เรา : สรรพนามบุรุษที่ ๑ เป็นคำแทนตัวผู้พูด จะเป็นคนเดียวหรือหลายคน ก็ได้ ถ้าผู้พูดเป็นคนคนเดียว อาจพูดแทนคนอื่น ๆ รวมทั้งตัวเองด้วย เช่น เราทุกคนเป็นคนไทย หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะเสมอกัน เช่น เรามีความเห็นอย่างนี้ เธอมีความเห็นอย่างไร หรืออาจพูดกับผู้ที่มีฐานะ ต่ำกว่า เช่น อธิบดีพูดกับนักการว่า ปีนี้เราจะขึ้นเงินเดือนให้ ๒ ขั้น, สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำใช้สำหรับผู้มีอำนาจหรือผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น เจ้าหน้าที่ถามผู้ต้องหาว่า เราจะรับสารภาพไหม.
กันเขากันเรา : (ปาก) ว. พวกเขาพวกเรา.
ถือเขาถือเรา : ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเรา ถือเขา ก็ว่า.
ถือเราถือเขา : ก. ถือว่าเป็นคนละพวก, แบ่งพรรคแบ่งพวก, ถือเขา ถือเรา ก็ว่า.
รื้อแต่หลังคาเขา หลังคาเราไม่รื้อ : (สํา) ก. คิดแต่จะเอาของผู้อื่นมาใช้ ของของตัวเก็บไว้, คิดแต่จะเอา ไม่คิดจะให้.
รู้เขารู้เรา : ก. รู้จักขอบเขตความสามารถของตนเองและผู้อื่น.
เอาใจเขามาใส่ใจเรา : (สำ) ก. ให้รู้จักเห็นใจผู้อื่น.
ปฐมบุรุษ : [ปะถมมะ-, ปะถม-] น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลี หมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
เยิง ๒ : (ถิ่นอีสาน) ส. เรา. (ข.).
สรรพนาม : (ไว) น. คําที่ใช้แทนชื่อ นาม หรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว เพื่อไม่ต้องกล่าวชื่อ นาม หรือข้อความนั้นซ้ำอีก เช่น ฉัน เขา เรา ท่าน.
รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
กระพัง ๒ : น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สําหรับใส่น้ำทําพิธีต่าง ๆ ตามลัทธิไสยศาสตร์ เรียกว่า ``กระพังน้ำ'' ซึ่งน่าจะมีรูปคล้ายกับหม้อน้ำมนตร์ของเรา.
กระวายกระวน : ก. กระวนกระวาย, ดิ้นรน, เร่าร้อน, กระสับกระส่าย, เช่น เมื่อเราอยู่ที่นี้จะต้องกระวายกระวน ด้วยเหลือบยุงริ้นร่าน. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ).
กรี ๒ : [กฺรี] (กลอน) ย่อมาจาก กรีธา เช่น ให้เรานี้กรีพลออกเดินไพร. (อิเหนา).
กลับ : [กฺลับ] ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทําตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับด่าเอา.
แก ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วยซึ่งเป็นผู้ที่สนิทสนม หรือผู้น้อย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒; (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า : (สํา) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทําตามที่ตน ต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เราเหมือนข่มเขาโคขืน ให้กินหญ้า. (สังข์ทอง).
ขาดกัน : ก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยก พลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).
เขือ ๓ : (กลอน) ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่. (ลอ).
คุณ ๑, คุณ- : [คุน, คุนนะ-] น. ความดีที่มีประจําอยู่ในสิ่งนั้น ๆ; ความเกื้อกูล เช่น รู้คุณ. (ป., ส.); คําที่ใช้เรียกนําหน้าบุคคลเพื่อแสดงความยกย่อง เช่น คุณพ่อ คุณแม่ คุณสมร; คํานําหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้น ทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้า วิเศษขึ้นไป; (ไว) คําแต่งชื่อ. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคําสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, (ปาก) คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความสุภาพ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, เช่น คุณอยู่ไหม ช่วยไปเรียนว่ามีคนมาหา.
จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
เจ้า ๒ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย สําหรับผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อยอย่างสุภาพหรือ เอ็นดู, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ เช่น เจ้ามานี่, คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, มักใช้เข้าคู่กับคํา นั่น เป็น เจ้านั่น เช่น เจ้านั่น จะไปด้วยหรือเปล่า.
เจ้าหล่อน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คํา ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓, บางทีผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย ในบุรุษที่ ๓.
ชฎิล : น. ผู้มีผมมุ่นเป็นชฎา, นักพรตพวกหนึ่งที่เราเรียกว่า ฤษี. (ป., ส.).
ชร ๒ : [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
ชำเรา ๒ : ก. ลึก, ลับ, เช่น หน้าตาชําเรา. (สุบิน). (ข.).
ใช้ : ก. บังคับให้ทํา เช่น ใช้งาน; จับจ่าย เช่น ใช้เงิน; เอามาทํา ให้เกิดประโยชน์ เช่น ใช้เรือ ใช้รถ; ชําระ ในคําว่า ใช้หนี้; ตอบแทน, ให้ทดแทน, เช่น เมื่อเขาเลี้ยงเราเราต้องเลี้ยงใช้เขา.
ดูชา : ก. ดูแคลน, ดูถูก, เช่น ตูจะให้สูทั้งหลายฆ่า ว่าผู้ดูชาดูแคลน แหนความ เราจงมิด. (ลอ.)
ดูดำดูดี : ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้ เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดี เด็กคนนี้เลย.
ตราบเท่า : บ. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น รักษาเอกราชมาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้. สัน. ตลอด, ถึง, จวบจวน, เช่น เราจะจงรักภักดีต่อประเทศชาติตราบเท่า ชีวิตจะหาไม่, ตราบท้าว ก็ว่า.
ตรึก ๒ : [ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่า ร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรําพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).
ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
ท่าน : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคํากลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่า ลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓. น. คําที่ใช้ประกอบหน้า ชื่อบรรดาศักดิ์หรือตําแหน่งแสดงความยกย่อง เช่น ท่านขุน ท่านอาจารย์ ท่านเจ้าอาวาส.
ทาบ : ก. วางวัตถุสิ่งหนึ่งแนบกับอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ทาบผ้าทาบตัว, (ปาก) เปรียบ, เทียบ, เช่น เรามีความรู้น้อยจะไปทาบท่านผู้รู้ได้อย่างไร; ตบ, ตี, เช่น นกทาบปีก, ถาบ ก็ใช้.
ทิวากร : น. พระอาทิตย์; (กลอน) กลางวัน เช่น ราตรีปักษีเข้า แนบนอน ทิวากรเราแนบประจํานาง. (กากี). (ป.).
ที่ไหน : น. แห่งใด, แห่งใดแห่งหนึ่ง, แห่งใดก็ตาม, เช่น ไปที่ไหน ก็ได้; คําใช้ในข้อความคาดคะเนว่าคงจะไม่เป็นเช่นนั้น เช่นนี้ มี ความหมายว่า ไฉน, ฉันใด, อย่างไร, เช่น เขาก็เห็นว่าที่ไหนเราจะได้.
โทรมหญิง : (กฎ) ก. ร่วมกันข่มขืนกระทําชําเราหญิง.
เธอ : ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย มักใช้ในระหว่างเพื่อนผู้หญิงด้วยกัน หรือใช้ กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่า เช่นครูพูดกับศิษย์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, คําใช้แทน ผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับผู้มีศักดิ์ตํ่ากว่าด้วยความยกย่องหรือเอ็นดูเป็นต้น, เป็น สรรพนามบุรุษที่ ๓.
นาย : น. (กฎ) คํานําหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้า ในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชํานาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นําหน้ายศทหารตํารวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้า ตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคํานําราชทินนามเป็นบรรดาศักดิ์ของ ข้าราชการในราชสํานักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คําใช้แทนผู้ที่เรา พูดด้วย ใช้สําหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไป ด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.
น้ำมือ : น. มือของตัวแท้ ๆ; รสมือ; ความสามารถในการทํา เช่น บํารุง สินค้าให้เกิดมีขึ้นในประเทศโดยนํ้ามือของคนไทยเรา.
บุญทำกรรมแต่ง : (สํา) บุญหรือบาปที่ทําไว้ในชาติก่อนเป็นเหตุทํา ให้รูปร่างหน้าตาหรือชีวิตของคนเราในชาตินี้สวยงาม ดี ชั่ว เป็นต้น.
ปฏิคคหิต, ปฏิคหิต- : [ปะติกคะหิด, ปะติกคะหิตะ-] (แบบ) ก. รับเอา เช่น เราก็ปฏิคคหิต ด้วยศรัทธา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). ว. อันรับเอาแล้ว. (ป. ปฏิคฺ-คหิต).
ประทักษิณ : น. การเวียนขวา โดยให้สิ่งที่เรานับถือหรือผู้ที่เรานับถือเป็นต้น อยู่ทางขวาของผู้เวียน. (ส.).
ประสิทธิเม : [ปฺระสิดทิ-] น. คํากล่าวเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ หมายความว่า ขอให้สําเร็จแก่เรา.
ปลงสังขาร : ก. พิจารณาเห็นว่าเราจะต้องตายเป็นแน่แท้.
ปู่เจ้า : น. ผู้เฒ่าที่คนเคารพนับถือ, เจ้าปู่ ก็ว่า; เทพารักษ์ เช่น เขาใส่สมญาเรา ปู่เจ้า. (ลอ).
ไผทโกรม : [โกฺรม] น. แผ่นดินตํ่า หมายความว่า ใต้หล้า คือ พื้นโลกเรานี้.
พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
ภรรดร, ภรรดา : [พันดอน, พันดา] น. ผัว เช่น ปัญหามีแต่จักหา ภรรดาสมศักดิ์สมศรี หาได้ใช่ง่ายชายดี สมกับเทวีลูกเรา. (กนกนคร), ใช้ว่า ภัสดา ก็ได้, โบราณใช้ว่า ภรัสดาษ ก็มี. (ส. ภรฺตฺฤ; ป. ภตฺตา).