เพื่อน ๑ : น. ผู้ชอบพอรักใคร่กัน, ผู้สนิทสนมคุ้นเคยกัน, เช่น เขามีเพื่อนมาก, ผู้ร่วมสถาบันหรือร่วมอาชีพเป็นต้น เช่น เพื่อนร่วมโรงเรียน เพื่อน ร่วมรุ่น เพื่อนข้าราชการ เพื่อนกรรมกร, ผู้ร่วมธุระ เช่น อยู่เป็น เพื่อนกันก่อน ไปเป็นเพื่อนกันหน่อย, ผู้อยู่ในสภาพเดียวกัน เช่น เพื่อนมนุษย์ เพื่อนร่วมโลก.
ร่วม : ก. มีส่วนรวมอยู่ด้วยกัน เช่น ร่วมกิน ร่วมนอน, มีส่วนรวมเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน เช่น ร่วมใจ ร่วมสามัคคี, มีส่วนรวมในที่แห่งเดียวกัน เช่น ร่วมโรงเรียน ร่วมบ้านร่วมห้อง ร่วมหอ, มีส่วนรวมในภาวะหรือสถานะ เดียวกัน เช่น เพื่อนร่วมชาติมีศัตรูร่วมกัน ทำบุญร่วมญาติ ร่วมเป็นร่วมตาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ร่วมชะตากรรม. ว. ล่วงไปมากจวนถึงที่หมาย, เกือบ, เกือบถึง, เช่น ร่วมถึง ร่วมเสร็จ ทํามาร่วมเดือนแล้ว ซากสัตว์นี้มีอายุร่วม ๑,๐๐๐ ปี.
โรงเรียน : น. สถานศึกษา.
สหจร : น. ผู้ร่วมทาง, เพื่อน, สหาย. (ส.).
เพื่อน ๆ : น. เพื่อนทั่ว ๆ ไป เช่น พวกเพื่อน ๆ.
เพื่อน ๒ : (ปาก) ส. คําใช้แทนคําว่า เขา หรือ ท่าน ในอาการที่เป็นกันเอง.
เพื่อนเกลอ : น. เพื่อนสนิท, เพื่อนร่วมน้ำสาบาน.
เพื่อนคู่ทุกข์คู่ยาก : น. ผู้ที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่ทอดทิ้งกันทั้งในยาม สุขยามทุกข์, ผู้ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาเป็นเวลานานปี, (มักใช้แก่ คู่ผัวตัวเมีย), เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์ ก็ว่า.
เพื่อนตาย : น. เพื่อนร่วมสุขร่วมทุกข์หรือยอมตายแทนกันได้.
เพื่อนยาก : น. เพื่อนในยามทุกข์ยาก, เพื่อนร่วมทุกข์ยาก.
ไหน ๆ : ว. สำนวนแสดงถึงความปลงใจในสิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้วหรือเป็นการ ตัดพ้อต่อว่าเป็นต้น เช่น มัวแต่งุ่มง่ามอยู่นั่นแหละ เพื่อน ๆ เขาก้าวหน้าไป ไหน ๆ แล้ว ไหน ๆ ก็ร่วมหอลงโรงกันแล้ว.
เพื่อนคู่หู : น. เพื่อนที่ถูกคอถูกใจกัน.
เพื่อนเจ้าบ่าว : น. ชายผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าบ่าวในพิธีแต่งงาน.
เพื่อนเจ้าสาว : น. หญิงผู้ทำหน้าที่เป็นเพื่อนของเจ้าสาวในพิธีแต่งงาน.
เพื่อนต่างเพศ : น. เพื่อนที่ไม่ใช่เพศเดียวกัน.
เพื่อนฝูง : น. เพื่อนที่รู้จักมักคุ้นกัน.
เพื่อนเล่น : น. เพื่อนที่เล่นหัวกันมาตอนเป็นเด็ก.
ร่วมรัก : (ปาก) ก. เสพสังวาส, ร่วมรส หรือ ร่วมรสรัก ก็ว่า.
ร่วมวงศ์ไพบูลย์ : ก. ร่วมเป็นพวกเดียวกัน เช่น ร่วมวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชีย บูรพา; (ปาก) ร่วมทำด้วย.
ร่วมสมัย : ว. สมัยปัจจุบัน เช่น ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ศิลปะร่วมสมัย; รุ่นราวคราวเดียวกัน, สมัยเดียวกัน, เช่น ลุงกับพ่อเป็นคนร่วมสมัยกัน.
ร่วมสังฆกรรม : ก. อาการที่พระสงฆ์ทำสังฆกรรมร่วมกัน, (ปาก) ทำงาน ร่วมกัน เช่น ฉันเข้าร่วมสังฆกรรมกับเขา.
ร่วมหัวงาน : ก. เกือบเสร็จงานแล้ว เช่น การซ่อมท่อน้ำประปาร่วม หัวงานแล้ว.
โรงเรียนกินนอน, โรงเรียนประจำ : น. โรงเรียนที่นักเรียนต้องกินอยู่ หลับนอนอยู่ที่โรงเรียนเป็นประจํา, เรียกนักเรียนเช่นนั้นว่า นักเรียน กินนอน หรือ นักเรียนประจํา.
เพื่อนบ้าน : น. ผู้มีบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกัน.
ร่วมชายคา : ก. อยู่บ้านเดียวกัน.
ร่วมชีวิต : ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย.
ร่วมท้อง, ร่วมอุทร : ว. มีแม่เดียวกัน.
ร่วมประเวณี : ก. เสพสังวาส, เป็นผัวเมียกัน.
ร่วมเพศ : ก. เสพสังวาส.
ร่วมมือ : ก. พร้อมใจช่วยกัน.
ร่วมเรียงเคียงหมอน, ร่วมหอลงโรง : (สํา) ก. อยู่กินกันฉันผัวเมีย, แต่งงานกัน.
เกลือเป็นหนอน : (สํา) น. ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ, ไส้เป็นหนอน ก็ว่า.
ชู้ : น. (วรรณ) คู่รัก, บุคคลที่เป็นที่รัก, เช่น มาย่อมหลายชู้เหล้น เพื่อนตน. (กำสรวล); ผู้ล่วงประเวณี; การล่วงประเวณี; ชาย ที่ร่วมประเวณีด้วยเมียเขา เรียกว่า เป็นชู้, หญิงที่ยังมีสามี อยู่แล้วร่วมประเวณีกับชายอื่น เรียกว่า มีชู้,เรียกชายหรือ หญิงที่ใฝ่ในทางชู้สาวว่า เจ้าชู้.
ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
ลงแขก : ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตาม ความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
เลี้ยง : ก. ดูแล, เอาใจใส่, บํารุง, เช่น เลี้ยงกล้วยไม้, ปรนปรือด้วยอาหาร การกินเป็นต้น เช่น เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูก, เลี้ยงดู ก็ว่า, ประคับประคอง ให้ทรงตัวอยู่ได้ เช่น เลี้ยงชีพ เลี้ยงตะกร้อไว้ได้นาน ๆ, กินร่วมกัน เพื่อความรื่นเริงหรือความสามัคคีเป็นต้น เช่น เลี้ยงเพื่อน เลี้ยงรุ่น เลี้ยงสังสรรค์(ปาก) เป็นเจ้ามือจ่ายค่าอาหารหรือค่าบันเทิงเป็นต้น เช่น เลี้ยงโต๊ะจีน เลี้ยงหนัง.
ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
สหธรรม : น. ธรรมอันเดียวกัน, กฎหรือความเชื่อถืออย่างเดียวกัน. สหธรรมิก [สะหะทํามิก] น. ผู้มีการประพฤติธรรมร่วมกัน เช่น พระสงฆ์ทั้งปวงเป็นเพื่อนสหธรรมิกกัน อุบาสกอุบาสิกาเป็น สหธรรมิกกัน. (ป. สหธมฺมิก).
สหาย : น. เพื่อนร่วมทุกข์ร่วมสุข. (ป., ส.).
สัมภัต, สัมภัตตะ : น. ผู้ร่วมคบหากัน, เพื่อนร่วมกินร่วมนอน. (ป. สมฺภตฺต; ส. สมฺภกฺต).
เอ้ : ว. สําคัญ, หัวโจก, (มักใช้ในทางตำหนิ) เช่น เขาเป็นตัวเอ้ใน การชวนเพื่อนหนีโรงเรียน.
กลอย ๒ : [กฺลอย] ก. คล้อย, ร่วม, เช่น กลอยใจ กลอยสวาท.
กว่าเพื่อน : ว. คําใช้เปรียบเทียบ หมายถึง ที่สุดในหมู่ เช่น ดีกว่าเพื่อน เลวกว่าเพื่อน.
คู่ความร่วม : (กฎ) น. บุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นคู่ความในคดีเดียวกัน คือเป็นโจทก์ร่วมหรือจําเลยร่วม โดยบุคคลเหล่านั้นมีผลประโยชน์ร่วมกัน ในมูลความแห่งคดี.
จวบ : น. พบ, ประสบ, ร่วม, ถึง.
เด็ดดอกไม้ร่วมต้น : (สํา) ก. เคยทําบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติก่อน จึงมาอยู่ ร่วมกันในชาตินี้, เก็บดอกไม้ร่วมต้น ก็ว่า.
ฝากโรงเรียน : ก. นําเด็กไปสมัครเข้าเป็นนักเรียนในโรงเรียน.
รถร่วม : น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับ สัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.
เล่นเพื่อน : ก. คบเพื่อนหญิงด้วยกันต่างชู้รัก.
วยัสย์ : น. ผู้รุ่นราวคราวเดียวกัน, เพื่อน, เกลอ, สหาย. (ส.).