เม้า : (โบ) น. ปีเถาะ, เขียนเป็น เหมา ก็มี เช่น ปีโถะหนไทกดดเหมา. (จารึกสยาม).
เม้าเค้า : ว. ลักษณะหน้าที่งอกหัก.
เหมา ๒ : [เหฺมา] (ถิ่น-อีสาน) น. เม้า คือ ปีเถาะ.
คอบ ๑ : (โบ; กลอน) ก. ครอบ, รักษา, ครอบงํา, ครอบครอง, เช่น พระเม้านอ ระเนิ้งคอบ เรียมทุกข์ เทือนี้. (หริภุญชัย).
มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
มา ๑ : น. พระจันทร์. (ป.; ส. มาสฺ).
ไป ๆ มา ๆ : ว. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ไป ๆ มา ๆ ก็ต้องมาขอ เงินพ่อใช้.
มารุมมาตุ้ม : ว. มะรุมมะตุ้ม, กลุ้มรุมทําให้เกิดรําคาญ, เช่น เจ้าหนี้มามารุมมาตุ้ม ทวงหนี้กันใหญ่.
มาเหนือเมฆ : (สํา) ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น; มาหรือ ปรากฏขึ้นโดยไม่คาดหมาย.
มาตังคะ : [-ตังคะ] น. มาตงค์, ช้าง. (ป.).
มาตามหะ : [มาตามะหะ] (ราชา) น. ตา คือ พ่อของแม่. (ป., ส.).
มาตามหัยกะ : [-มะไหยะกะ] (ราชา) น. ตาทวด, พ่อของยาย. (ป. มาตา + มหยฺยก).
มาติกะ : ว. ฝ่ายมารดา, ของมารดา. (ป.).
มาตุลุงค์ : น. มะงั่ว. (ป.).
มาธุระ, มาธูระ : (แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.
มาปกะ : [-ปะกะ] น. ผู้ก่อสร้าง. (ป.).
มาราธิราช : น. พญามาร. (ป.).
มาราธิราช :
ดู มาร, มาร-.
มาทนะ, มาทะ : [มาทะนะ] น. เครื่องทําให้เมา, เครื่องทําให้รื่นเริง. (ส.).
กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
คันธมาทน์ : ว. ที่มีกลิ่นหอมทำให้สัตว์มัวเมา. น. ชื่อภูเขา เรียกว่า ภูเขาคันธมาทน์ คือ ภูเขาผาหอม. (ป., ส.).
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี : [ชนนะ] น. อายุ, อายุขัย, กําหนดอายุ, เช่น ครั้นว่าจะสิ้นชนมาพิธีแล้วก็เสด็จเข้าสู่นฤพานแล. (ไตรภูมิ), ก็อยู่จนสิ้นชนมายุพิธี ในธรณีดลน้นน. (ม. คําหลวง ทศพร). (พิธี ว่า กําหนด).
ชอบมาพากล : ว. ชอบกล, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ชอบมาพากล.
ทำไปทำมา : ก. ในที่สุด, ผลสุดท้าย, เช่น ทําไปทํามากลับได้กําไร ทําไปทํามาจวนติดตะราง.
ปามปึงมา : ก. พรวดพราดเข้ามา เช่น มีมือถือดาบกล้าอวดค้า ๆ คำรามคำรนปามปึงมาด้วยด่วนแล. (ม. คำหลวง กุมาร).
เม่า ๑ : น. เรียกข้าวเปลือกข้าวเหนียวที่ยังไม่แก่จัดเอามาคั่วแล้วตําให้แบนว่า ข้าวเม่า, ข้าวเม่าที่เอามาคั่วให้กรอบ เรียกว่า ข้าวเม่าราง นิยมกินกับน้ำกะทิ, ข้าวเม่า รางทอดแล้วใส่เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งทอด ถั่วลิสงทอด เต้าหู้ทอด กระเทียมเจียว น้ำตาล เกลือ เรียกว่า ข้าวเม่าหมี่, ข้าวเม่าที่พรมน้ำเกลือให้นุ่มคลุกกับมะพร้าว ขูดแล้วโรยน้ำตาลทราย เรียกว่า ข้าวเม่าคลุก นิยมกินกับกล้วยไข่, ข้าวเม่าผสม น้ำตาล มะพร้าวขูด พอกกล้วยไข่ ชุบแป้งทอดน้ำมันให้ติดกันเป็นแพแล้วโรย ด้วยแป้งทอด เรียกว่า ข้าวเม่าทอด.
ยามา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๓ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุ มหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และ ปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุยามเป็นผู้ครอง.
ราชรถมาเกย : (สํา) น. โชค ลาภ หรือยศ ตําแหน่ง มาถึงโดยไม่รู้ตัวหรือ คาดฝันมาก่อน.
เลี้ยงมาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย : (สำ) ก. เลี้ยงดูมาตั้งแต่ยังเป็นทารก.
ไล่ไปไล่มา : ก. ไล่เลียง, ไต่ถาม, เช่น ไล่ไปไล่มาก็เป็นญาติกัน ไล่ไปไล่มาก็รุ่นเดียวกัน.
วามาจาร : น. ชื่อลัทธิตันตระแบบหนึ่ง นับเนื่องในนิกายหนึ่งของ ศาสนาพราหมณ์ยุคหลัง เป็นแบบซ้ายหรือฝ่ายซ้าย มีพิธีกรรมลี้ลับ อนาจาร, คู่กับ ทักษิณาจาร; ชื่อลัทธิพุทธตันตระแบบหนึ่ง ซึ่งมีหลัก ปฏิบัติทํานองเดียวกับลัทธิตันตระของพราหมณ์, เรียกผู้ปฏิบัติใน ลัทธินี้ว่าวามาจาริน. (ส.).
วิลิศมาหรา : (ปาก) ว. หรูหรา เช่น แต่งตัววิลิศมาหรา.
ศอกกำ, ศอกกำมา, ศอกตูม : น. ระยะตั้งแต่ข้อศอกจนสุดกํามือ โบราณใช้เป็นหน่วยวัดระยะ เช่น ๔ ศอกกับศอกกํามาหนึ่ง.
หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
หาห่วงมาคล้องคอ : (สํา) ก. รนหาภาระผูกพันมาใส่ตน.
อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
อยู่ไปมา : ว. อาการที่ทำต่อเนื่องกันหลายหนหรือเรื่อย ๆ ไป เช่น ยิ้มอยู่ไปมา โบกมืออยู่ไปมา.
เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม : (สำ) ก. เอาลูกของคนอื่นมา เลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้.
กลับไปกลับมา : ก. กลับกลอก, พลิกแพลง, ไม่แน่นอน. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงหรือทําให้ผิดไป จากเดิมอย่างตรงกันข้าม, พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ก็ว่า.
ชนมาพิธี, ชนมายุพิธี :
ดู ชนม, ชนม์.
ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด : (สํา) น. ความชั่วหรือความผิด ร้ายแรงที่คนรู้ทั่วกันแล้ว จะปิดอย่างไรก็ไม่มิด.
ทรมาทรกรรม : [ทอระมาทอระกํา] (ปาก) ก. ทําให้ทนทุกข์ทรมานไม่รู้จักจบจักสิ้น, ทําให้ทนทุกข์ทรมานอย่างยืดเยื้อ.
ทัณฑิมา : [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
นําเที่ยว นําไป นํามา. : ว. อาการที่ซักหรือถามเป็นเชิงแนะไปในตัว ในคําว่า ซักนํา ถามนํา.
นามานุศาสตร์ : น. อภิธานคําชื่อ. (ส.).
นามานุศาสตร์ :
ดู นาม, นาม.
ปรมาตมัน : [ปะระมาดตะมัน] (ปรัชญา) น. อาตมันสูงสุด เป็น ต้นกําเนิดและที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาล. (ส. ปรม + อาตฺมนฺ).
ปรมาตมัน : ดู ปรม-.
ปุม-, ปุมา : [ปุมะ-] ว. เพศชาย. (ป.).