Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรือนตะเกียง, ตะเกียง, เรือน , then ตะเกียง, รอน, รอนตกยง, เรือน, เรือนตะเกียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรือนตะเกียง, 366 found, display 1-50
  1. เรือนตะเกียง : น. กระโจมไฟ. (ดู กระโจมไฟ ที่ กระโจม).
  2. เรือน : น. สิ่งปลูกสร้างที่ยกพื้นและกั้นฝา มีหลังคาคลุม สําหรับเป็นที่อยู่, ที่อยู่; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อาศเลษา มี ๕ ดวง ดาวนกอยู่ในปล่อง หรือ ดาวอสิเลสะ ก็เรียก; ทรวดทรง เช่น เรือนผม, ที่รับเพชรพลอย เช่น เรือนแหวน; จํานวน เช่น เงินเรือนหมื่น ราคาเรือนแสน; ลักษณนาม ใช้เรียกนาฬิกา เช่น นาฬิกาเรือนหนึ่งนาฬิกา ๒ เรือน.
  3. ประภาคาร : น. กระโจมไฟ, เรือนตะเกียง ก็เรียก. (ดู กระโจมไฟ ที่ กระโจม). (ส.).
  4. กระโจมไฟ : น. หอสูงซึ่งตามไฟฉายแสงอย่างแรงไว้บนยอดเพื่อใช้ บอกสัญญาณในการเดินเรือเป็นต้น, ประภาคาร หรือ เรือนตะเกียง ก็เรียก.
  5. ตะเกียง : น. เครื่องใช้สําหรับตามไฟ มีรูปต่าง ๆ บางชนิดมีหลอดบังลม, ลักษณนาม ว่า ดวง.
  6. ตะเกียง : น. หน่อสับปะรดที่แตกออกจากโคนขั้วของผล, หน่อกล้วยไม้ประเภทหวายที่ แตกออกจากข้อ.
  7. ตะเกียงแก๊ส : น. ตะเกียงที่ใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับนํ้าได้แก๊ส อะเซทิลีนซึ่งจุดไฟติดให้ความสว่าง.
  8. ตะเกียงเจ้าพายุ : น. ตะเกียงชนิดหนึ่ง เมื่อเผาไส้แล้วสูบลมให้ดันน้ำมันเป็น ไอขึ้นไปเลี้ยงไส้ทำให้เกิดแสงสว่างนวลจ้า.
  9. ตะเกียงรั้ว : น. ตะเกียงหิ้วที่มีลวดพันรอบครอบแก้วซึ่งครอบดวงไฟ.
  10. ตะเกียงลาน : น. ตะเกียงชนิดไขลานให้ใบพัดหมุนเป่าลมไล่ควันและช่วยให้ไฟ สว่างนวล.
  11. เรือนเครื่องผูก : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีผูกด้วยหวาย เป็นต้น, คู่กับ เรือนเครื่องสับ.
  12. เรือนเครื่องสับ : น. เรือนที่มีลักษณะคุมเข้าด้วยกันด้วยวิธีเข้าปากไม้, คู่กับ เรือนเครื่องผูก, เรือนฝากระดาน ก็เรียก.
  13. เรือนเบี้ย : น. เรียกทาสที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงินว่า ทาสเรือนเบี้ย.
  14. เรือนฝากระดาน : น. เรือนเครื่องสับ.
  15. เรือนแฝด : น. เรือนทรงไทยซึ่งปลูกให้ตัวเรือน ๒ หลังมีชายคาเชื่อมต่อ กันทางด้านรี โดยมีขนาดกว้าง ยาว และสูงเท่ากัน และแต่ละหลังมีจั่ว และพื้นสูงเสมอกัน.
  16. เรือนแพ : น. เรือนที่เคยตั้งอยู่บนแพในน้ำแล้วยกขึ้นมาปลูกบนบก.
  17. เรือนไฟ : น. กระจุกตะเกียงหรือโคม; ขนาดของไฟในตะเกียงหรือโคม; ครัวสำหรับหุงต้มอาหาร; โรงพิธีสำหรับบูชาไฟ; (โบ) ประภาคาร.
  18. เรือนหอ : น. เรือนซึ่งปลูกสำหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่.
  19. เรือนจำ : น. ที่ขังนักโทษและผู้ต้องหา; (กฎ) ที่ซึ่งใช้ควบคุมกักขัง ผู้ต้องขังกับทั้งสิ่งที่ใช้ต่อเนื่องกัน และหมายความรวมตลอดถึงที่อื่น ใดซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้กําหนดและประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาวางอาณาเขตไว้โดยชัดเจน.
  20. เรือนธาตุ : น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ ธาตุครรภ ก็ว่า.
  21. เรือนยอด : น. อาคารที่มีหลังคาเป็นเครื่องยอดแบบต่าง ๆ เช่น แบบ มณฑป แบบยอดปรางค์ แบบยอดปราสาท แบบยอดมงกุฎ แบบยอด เจดีย์ (ใช้แก่อาคารที่ใช้ในกิจเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และศาสนา).
  22. โรงเรือน : (กฎ) น. ตึก บ้าน เรือน โรงหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่ง บุคคลอาจเข้าอยู่หรืออาจเข้าใช้สอยได้และหมายความรวมถึงแพด้วย.
  23. ครัวเรือน : น. ครอบครัวที่อยู่ในบ้านเรือนเดียวกัน.
  24. เครื่องเรือน : น. เครื่องปรุงเรือนหรือเครื่องไม้ที่จะคุมกันเข้าเป็นเรือน เช่น ขื่อ เสา; เครื่องตกแต่งภายในเรือน เช่น ตู้ โต๊ะ เก้าอี้.
  25. เจ้าเรือน : น. นิสัยซึ่งประจําอยู่ในจิตใจ เช่น มีโทสะเป็นเจ้าเรือน; (โหร) ดาวเจ้าของราศี.
  26. ประทีป : น. ไฟที่มีเปลวสว่าง (หมายเอาตะเกียง ไฟเทียน เป็นต้น), ตะเกียง, โคม. (ส. ปฺรทีป; ป. ปทีป).
  27. ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ : (สํา) ก. ทําตามความพอใจของผู้ที่จะได้รับผล โดยตรง, มักพูดเข้าคู่กับ ผูกอู่ตามใจผู้นอน เป็น ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน.
  28. ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า : (สํา) ก. ทําสิ่งใด ๆ ให้พอสมควร กับฐานะของตน, ปลูกเรือนแต่พอตัว หวีหัวแต่พอเกล้า ก็ว่า.
  29. ผีเรือน : น. ผีที่อยู่ประจําเรือน.
  30. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน : (กฎ) น. ภาษีที่เรียกเก็บจากผู้รับประเมินผู้มี กรรมสิทธิ์ในที่ดิน โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นปีละครั้งตาม ค่ารายปีของทรัพย์สินนั้น.
  31. มีเรือน : ว. มีครอบครัว, แต่งงานแล้ว, (ตามปรกติใช้แก่ผู้หญิง), มีเหย้ามีเรือน ก็ว่า
  32. แม่เจ้าเรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  33. แม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  34. แม่เหย้าแม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เรือน ก็ว่า.
  35. เวศม์ : น. บ้าน, เรือน, ที่อยู่. (ส.).
  36. สลับเรือน : (โหร) ก. อาการที่ดาวพระเคราะห์สับเปลี่ยนเรือนเกษตรกัน ในดวงชะตาบุคคล เช่นเจ้าเรือนเกษตรพุธราศีกันย์มาครองเรือนเกษตร ศุกร์ราศีตุลย์ และเจ้าเรือนเกษตรศุกร์ราศีตุลย์ไปครองเรือนเกษตรพุธ ราศีกันย์.
  37. หลังคาเรือน : น. เรือนหรืออาคารที่ถือเอาทะเบียนบ้านเป็นหลักในการนับ เช่น หมู่บ้านนี้มี ๓๐ หลังคาเรือน.
  38. ออกเรือน : ก. แยกจากเรือนพ่อแม่ไปอยู่เรือนใหม่เนื่องในการมีผัว.
  39. รอน : ก. ตัดให้เป็นท่อน ๆ เช่น รอนฟืน; ทำให้ลดลง เช่น รอนกําลัง.
  40. กินบนเรือนขี้บนหลังคา : (สํา) ก. เนรคุณ.
  41. ทนายเรือน : (โบ) น. พนักงานฝ่ายในมีหน้าที่ติดต่อกับสถานที่ ต่าง ๆ ในพระราชวัง.
  42. ทุนเรือนหุ้น : (กฎ) น. ทุนจดทะเบียนของบริษัทซึ่งแบ่งออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กัน. (อ. capital stock).
  43. บ้านเรือน : น. บ้านที่อยู่อาศัย.
  44. ปลูกเรือนคร่อมตอ : (สํา) ก. กระทําสิ่งซึ่งล่วงลํ้า ก้าวก่าย หรือทับสิทธิ ของผู้อื่น จะโดยรู้เท่าถึงการณ์หรือไม่ก็ตาม.
  45. ผีบ้านไม่ดี ผีป่าก็พลอย, ผีเรือนไม่ดี ผีป่าก็พลอย : (สํา) น. คนในบ้านเป็นใจช่วยให้คนนอกบ้านเข้ามาทําความเสียหายได้.
  46. ผู้รับเรือน : (กฎ) น. บุคคลที่เข้าทําสัญญาคํ้าประกันผู้คํ้าประกัน อีกชั้นหนึ่ง.
  47. พ่อเรือน : (โบ) น. พลเรือน.
  48. มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว : (สํา) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อย แต่กังวลจนนอนไม่หลับ.
  49. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  50. ขัดแตะ : ก. เรียกเรือนที่มีฝาเอาไม้ไผ่ซีกสอดขัดกับลูกตั้งว่า เรือน ฝาขัดแตะ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-366

(0.1383 sec)