Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เพ้อเจ้อ, เพ้อ, เจ้อ , then จอ, เจ้อ, พอ, เพ้อ, เพ้อเจ้อ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เพ้อเจ้อ, 369 found, display 1-50
  1. เพ้อเจ้อ : ว. พล่าม, อาการที่พูดมากในเรื่องที่เหลวไหลไร้สาระ, อาการที่พูดพล่ามจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดไม่รู้จักจบ.
  2. เพ้อ : ก. พูดโดยไม่มีสติ, พูดโดยไม่รู้ตัว, เช่น คนไข้เพ้อ.
  3. เหลิงเจิ้ง : [เหฺลิง-] (ปาก) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ.
  4. พล่าม : [พฺล่าม] ว. เพ้อเจ้อ, เหลิงเจิ้ง, อาการที่พูดมากจนเสียประโยชน์, อาการที่พูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ไม่รู้จักจบจนน่ารำคาญ.
  5. เพ้อฝัน : ก. คิดฝันอย่างลม ๆ แล้ง ๆ.
  6. บ้าน้ำลาย : ว. ชอบพูดพล่าม, ชอบพูดเพ้อเจ้อ.
  7. วจีทุจริต : [วะจีทุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่างได้แก่ การพูดเท็จ ๑การพูดคำหยาบ ๑ การพูดส่อเสียด ๑ การพูดเพ้อเจ้อ ๑.
  8. วจีสุจริต : [วะจีสุดจะหฺริด] น. ความประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง ได้แก่ การไม่พูดเท็จ ๑ การไม่พูดคำหยาบ ๑ การไม่พูด ส่อเสียด ๑ การไม่พูดเพ้อเจ้อ ๑.
  9. สัมผัปลาป, สัมผัปลาปะ : [สําผับปะลาบ, ปะลาปะ] น. คําพูดเพ้อเจ้อ. (ป. สมฺผปฺปลาป; ส. สมฺปฺรลาป).
  10. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  11. ประเพ้อ : (กลอน) ก. เพ้อ.
  12. ไข้สันนิบาต : (โบ) น. ไข้ที่มีอาการสั่นเทิ้มชักกระตุกและเพ้อ เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง.
  13. จอ ๒ : น. ผ้าขาวที่ขึงไว้สําหรับเชิดหนังหรือฉายภาพยนตร์เป็นต้น; โดยปริยาย เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จอโทรทัศน์.
  14. ปริเทวนะ, ปริเทวะ : [ปะริเทวะ-] น. ความครํ่าครวญ, ความรําพันด้วยเสียใจ, ความบ่นเพ้อ. (ป.).
  15. พอกัน, พอ ๆ กัน : ว. เสมอกัน, ทัดเทียมกัน, เทียบเท่ากัน, เช่น เก่ง พอกัน ฝีมือพอกันร้ายพอ ๆ กัน.
  16. พิลาป : ก. รํ่าไรรําพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ. (ป., ส. วิลาป).
  17. ลปก : [ละปก] น. คนพูดบ่นเพ้อต่าง ๆ; คนพูดด้วยความอยากได้. (ป.).
  18. ละเมอ : ก. พูด ทํา หรือแสดงในเวลาหลับ, (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า หลงเพ้อ เช่น เขากลับไปนานแล้วยังละเมอว่าเขายังอยู่, มะเมอ ก็ว่า.
  19. วิประลาป, วิปลาป : [วิปฺระลาบ, วิบปะ] น. การพูดเพ้อ, การพูดพรํ่า; การทุ่มเถียง, การโต้ตอบ; การอ้อนวอน, การพรํ่าบ่น. (ป. วิปฺปลาป; ส. วิปฺรลาป).
  20. สมบัติบ้า : น. ทรัพย์สินหรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่เพ้อฝันว่าจะได้ เช่น คิดสมบัติบ้า; ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง.
  21. สันนิบาต ๒ : น. เรียกไข้ชนิดหนึ่งมีอาการสั่นเทิ้ม ชักกระตุก และเพ้อ ว่า ไข้สันนิบาต เช่น ไข้สันนิบาตลูกนก ไข้สันนิบาตหน้าเพลิง. (ป., ส.).
  22. หลงละเมอ : ก. สำคัญผิด, หลงเพ้อ, เช่น เขาแต่งงานไปนานแล้ว ยังหลง ละเมอว่าเขาเป็นโสดอยู่.
  23. จอ ๑ : น. ชื่อปีที่ ๑๑ ของรอบปีนักษัตร มีหมาเป็นเครื่องหมาย.
  24. พอก้าวขาก็ลาโรง : (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอยกขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  25. พอดิบพอดี : ว. กำลังดี, พอเหมาะพอเจาะ, เช่น มีเงินไปเท่ากับราคา ของพอดิบพอดี กางเกงตัวนี้ใส่ได้พอดิบพอดี, พอดี ก็ว่า.
  26. พอทำเนา : ว. พอสมควร, พอสถานประมาณ, เช่น เจ็บไข้ก็พอทำเนา ยังแถมถูกออกจากงานเสียอีก.
  27. พอทำพอกิน : ว. พอกินไปวันหนึ่ง ๆ.
  28. พอประมาณ : ว. เพียงปานกลาง เช่น มีฐานะดีพอประมาณ.
  29. พอไปได้ : ว. พอจะใช้ได้บ้าง เช่น ความรู้ของเขาพอไปได้.
  30. พอไปวัดไปวาได้ : ว. มีหน้าตาสวยพออวดได้ (ใช้แก่ผู้หญิง).
  31. พอเพียง : ก. ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอเพียงแล้ว.
  32. พอมีพอกิน : ว. มีฐานะปานกลาง เช่น เขาเป็นคนมีฐานะพอมีพอกิน.
  33. พอมีอันจะกิน : ว. ค่อนข้างรวย, มีฐานะค่อนข้างดี, เช่น เขาเป็นคน พอมีอันจะกิน.
  34. พอยกขาก็ลาโรง : (สํา) ก. ชักช้าทําให้เสียการ, พอก้าวขาก็ลาโรง ก็ว่า.
  35. พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน : (สํา) รู้ทันกัน, พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ ก็ว่า.
  36. พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง : (สํา) ก. พอมีกินมีใช้, พอเลี้ยงตัวได้.
  37. พอวัดพอเหวี่ยง : ก. พอสู้กันได้, พอฟัด หรือ พอฟัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
  38. พอสถานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง เช่น เขามีความรู้พอ สถานประมาณ, พอสัณฐานประมาณ ก็ว่า.
  39. พอสมควร : ว. พอประมาณ เช่น เรียนเก่งพอสมควร ทำดีพอสมควร, พอควร ก็ว่า.
  40. พอสัณฐานประมาณ : ว. เพียงระดับปานกลาง, พอสถานประมาณ ก็ว่า.
  41. พอหอมปากหอมคอ : (ปาก) ว. พอสมควร, พอดี ๆ, นิด ๆ หน่อย ๆ, เช่น กินพอหอมปากหอมคอ พูดพอหอมปากหอมคอ.
  42. พอเหมาะ : ก. เหมาะเจาะ เช่น เขามาพอเหมาะกับเวลา รองเท้านี้ ใส่ได้พอเหมาะ, พอเหมาะพอเจาะ ก็ว่า.
  43. พออ้าปากก็เห็นลิ้นไก่ : (สํา) รู้ทันกัน, พอแย้มปากก็เห็นไรฟัน ก็ว่า.
  44. พออาศัย : ว. พออยู่ได้, พอไปได้.
  45. คุ้ม ๑ : ก. กัน, ป้องกัน, เช่น คุ้มฝน; พอ, สม, พอสมควรกัน, เช่น คุ้มค่า คุ้มเหนื่อย; พอเท่ากัน เช่น คุ้มทุน. ว. มากพอสมควรกัน เช่น กินเสียคุ้ม.
  46. ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า : (สํา) ก. ทําสิ่งใด ๆ ให้พอสมควร กับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า.
  47. พอใช้พอสอย : ว. เพียงพอแก่การจับจ่ายใช้สอย เช่น มีเงินพอใช้ พอสอยไปเดือนหนึ่ง ๆ, พอใช้ ก็ว่า.
  48. พอดีพอร้าย : ว. ปานกลาง, ไม่ดีนัก, ไม่เลวนัก; บางที (แสดงความ ไม่แน่นอน) เช่น พอดีพอร้ายไม่ได้ไป.
  49. พอฟัด, พอฟัดพอเหวี่ยง : ก. พอสู้กันได้ เช่น เขามีฝีมือพอฟัด พอเหวี่ยงกัน, พอวัดพอเหวี่ยง ก็ว่า.
  50. เพียง : ว. เท่า เช่น เพียงใด เพียงนี้ เพียงนั้น, แค่, เสมอ, เช่น ศาลเพียงตา สูงเพียงหู, เหมือน เช่น งามเพียงจันทร์ รักเพียงดวงตาดวงใจ, พอ, ในคําโคลงใช้เพี้ยง ก็มี.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-369

(0.1338 sec)