ บางทีก็เขียนเพี้ยน ไปเป็น วสันต์. (ป. วสฺสาน + ส. ฤตุ = ฤดูฝน).
วินาศสันติ : [วินาด] ก. จงพินาศ, จงฉิบหาย, เป็นคำแช่งที่ออก เสียงเพี้ยนมาจากคำลงท้ายในคาถาอาคมที่เป็นภาษาบาลีว่า วินสฺสนฺตุ.
สงคร : [คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).
หูฝาด, หูเฝื่อน : ก. ได้ยินเสียงเพี้ยนไป.
เหน่อ : [เหฺน่อ] ว. มีเสียงพูดที่เพี้ยนไปจากสําเนียงมาตรฐาน.
เหรอ, เหรอะ : (ปาก) คำที่มีเสียงเพี้ยนมาจากคำว่า หรือ.