เรียกขวัญ : ก. เชิญขวัญให้มาอยู่กับเนื้อกับตัวโดยมีหมอขวัญทำพิธี.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
เรียก : ก. เปล่งเสียงเพื่อให้มาหรือให้ไปเป็นต้น เช่น แม่เรียกให้มาทำการบ้าน ช่วยเรียกสุนัขไปเสียที, ออกชื่อ เช่น ครูเรียกมาลีให้มาหา, เชิญ เช่น เรียกประชุม เรียกหมอ เรียกน้ำ เรียกลม; ให้ชื่อ เช่น น้ำที่ทำให้แข็ง เรียกว่าน้ำแข็ง ภาชนะอย่างนี้เรียกว่าถ้วย; กำหนดเอา, ร้องเอา, เช่น หมอเรียกค่ารักษาพยาบาล โจทก์เรียกค่าเสียหาย รัฐบาลเรียกเก็บภาษี; (ปาก) ชวนให้มีอาการเช่นนั้น เช่น เรียกน้ำตา เรียกเสียงตบมือ.
ไข่ขวัญ :
น. ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ข้าว ก็เรียก. (ดู ขวัญ)ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ลูกยอด ก็เรียก.
ขวัญข้าว : น. มิ่งขวัญของข้าวซึ่งเจ้าของทําพิธีเชื้อเชิญ เรียกว่า ทําขวัญข้าว, ค่าสินบนซึ่งเจ้าของไข้บนไว้ต่อหมอ เมื่อไข้หายก็ยกขวัญข้าวนี้ไปเป็นค่ารักษา.
ขวัญอ่อน ๑ : น. เรียกผู้ตกใจง่ายคือเด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหาย บ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน.
ไข่ข้าว :
น. ไข่ที่ฟักไม่เป็นตัวต้มแล้วแข็งและเหนียวผิดปรกติ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี, ไข่ขวัญ ก็เรียก. (ดู ขวัญ).
ขวัญเมือง ๑ : ดูใน ขวัญ.
ขวัญอ่อน ๑ : ดูใน ขวัญ.
ผูกขวัญ : ก. เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียกขวัญว่า ''ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามสมควร.
รากขวัญ : (ราชา) น. ไหปลาร้า เรียกว่า พระรากขวัญ.
แรกนา, แรกนาขวัญ : น. ชื่อพิธีเริ่มไถนา, ถ้าทําเป็นทางราชการ เรียกว่า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ, แต่โดยทั่วไปมักเรียกว่า พระราชพิธีแรกนา หรือ พระราชพิธีแรกนาขวัญ.
ลูกแก้วลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
ลูกขวัญ : น. ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้ว หรือ ลูกแก้วลูกขวัญ ก็เรียก.
หมอขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทําขวัญ, หมอทำขวัญ ก็เรียก; ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์ และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอเฒ่า ก็เรียก.
ขวัญเกี่ยง : ว. ขวัญร้าย เช่น ขวัญเกี่ยงได้เป็นดี. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
ขวัญแขวน : ก. ขวัญไปค้างอยู่ที่อื่น หมายความว่า ตกใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ อกสั่น เป็น อกสั่นขวัญแขวน.
ขวัญบ่า : ก. ขวัญไหลไปจากตัว
เรียกคืน : ก. ทวงคืน เช่น ฉันเรียกคืนเงินมัดจำจากบริษัท.
เรียกตัว : ก. สั่งให้มาปรากฏตัว, สั่งให้มารายงานตัว, เช่น พ่อเรียกตัว ให้กลับจากต่างประเทศ ศาลเรียกตัวให้ไปเป็นพยาน.
เรียกเนื้อ : ก. ทําให้เนื้อดีงอกขึ้นมาในที่ที่เป็นแผล เช่น ยานี้เรียกเนื้อ ได้ดี; ทำให้อ้วน, ทำให้สมบูรณ์, เช่น เชื่อกันว่าอาบน้ำให้เด็กอ่อน บ่อย ๆ เรียกเนื้อได้ดี.
เรียกร้อง : ก. ร้องขอแกมบังคับให้ทำหรือให้งดการกระทำ เช่น เรียกร้อง ขอความเป็นธรรม เรียกร้องขอความเห็นใจ.
เรียกหา : ก. ร้องหา เช่น ลูกเรียกหาแม่ทั้งคืน คนไข้เรียกหาหมอ.
ขวัญบิน, ขวัญหนี, ขวัญหนีดีฝ่อ, ขวัญหาย : ก. ตกใจ, ใจหาย.
ขวัญเมือง : ๑ น. ยอดกําลังใจของเมือง.
ขวัญเมือง ๒ : undefined
ขวัญอ่อน ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
กรรชิง : [กัน-] น. เครื่องเข้ากระบวนแห่ในการพระราชพิธีบางอย่างเช่น รับช้างเผือกหรือแรกนาขวัญเป็นต้น รูปคล้ายกลด มีคันถือคล้าย ร่ม, โบราณใช้เป็นร่มเครื่องยศ คู่กันกับคานหามตามบรรดาศักดิ์ มีชั้นตามที่หุ้มผ้าแดงหรือหุ้มผ้าขาวโรยทอง เรียกว่า พื้นกํามะลอ, ถ้ามีริ้วขาวและน้ำเงินสลับกันที่ระบาย เรียกว่า กรรชิงเกล็ด, กระชิง กระฉิ่ง กะชิง กันฉิ่ง หรือ กันชิง ก็เรียก.
ไข่ลูกยอด : น. ไข่งูที่อยู่บนยอดกลางกองไข่, ไข่ขวัญ ก็เรียก.
ทำขวัญ : ก. ทําพิธีเชิญขวัญหรือเรียกขวัญมาอยู่กับตัว เช่น ทําขวัญนาค ทําขวัญเรือน; ให้เงินหรือสิ่งของเพื่อปลอบใจ หรือเพื่อชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้อื่น, เสียเงินค่าปรับให้แก่ ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท.
บิน ๑ : ก. ไปในอากาศด้วยกําลังปีกหรือเครื่องยนต์เป็นต้น เช่น นกบิน เครื่องบินบิน, โดยปริยายหมายถึงการไปโดยลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ขวัญบิน จานบิน; เรียกหน่อไม้ที่ขึ้นสูงจนเป็นลํา แต่ยอดยังมีกาบหุ้มอยู่แก่เกินกิน ว่า หน่อไม้บิน.
พืชมงคล : [พืดชะ, พืด] น. ชื่อพระราชพิธีที่พระสงฆ์สวดเพื่อ ความเจริญของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกว่า พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีที่ทำก่อนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีพราหมณ์.
ลูกแก้ว : น.เรียกสิ่งที่กลึงเป็นรูปกลม ๆ ตามหัวเม็ดและขาโต๊ะ เป็นต้น, ลูกกลม ๆ ทำด้วยแก้ว คล้ายลูกหิน แต่เล็กกว่า, ลูกกลม ทำด้วยแก้ว มีขนาดต่าง ๆ กัน หมอดูใช้ในการทำนายโชคชะตา; ลูกที่พ่อแม่รักมากที่สุด, ลูกแก้วลูกขวัญ หรือ ลูกขวัญ ก็เรียก.
หมอเฒ่า : น. ผู้มีความรู้ทางคชศาสตร์และเป็นหัวหน้าในการจับช้าง, หมอขวัญ ก็เรียก.
หมอทำขวัญ : น. ผู้รู้พิธีทำขวัญ, หมอขวัญ ก็เรียก.
ข่มขวัญ : ก. ทําให้ขวัญเสีย เช่น พูดข่มขวัญฝ่ายตรงข้าม.
ของขวัญ : น. สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญเมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว; สิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญหรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เช่น ของขวัญปีใหม่ ของขวัญวันเกิด.
ขาน ๑ : ก. กล่าว, เรียก, เอ่ย, พูด, ตอบ, เช่น ขานรับ ขานยาม.
ขู่ขวัญ : ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
ทำลายขวัญ : ก. ทําให้เสียขวัญ.
ปลอบขวัญ : ก. ปลอบโยนหรือบํารุงขวัญให้มีกําลังใจ.
เผื่อเรียก : ว. ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่าย เมื่อใดก็ได้ เรียกว่าฝากเผื่อเรียก.
ฝากเผื่อเรียก : ก. ฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะเรียกให้จ่ายเมื่อใดก็ได้.
ร้องเรียก : ก. เปล่งเสียงเรียกเพื่อให้มาหรือเพื่อมุ่งหมายอย่างอื่น.
รับขวัญ : ก. รับให้ขวัญกลับมาสู่ตัวด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ทำพิธีบายศรี ผูกข้อมือ ให้เงินทอง, ปลอบ.
วันแรกนา, วันแรกนาขวัญ : น. วันประกอบพิธีเริ่มไถนา ทางราชการเรียกว่าวันพระราชพิธีจรดพระนังคัล.
สยองขวัญ : ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
หมายเรียก : (กฎ) น. ในคดีอาญา หมายถึง หมายสั่งให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มาที่พนักงานสอบสวน หรือมาที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจชั้น ผู้ใหญ่ หรือมาศาลเนื่องในการสอบสวน การไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณา คดีหรือการอย่างอื่น ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา, ในคดีแพ่ง หมายถึง หมายซึ่งศาลออกเรียกบุคคลเข้ามาเป็น คู่ความในคดีแพ่ง หรือเรียกบุคคลมาเป็นพยาน หรือให้ส่งพยานหลักฐาน ให้ศาล; หมายที่นายอําเภอออกเรียกบุคคลที่เป็นทหารกองเกินมาตรวจ เลือกเข้าเป็นทหารกองประจําการ.
อื้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคำ, เอิ้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.
เอิ้น : ก. พูด, เรียก, เรียกร้อง, กล่าวถ้อยคํา, อื้น หรือ เอื้อน ก็ว่า.