Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมารี , then มาร, เมารี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมารี, 36 found, display 1-36
  1. เมารี : น. นกยูงตัวเมีย. (ป. โมรี).
  2. มาร, มาร- : [มาน, มาระ-, มานระ-] น. เทวดาจําพวกหนึ่ง มีใจบาปหยาบช้าคอย กีดกันไม่ให้ทําบุญ; ยักษ์; ผู้ฆ่า, ผู้ทำลาย, ในพระพุทธศาสนา หมายถึงผู้กีดกันบุญกุศล มี ๕ อย่าง เรียกว่า เบญจพิธมาร คือ ขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร มัจจุมาร เทวบุตรมาร, โดยปริยาย หมายถึงผู้ที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง. (ป., ส.).
  3. มารวิชัย : [มาระ-, มาน-] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระ อิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ ขวาวางควํ่าลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่ พระองค์ทรงเอาชนะมารได้ ว่า พระปางมารวิชัย, พระปางชนะมาร หรือ พระปางสะดุ้งมาร ก็เรียก. (ป.).
  4. มารคอหอย : [มาน-] (ปาก) น. ผู้ที่ขัดผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะพึงมีพึงได้.
  5. มารสังคม : [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
  6. มารหัวขน : [มาน-] (ปาก) น. ลูกที่อยู่ในท้องซึ่งยังไม่ปรากฏว่าใคร เป็นพ่อ หรือไม่มีใครรับว่าเป็นพ่อ.
  7. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  8. ใจมาร : ว. มีใจดุร้าย, มีใจอำมหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจยักษ์ เป็น ใจยักษ์ใจมาร.
  9. พิชิตมาร : น. พระผู้ชนะมาร คือ พระพุทธเจ้า. (ป. วิชิตมาร).
  10. สะดุ้งมาร : (ปาก) น. เรียกพระพุทธรูปปางมารวิชัย คือ ปางชนะมาร ว่า พระสะดุ้งมาร.
  11. อสุร : [อะสุระ] น. อมนุษย์พวกหนึ่งเป็นศัตรูต่อเทวดา, แทตย์, ยักษ์, มาร, ผี. (ป., ส. อสุร).
  12. แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร : (สํา) น. การยอมแพ้ทําให้เรื่องสงบ การไม่ยอมแพ้ทําให้เรื่องไม่สงบ.
  13. กิเลสมาร : น. กิเลสซึ่งนับเป็นมารอย่างหนึ่ง. (ป.). (ดู มาร).
  14. มาราธิราช : ดู มาร, มาร-.
  15. กรรมาร : [กํามาน] (แบบ) น. ช่างทอง เช่น กรรมารบุตร. (ส. กรฺมาร; ป. กมฺมาร).
  16. กัมมาร : [กํามาน] (แบบ) น. กรรมาร, ช่างทอง, ช่างเหล็ก. (ป.; ส. กรฺมาร).
  17. กากภาษา : [กากะพาสา] น. ชาติกา เช่น ลางมารนิรมิตอินทรีย์ เศียรเป็นอสุรี และกายเป็นกากภาษา. (คําพากย์).
  18. เกลศ : [กะเหฺลด] (แบบ) น. กิเลส เช่น ตัดมูลเกลศมาร. (ส.).
  19. เกามาร : [-มาน] (โบ) น. กุมาร เช่น กูจะขอพระราชทานเกามารท้งงสองพระองค์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  20. ฆ้อง : น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง ทําด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็น แผ่นวงกลม มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีปุ่มกลม ตรงกลางสําหรับตี มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
  21. จ้าน : ว. จัด, มาก, ยิ่ง, นัก, เช่น รูปร่างช่างกระไรเหมือนยักษ์มาร ล่ำสันขันจ้านสักเท่าพ้อม. (สังข์ทอง).
  22. ใจยักษ์ : ว. มีใจดุร้าย, มีใจอํามหิต, บางทีก็ใช้คู่กับ ใจมาร เป็น ใจยักษ์ใจมาร.
  23. ดลใจ : ก. มีเหตุอันไม่ปรากฏจูงใจให้คิดหรือให้ทํา เช่น เทวดาดลใจ กุศลดลใจ มารดลใจ.
  24. บ่วง : น. เชือกที่ทําเป็นวงสําหรับคล้อง รูดเข้าออกได้, โดยปริยายหมาย ถึง สิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บ่วงมาร.
  25. บุคลาธิษฐาน : [บุกคะลาทิดถาน, บุกคะลาทิดสะถาน] ว. มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, ที่ยก คนหรือสิ่งที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ขึ้นมาเป็นหลักในการอธิบาย เช่น เปรียบกิเลสเหมือนพญามาร, คู่กับ ธรรมาธิษฐาน.
  26. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  27. เพลงเสมอ : น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวกับอาการเยื้องกราย และ การเดินของตัวละครในนาฏกรรมไทย ใช้ในการเดินระยะใกล้ เช่น เสมอตีนนก เสมอนาง เสมอมาร.
  28. เพลงหน้าพาทย์ : น. เพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยา อาการเคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญ เทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือ พิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการ เดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธีต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและ สิ่งศักดิ์สิทธิ์.
  29. มยุรอาสน์ : น. ''พระผู้มีนกยูงเป็นอาสนะ'' หมายถึง พระขันทกุมาร หรือพระสกันทกุมาร เพราะพระขันทกุมารทรงมีนกยูงเป็นพาหนะ.
  30. มารชิ, มารชิต : [มาระชิ, มาระชิด] น. ''ผู้ชนะมาร'' คือ พระพุทธเจ้า. (ป. มารชิ; ส. มารชิตฺ).
  31. มารผจญ : [มาน-] ก. มารยกทัพมารบ, มารที่ยกทัพมาขัดขวางการ บำเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้า; โดยปริยายหมายความว่า ขัดขวาง ไม่ให้สําเร็จประโยชน์.
  32. มาราธิราช : น. พญามาร. (ป.).
  33. ยักษ์ : น. อมนุษย์พวกหนึ่ง ถือกันว่ามีรูปร่างใหญ่โตน่ากลัว มีเขี้ยวงอก ใจดํา อํามหิต ชอบกินมนุษย์ กินสัตว์ โดยมากมีฤทธิ์เหาะได้จําแลงตัวได้, บางทีใช้ปะปนกับคําว่า อสูร รากษส และมาร ก็มี; เทวดาพวกหนึ่งใน สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกและชั้นปรนิมมิตวสวัตดี; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์ ศตภิษัช มี ๔ ดวง, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวสตะภิสชะ ก็เรียก. ว. โดย ปริยายหมายความว่า มีลักษณะหรืออาการอย่างยักษ์ เช่น ใจยักษ์ หน้า ยักษ์, มีลักษณะใหญ่เป็นพิเศษในพวก เช่น ปลาหมึกยักษ์. (ส. ยกฺษ ว่า อมนุษย์พวกหนึ่ง บริวารท้าวเวสวัณ; ป. ยกฺข).
  34. วสวัดดี, วสวัตตี : [วะสะ] น. ผู้ยังสัตว์ให้อยู่ในอํานาจ; ชื่อของเทวบุตรมาร. (ป.).
  35. สยบ : [สะหฺยบ] ก. ซบลง, ฟุบลง, เช่น สยบอยู่แทบเท้า; แพ้ เช่น เขายอม สยบอย่างราบคาบ, ทําให้พ่ายแพ้ เช่น พระพุทธเจ้าสยบมาร.
  36. หน้าพาทย์ : น. เรียกเพลงประเภทที่ใช้บรรเลงในการแสดงกิริยาอาการ เคลื่อนไหวของตัวโขนละครเป็นต้น หรือสําหรับอัญเชิญเทพเจ้า ฤๅษี หรือบูรพาจารย์ ให้มาร่วมชุมนุมในพิธีไหว้ครูหรือพิธีมงคลต่าง ๆ เช่น เชิด ใช้ในการเดินทางไกล เสมอ ใช้ในการเดินระยะใกล้ เสมอมาร สําหรับยักษ์เดิน เสมอเถร สําหรับฤๅษีเดิน สาธุการ ใช้ในการเริ่มพิธี ต่าง ๆ ตระเชิญ ใช้อัญเชิญเทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ว่า เพลงหน้าพาทย์. ว. ที่เกี่ยวกับเพลงหน้าพาทย์ เช่น รําหน้าพาทย์ บอกหน้าพาทย์.
  37. [1-36]

(0.0669 sec)