Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพ่ง , then พง, เพ่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพ่ง, 55 found, display 1-50
  1. เพ่ง : ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ; มุ่งเฉพาะ อารมณ์ภายใน (ทางใจ) เช่น เพ่งกสิณ; เจาะจง.
  2. เพ่งพิศ : ก. ดูด้วยความพินิจพิเคราะห์.
  3. เพ่งเล็ง : ก. มุ่งจะเอา, มุ่งจะติโทษ, มุ่งถึง.
  4. แพ่ง : น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง คดีแพ่ง.
  5. ผาดเพ่ง : ก. ดูห่าง ๆ, ดูเผิน ๆ.
  6. เขม้น : [ขะเม่น] ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าว บางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่ จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้. (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ. (ปรัดเล)
  7. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  8. กระอั้วแทงควาย : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่งในการสมโภชของหลวง, บางทีเรียก กระอั้ว ว่า นางอั้ว เช่น นางอั้วเพ่งผัวเอน ควายเสี่ยว.
  9. จ้อง ๒ : ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอย จนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทําร้าย จ้องจะแทง, กิริยา ที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
  10. เฉพาะ : [ฉะเพาะ] ว. โดยเจาะจง, เพ่งตรง, ตรงตัว; เผอิญ; แต่; จํากัด, เท่านี้, เท่านั้น. (ข. เฉฺพาะ).
  11. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  12. นั่งเทียน : น. เรียกวิธีทํานายอย่างหนึ่งโดยจุดเทียนติดไว้ที่ขอบปากบาตร เป็นต้นแล้วนั่งเพ่งดูนํ้าในบาตร แล้วทํานายไปตามลักษณะของรูปที่ ปรากฏในนํ้านั้น.
  13. ปริกรรมนิมิต : [ปะริกำมะนิมิด] น. ''อารมณ์ในบริกรรม'' คือ สิ่ง ที่ใช้เพ่งหรือนึกเป็นอารมณ์ในเวลาบริกรรม. (ป. ปริกมฺมนิมิตฺต; ส. ปริกรฺม + นิมิตฺต).
  14. ปะทุ : ก. แตกหรือผุดออกมาด้วยแรงเบ่งดัน เช่น ภูเขาไฟปะทุ ถ่านปะทุ; โดยปริยายหมายถึงกิริยาที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เพ่งจนตาจะปะทุ.
  15. -เปกข์ : น. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).
  16. เป้า ๑ : น. สิ่งที่กําหนดไว้เป็นจุดหมาย เช่น นักยิงปืนยิงถูกตรงเป้าทุกนัด เอาต้นไม้เป็นเป้า; โดยปริยายหมายความว่า เป็นที่เพ่งเล็ง เช่น เป็นเป้าสายตา.
  17. เป้าสายตา : น. บุคคลหรือสิ่งที่เป็นที่เพ่งเล็งหรือสนใจของผู้อื่น เช่น คนงามย่อมเป็นเป้าสายตาของใคร ๆ.
  18. พง ๑ : น. ดงหญ้าหรือดงไม้ที่เป็นหมู่ ๆ หรือที่รก ๆ เช่น ป่าดงพงพี รกเป็นพง.
  19. พินิจ : ก. พิจารณา, ตรวจตรา, เช่น เพ่งพินิจ.
  20. พินิศ : ก. ดู, แลดู, เพ่งดู.
  21. พิศ ๑ : [พิด] ก. เพ่งดู, แลดูโดยถี่ถ้วน.
  22. พุทธาภิเษก : น. ชื่อพิธีในการปลุกเสกพระพุทธรูปหรือวัตถุมงคล โดยมีพระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่องค์ พระหรือวัตถุมงคลนั้น ๆ.
  23. ยกเมฆ : ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนาย ว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือ ว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่ว ด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติด อัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขา ขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัว หรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควร ยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อ คอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); (สำ) เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น.
  24. เล็ง : ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ; (โหร) อาการที่ดาว พระเคราะห์ดวงหนึ่งอยู่ในเรือนตรงกันข้ามกับดาวพระเคราะห์ อีกดวงหนึ่งซึ่งอยู่ในเรือนที่ ๗ นับจากเรือนที่ตนอยู่.
  25. สมถ, สมถะ : [สะมะถะ] น. การทำใจให้สงบโดยเพ่งสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอารมณ์. ว. มักน้อย เช่น คนสมถะมีความเป็นอยู่เรียบง่าย. (ป.; ส. ศมถ).
  26. สมาบัติ : [สะมาบัด] น. ภาวะที่จิตสงบประณีต, คุณวิเศษที่เกิดจากการที่จิต เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่, การบรรลุคุณวิเศษชั้นสูงด้วยอำนาจของการ เข้าสมาธิ, มีหลายอย่าง เช่น ฌานสมาบัติ ผลสมาบัติ, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ ฌาน เป็น ฌานสมาบัติ มี ๘ ได้แก่ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. (ป., ส. สมาปตฺติ).
  27. ส่อง : ก. ฉายแสง เช่น แดดส่อง ไฟส่อง ส่องไฟ แสงจันทร์ส่อง ตะวันส่อง หน้า, ฉายแสงดู เช่น ส่องสัตว์ในป่า ส่องทาง ส่องกบ, เพ่งมอง เช่น ส่องกล้อง, เล็ง เช่น ส่องปืน(ปาก) ยิง เช่น ถูกส่องด้วยปืนลูกซอง.
  28. อาโลกกสิณ : [โลกะกะสิน] น. การเจริญสมถกรรมฐานโดยตั้งใจ เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์. (ป.).
  29. อุคหนิมิต : น. ''อารมณ์ที่เจนใจ'' คือ เป็นวิธีแห่งผู้เพ่งกสิณชํานาญ จนรูปที่ตนเพ่งอยู่นั้นติดตาถึงแม้หลับตาเสีย รูปนั้นก็ปรากฏเป็น เครื่องหมายอยู่ รูปที่ปรากฏนี้ เรียกว่า อุคหนิมิต. (ป. อุคฺคหนิมิตฺต; ส. อุทฺคฺรห + นิมิตฺต).
  30. อุปสัมปทาเปกข์, อุปสัมปทาเปกษ์ : [อุปะสำปะทาเปก, อุบปะสำปะทาเปก] น. ''ผู้เพ่งอุปสมบท'' คือ นาคที่บรรพชาเป็นสามเณรแล้วและจะ ขอบวชเป็นภิกษุต่อไป. (ป. อุปสมฺปทาเปกฺข; ส. อุปสมฺปทาเปกฺษ).
  31. พง ๒ : ดู แขม๑และ เลา ๑.
  32. พน, พน : [พน, พะนะ] น. ป่า, พง, ดง. (ป., ส. วน).
  33. พนัส, พนัส : [พะนัด, พะนัดสะ] น. ป่า, พง, ดง. (มาจาก พน แต่เพิ่มตัว ส เพื่อ ความสะดวกในการสนธิ). (ส. วนสฺ; ป. วน).
  34. พนา : น. ป่า, พง, ดง, (มาจาก พน เติมสระอา เช่น พนาดร = ป่าสูง พนาสณฑ์, พนาสัณฑ์ = แนวป่า, ราวป่า).
  35. พึ่ง ๒ : ว. คําช่วยกริยาหมายถึงเวลาที่ล่วงไปหยก ๆ ในขณะที่พูดนั้น เช่น เขาพึ่งไป, เพิ่งก็ว่า; ใช้ประกอบหลังคำ อย่า เป็น อย่าพึ่ง หมายความ ว่า ห้ามไม่ให้กระทำในขณะนั้น เช่น อย่าพึ่งไป อย่าพึ่งกิน, เพิ่ง เพิก หรือ เพ่อ ก็ว่า.
  36. เพิ่ง : ว. พึ่ง. (ดู พึ่ง๒).
  37. หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.
  38. เข้ารกเข้าพง : (สํา) ก. พูดหรือทําไม่ถูกต้องกับเรื่อง เพราะขาดความ ชํานาญในเรื่องนั้น.
  39. พึ่ง ๑ : ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความ ช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
  40. พุ่ง : ก. ซัดไป เช่น พุ่งหอก พุ่งกระสวย, อาการที่ปล่อยออกไปโดยเร็ว เช่น พุ่งตัว พุ่งหมัด, มุ่งตรงไป เช่น พุ่งความสนใจ, อาการที่น้ำ หรือไฟพวยพุ่งออกไป เช่น น้ำพุ่ง แสงไฟฉายพุ่งเป็นลำออกไป; (ปาก) สุ่ม ๆ เช่น พูดพุ่งไป.
  41. แขม ๑ : [แขมฺ] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum arundinaceum Retz. ในวงศ์ Gramineae มักขึ้นตามชายนํ้า ชายป่า และชายเขาที่ชุ่มชื้น, พง ก็เรียก.
  42. พงศ, พงศ์ : [พงสะ, พง] น. เชื้อสาย, เทือกเถา, เหล่ากอ, สกุล. (ส.; ป. วํส).
  43. เลา ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Saccharum spontaneum L. ในวงศ์ Gramineae ดอกสีขาวเงิน เป็นมัน, พง หรือ อ้อยเลา ก็เรียก; เรียกผมที่หงอกขาว และมีสีดำแซมอยู่บ้างว่า ผมสีดอกเลา.
  44. อฏวี : [อะตะ] น. ดง, ป่า, พง. (ป., ส.).
  45. กรมการในทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งข้าราชการที่มีเงินเดือน ซึ่งจัดเป็น ๒ พวก กรมการชั้นผู้ใหญ่ ประกอบด้วย ปลัด ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการ กับกรมการชั้นผู้น้อย ประกอบด้วย จ่าเมือง สัสดี แพ่ง ศุภมาตรา และสารเลข.
  46. กำพง : น. ท่าน้า, ตําบล, เช่น มีทงงสมรรถพนจร รม่งงมรกําพงไพร. (ม. คําหลวง มหาพน). (ข. กํพง ว่า ท่าน้า; มลายู กัมพง ว่า ตําบล).
  47. เขนงนายพราน : [ขะเหฺนง-] น. ชื่อไม้เถาล้มลุกชนิด Nepenthes mirabilis (Lour.) Druce ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบขึ้นตามพงหญ้าบนดินทรายที่ชุ่มแฉะ ปลาย ใบเปลี่ยนเป็นรูปคล้ายกระบอก มีฝาปิด ใช้ดักจับแมลง, กระดึงพระราม แล่งพระราม เหนงนายพราน หรือ ลึงค์นายพราน ก็เรียก.
  48. ดัดดั้น : ก. ตัดทางไป, ลัดทางไป, เช่น ก็รีบลัดดัดดั้นตามไป. (อิเหนา), ดั้นดัด ก็ใช้ เช่น ดั้นดัดลัดพงดงดาน. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  49. พวย ๒ : ก. สูง, พุ่ง, ไปโดยเร็ว.
  50. เพ่อ : ว. ใช้ประกอบหลังคํา อย่า เป็น อย่าเพ่อ หมายความว่า ห้ามไม่ให้ กระทําในขณะนั้น เช่น อย่าเพ่อกิน, พึ่ง เพิก หรือ เพิ่ง ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-55

(0.0679 sec)