Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เยือก , then ยอก, เยือก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เยือก, 31 found, display 1-31
  1. เยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นยะเยือก หรือ เย็นเยือก ก็ว่า.
  2. เยือก : ว. อาการที่ไหวน้อย ๆ เช่น พายุพัดเรือนไหวเยือก.
  3. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  4. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  5. เย็นยะเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
  6. ยอก : ก. ตำฝังอยู่ในเนื้อ เช่น หนามยอกเอาหนามบ่ง, รู้สึกเจ็บแปลบคล้ายมี อะไรมาเสียดแทง เช่น รู้สึกยอกอก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น หนามยอกอก.
  7. ขนลุก : น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะอากาศเย็นเยือก ความตกใจ หรือความ เสียวซ่าน เป็นต้น.
  8. ชื้อ : ว. เย็นเยือก, ชื้น, ร่ม.
  9. เซลเซียส : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ แบ่งออกเป็น ๑๐๐ องศา เรียกว่า องศาเซลเซียส เดิมเรียกว่า องศาเซนติเกรด กําหนดเป็นมาตรฐานว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา (เขียนย่อว่า ๐บซ.) และจุดเดือด ของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๑๐๐ องศา (เขียนย่อว่า ๑๐๐บซ.), อักษรย่อว่า ซ. (อ. celsius).
  10. ยวบยาบ : ว. อาการเดินหนัก ๆ ช้า ๆ ทําให้พื้นไหวเยือก ๆ, อาการ ที่พื้น ยุบขึ้นยุบลง เช่น เดินบนพื้นฟากยวบยาบ.
  11. โรเมอร์ : น. ชื่อองศาที่ใช้วัดอุณหภูมิ เรียกว่า องศาโรเมอร์ กําหนดเป็นมาตรฐาน ว่า จุดเยือกแข็งของนํ้าบริสุทธิ์เป็น ๐ องศา และจุดเดือดของนํ้าบริสุทธิ์ เป็น ๘๐ องศา. (ฝ. R?aumur).
  12. วังเวง : ก. ลักษณะบรรยากาศที่สงบเยือกเย็นทำให้เกิดความรู้สึกอ้างว้าง ว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยวใจ เช่น เข้าไปในบ้านร้างรู้สึกวังเวง.
  13. ศิศีระ : น. ฤดูหนาว; ความหนาว, ความเยือกเย็น. ว. เย็น, หนาว, เย็นเยือก. (ส. ศิศิร).
  14. ศีต : [สีตะ] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
  15. ศีตละ : [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
  16. สยิว : [สะหฺยิว] ก. รู้สึกเย็นเยือก, รู้สึกเสียวซ่าน, รู้สึกวาบหวาม เช่น สยิวกาย สยิวใจ.
  17. สะท้าน : ก. รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจ ทําให้ครั่นคร้าม หรือหวั่นกลัวจนตัวสั่น เช่น เห็นไฟไหม้แล้วสะท้าน, หนาวสั่น เช่น หนาวสะท้านเหมือน จะเป็นไข้ หนาวสะท้านเพราะเดินกรำฝนมาหลายชั่วโมง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ สะทก เป็น สะทกสะท้าน; ดังลั่น, ดังก้อง, สั่นสะเทือน, เช่น เสียงปืนใหญ่ดังสะท้านก้องไปทั้งกรุง.
  18. หนาวใจ : ว. สะท้านใจ, เยือกเย็นใจ, คร้ามเกรงภัย, กลัว.
  19. หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
  20. หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
  21. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  22. ยอกย้อน : ก. ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เช่น ทำกลอุบายยอกย้อน, กลับไปกลับมาอย่างมี เงื่อนงำ เช่น พยานให้การยอกย้อน, ยุ่งยากซับซ้อนสะสางยาก เช่น คดี ยอกย้อน. ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจายอกย้อน, ย้อนยอก ก็ว่า.
  23. แก้ง : ก. ขูดให้หมด; เคล็ด, ยอก, เช่น คอแก้ง.
  24. เคน ๓ : (ถิ่น-อีสาน) ก. เคล็ด, ยอก, เช่น หลังเคน. (อะหม เคน ว่า เผอิญเกิดเหตุ ถึงฟกชํ้าดําเขียว).
  25. หนามยอกอก : (สํา) น. คนหรือเหตุการณ์ที่ทําให้รู้สึกเหมือนมีอะไรมา ทิ่มแทงอยู่ในอกตลอดเวลา.
  26. หนามยอกเอาหนามบ่ง : (สํา) ก. ตอบโต้หรือแก้ด้วยวิธีการทํานองเดียวกัน.
  27. ขยอก ๑ : [ขะหฺยอก] น. ชื่อหนอนผีเสื้อชนิด Nymphula depunctalis ในวงศ์ Pyralidae ทําลายข้าวโดยกัดใบข้าวให้ขาดออกมาม้วนเป็นปลอก หุ้มตัว ยาว ๓-๕ เซนติเมตร ลอยไปตามนํ้าได้ ตัวหนอนสีเขียวซีด ผิวค่อนข้างใส หัวสีนํ้าตาล ข้างตัวมีเหงือกเป็นครีบข้างละ ๖ แถว สําหรับช่วยหายใจในนํ้า, หนอนม้วนใบข้าว ก็เรียก.
  28. ขยอก ๒ : [ขะหฺยอก] ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย, กระเดือกเข้าไป.
  29. บาดเสี้ยนบาดหนาม : น. แผลที่ถูกเสี้ยนหนามยอกแล้วกลายเป็นพิษ ทําให้มีอาการปวดผิดปรกติ.
  30. ย้อนยอก : ว. ย้อนให้เจ็บอกเจ็บใจ เช่น พูดจาย้อนยอก, ยอกย้อน ก็ว่า.
  31. สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
  32. [1-31]

(0.0664 sec)