Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เมื่อวานซืน, วานซืน, เมื่อ , then มอ, มอวานซน, เมื่อ, เมื่อวานซืน, วานซืน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เมื่อวานซืน, 838 found, display 1-50
  1. เมื่อ : น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
  2. วานซืน : น. วันก่อนเมื่อวานนี้วันหนึ่ง, วันก่อนวันนี้ไป ๒ วัน, มักใช้ว่า เมื่อวานซืน.
  3. เด็กเมื่อวานซืน : (สํา) น. คํากล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่า มีความรู้ หรือมีประสบการณ์น้อย.
  4. เมื่อเอยก็เมื่อนั้น : ว. เมื่อไรก็ได้, พร้อมทุกเมื่อ.
  5. เมื่อกี้, เมื่อตะกี้ : ว. เพิ่งล่วงไป, เพิ่งผ่านไป, (ใช้แก่เวลา).
  6. เมื่อใด, เมื่อไร, เมื่อไหร่ : คำที่ใช้ถามเกี่ยวกับเวลา จะเป็นอดีตหรืออนาคตก็ได้ เช่น เมื่อไรเขาจะมา.
  7. เมื่อนั้น : ว. คําขึ้นต้นข้อความของบทละคร (ใช้แก่ตัวละครที่เป็นตัวเจ้าหรือ เป็นตัวเอกในตอนนั้น ๆ).
  8. เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น : (สํา) น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี.
  9. เมื่อเอยเมื่อนั้น : (สํา) ว. ชักช้า, อืดอาด, ยืดยาด.
  10. ตราบ : [ตฺราบ] น. ข้าง, ฟาก, ริม. สัน. จนถึง, เมื่อ, เช่น ยังมีลมหายใจอยู่ตราบใด ก็ถือว่ายังมีชีวิตอยู่ตราบนั้น.
  11. บัด : น. เวลา, เมื่อ, ครั้ง, คราว; ทันใด.
  12. ปาง ๑ : น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง; ท่าของพระพุทธรูปที่แสดงถึงอิริยาบถต่าง ๆ เช่น พระพุทธรูปปางห้ามญาติ; ที่พักกลางป่าชั่วคราว เช่น ตั้งปาง.
  13. พอ : ว. เท่าที่ต้องการ, ควรแก่ความต้องการ, เต็มเท่าที่จำเป็น, เต็มตาม ต้องการ, เช่น ในการเดินทางจะต้องเตรียมเงินไปเท่าไรจึงจะพอ; เหมาะ, เพียงทําได้, ควร; ถูก, ชอบ, เช่น พอใจ พอตา พอหู; อาจ ... ได้ เช่น ตาพอดู หูพอฟัง, เมื่อ, ครั้นเมื่อ, เพิ่ง.
  14. ทุกเมื่อ : ว. ทุกขณะ, ทุกเวลา, ตลอดเวลา, เสมอ, เมื่อใดก็ได้.
  15. พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น : (สํา) ก. พบหญิงสาวที่ต้องใจเมื่อแก่, ใช้ว่า พบไม้งามเมื่อยามขวานบิ่น ก็มี.
  16. เรือล่มเมื่อจอด ตาบอดเมื่อแก่ : (สํา) น. คนที่ทําตนเป็นคนดีมาตลอด แต่มาเสียคนเมื่อแก่. ก. มีอุปสรรคเมื่อใกล้จะสําเร็จ.
  17. ทุกเมื่อเชื่อวัน : ว. ตลอดเวลาไม่ว่างเว้น.
  18. บัง ๒ : คําพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่อ อยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอํา เช่น บําเพ็ญ.
  19. กี้, กี๊ : น. เวลาที่ล่วงไปหยก ๆ, มักใช้ประกอบกับคํา เมื่อ เมื่อแต่ หรือ เมื่อตะ เป็น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ หรือ เมื่อกี๊ เมื่อแต่กี๊ เมื่อตะกี๊.
  20. ครั่ง ๑ : [คฺรั่ง] น. ชื่อเพลี้ยหอยชนิด Laccifer lacca ในวงศ์ Lacciferidae ตัวเมีย ไม่มีปีก เมื่อเป็นตัวอ่อนระยะแรกจะมีขาและหนวด เคลื่อนไหวได้ เมื่อ ลอกคราบเวลาต่อมาจะไม่มีขา หยุดอยู่กับที่ดูดกินนํ้าเลี้ยงจากพืชและ ผลิตสารซึ่งเรียกว่า ขี้ครั่ง นําไปใช้ทําประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายอย่าง.
  21. โคจร, โคจร- : [-จอน, -จะระ-] น. อารมณ์ เช่น มีพุทธานุสติเป็นโคจร. (ป., ส.). ก. เดินไปตามวิถี เช่น ดวงอาทิตย์โคจร ดวงจันทร์โคจรรอบโลก, เที่ยว เช่น โคจรมาพบกัน, คํานี้โดยมากใช้แก่ดาวนพเคราะห์, เมื่อ ว่าเฉพาะทางที่พระอาทิตย์โคจร มีจุดสุดอยู่ ๖ แห่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เป็นคู่ ๆ คือ ครีษมายัน กับ เหมายัน คู่หนึ่ง, วสันตวิษุวัต กับ ศารทวิษุวัต คู่หนึ่ง, พสุสงกรานต์ ๒ แห่ง คู่หนึ่ง. (ป., ส. โคจร ว่า การเที่ยวไป ของดวงอาทิตย์).
  22. จรวด ๑ : [จะหฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อ จุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, กรวด ก็เรียก. (ข. กําชฺรัวจ ว่า พลุ). ว. สูงชัน, ใช้ว่า กรวด ก็มี.
  23. จำนวนจินตภาพ : (คณิต) น. จํานวนเชิงซ้อน a + bi เมื่อ b + o.
  24. จุนสี : [จุนนะสี] น. เกลือปรกติชนิดหนึ่ง ชื่อ คิวปริกซัลเฟต (CuSO4) เมื่อ เป็นผลึก มีสูตร CuSO4•5H2O ลักษณะเป็นผลึกสีนํ้าเงิน ใช้ประโยชน์ ในการชุบทองแดงด้วยไฟฟ้า ใช้เป็นสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าลูกนํ้า, คนทั่วไป เข้าใจว่าเกิดจากสนิมทองแดง.
  25. ฐาน ๔ : (คณิต) น. เส้นหรือพื้นที่ซึ่งถือว่าเป็นส่วนรองรับรูปเรขาคณิต เช่น ฐานของสามเหลี่ยม ฐานของกรวย, จํานวนที่ใช้เป็นหลักในการสร้าง จํานวนอื่น ๆโดยการยกกําลังหรือหาค่าของลอการิทึม เช่น จํานวน ๓ ใน ๓๔ (= ๘๑) จํานวน ๗ ใน log7 49 (= ๒), จํานวนที่บอกปริมาณ ในแต่ละหลักของตัวเลข เช่น เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๑๐ ใช้ สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๑๐ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๑๐) + (๖ x ๑๐๒) เมื่อ ๖๓๕ เป็นตัวเลขฐาน ๗ ใช้สัญลักษณ์ว่า ๖๓๕๗ ซึ่งแทน ๕ + (๓ x ๗) + (๖ x ๗๒).
  26. ด้วง ๑ : น. ชื่อแมลงในอันดับ Coleoptera มีปีก ๒ คู่ ลําตัวและปีกคู่หน้าแข็ง เมื่อ พับปีกขอบปีกจะจดกันที่กึ่งกลางสันหลัง ปีกคู่หลังบางเมื่อพับจะซ้อน เข้าไปเก็บใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน อกปล้องแรกใหญ่และเห็นได้ ชัดเจน แมลงพวกนี้มีมากชนิดกว่าแมลงอื่น ๆ.
  27. เทพา : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Pangasius sanitwongsei ในวงศ์ Schilbeidae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาสวาย เว้นแต่มีครีบหลัง ครีบอก และ ครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้น ทั้งยังมีจุดสีขาวเด่นอยู่เหนือครีบอกหลัง กระพุ้งแก้ม พบอาศัยอยู่ในเขตแม่นํ้าเจ้าพระยาและแม่นํ้าโขง เมื่อ โตเต็มที่มีขนาดยาวกว่า ๓ เมตร.
  28. น้ำค้างแข็ง : น. นํ้าค้างที่แข็งตัวอยู่ตามต้นไม้ซึ่งอยู่ใกล้พื้นดิน เมื่อ อุณหภูมิผิวหน้าของพื้นดินตํ่ากว่า ๐?ซ.
  29. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  30. บุก ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทํายาได้.
  31. พลุ : [พฺลุ] น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง บรรจุดินปืนในกระบอกไม้ไผ่ เมื่อ จุดมีเสียงระเบิดดังคล้ายเสียงปืน, โดยอนุโลมเรียกดอกไม้เพลิง อย่างอื่นที่จุดมีเสียงระเบิดดังเช่นนั้นว่า พลุ. ว. ฟุ, ฟ่าม, ไม่แน่น.
  32. ระเบิดขวด : น. ลูกระเบิดที่บรรจุสารเคมีบางอย่างในขวดแก้วหนา เมื่อ ถูกกระทบกระแทกอย่างแรงจะระเบิด.
  33. เรือใหญ่คับคลอง : (สํา) น. คนที่เคยรุ่งเรืองหรือเป็นใหญ่เป็นโต เมื่อ ตกตํ่าลงก็วางตัวอย่างคนสามัญไม่ได้.
  34. วุ้นเส้น : น. แป้งถั่วเขียวทําเป็นเส้นเล็ก ๆ ยาวอย่างเส้นลวด เมื่อ แช่นํ้าทําให้อ่อนคล้ายวุ้น ใช้ทําเป็นอาหาร เช่น แกงร้อน, เส้นแกงร้อน ก็เรียก.
  35. หัวแร้ง : น. เหล็กที่ปลายมีลักษณะคล้ายหัวของนกแร้ง ใช้เผาไฟให้ร้อนจัด แล้วจี้ตะกั่วบัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ติดกัน, เครื่องมือไฟฟ้าชนิดหนึ่ง เมื่อ ทำให้ปลายร้อนจัดด้วยกระแสไฟฟ้า ใช้จี้ตะกั่ว บัดกรีเพื่อเชื่อมโลหะให้ ติดกัน เรียกว่า หัวแร้งไฟฟ้า.
  36. เอา ๑ : ก. ยึด เช่น เอาไว้อยู่; รับไว้ เช่น เขาให้ก็เอา; พา, นํา, เช่น เอาตัวมา; ต้องการ เช่น ทําเอาชื่อ ทำงานเอาหน้า; ถือเป็นสําคัญ เช่น เจรจาเอา ถ้อยคํา เอาพี่เอาน้อง; (ปาก) คําใช้แทนกริยาอื่น ๆ บางคําได้. ว. เมื่อ ใช้ลงท้ายกริยา เป็นการเน้นกริยาแสดงถึงการตั้งหน้าตั้งตาทําต่อเนื่อง กัน เช่น กินเอา ๆ.
  37. ครั้น : [คฺรั้น] สัน. เมื่อ.
  38. ป่าง : (โบ) น. ปาง, ครั้ง, คราว, เมื่อ.
  39. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  40. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  41. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  42. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  43. กรงเล็บ : น. กลุ่มเล็บของแมวหรือนกเป็นต้นเมื่อขยุ้มเหยื่อ มีเค้าคล้ายกรง.
  44. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  45. กรด ๓ : [กฺรด] น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C.B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่น้ำท่วม เช่น ตามฝั่งน้ำลําคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดํา เมื่อแก่เปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก; อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้. (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูก ต้นกรดไว้ริมท่า. (กล่อมเด็ก).
  46. กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
  47. กรรมการ ๑ : [กำมะกาน] น. บุคคลที่ได้รับเลือกหรือได้รับแต่งตั้ง เข้าเป็นคณะร่วมกันทำงานหรือกระทำกิจการบางอย่างซึ่งได้รับ มอบหมาย, เมื่อรวมกันเป็นคณะ เรียกว่า คณะกรรมการ เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา. (ส. กรฺม + การ; ป. กมฺม + การ).
  48. กรวด ๒ : [กฺรวด] น. ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง ใช้ไม้อ้อบรรจุดินดำ มีหางยาว เมื่อจุดชนวนแล้วเหวี่ยงให้พุ่งขึ้นสูง, จรวด ก็เรียก. ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคําประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  49. กระ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Elateriospermum tapos Blume ในวงศ์ Euphorbiaceae ผลกลมมี ๓ พู เปลือกแข็ง เมื่อแก่สีคล้ำ เกือบดํา เมล็ดรูปยาวรี เปลือกแข็งเป็นมันสีน้ำตาลเข้ม ภายในมี เนื้อขาว ๒ กลีบประกบกัน เมื่อดิบมีพิษร้ายแรง ดองหรือคั่วแล้ว กินได้ รสมัน เรียกว่า ลูกกระ, ปักษ์ใต้และมลายูเรียก ประ.
  50. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-838

(0.1975 sec)