Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เรื่องเล็ก, เรื่อง, เล็ก , then รอง, รองลก, เรื่อง, เรื่องเล็ก, ลก, เล็ก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เรื่องเล็ก, 1907 found, display 1-50
  1. เล็ก : ว. มีขนาดย่อมกว่าเมื่อเทียบกัน เช่น ละมุดเล็กกว่าส้มโอ กล้วยไข่ เล็กกว่ากล้วยหอม, มีขนาดไม่โต เช่น บ้านหลังนี้เล็ก, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่สําคัญ, สําคัญน้อยกว่า, เช่น เรื่องเล็ก.
  2. เรื่อง : น. ภาวะหรือเนื้อหาของสิ่งซึ่งเนื่องกับข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์อย่างใด อย่างหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เรื่องประวัติศาสตร์ เรื่องการเมือง เรื่องเศรษฐกิจ; เนื้อความ เช่น อ่านเอาเรื่อง, คดี, เหตุ, เช่น ไปก่อเรื่อง ไปมีเรื่อง.
  3. ยุ่งใจ : ก. กังวลวุ่นวายใจ เช่น เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ทำให้ยุ่งใจได้.
  4. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  5. เล็กน้อย : ว. นิดหน่อย เช่น เสียหายเล็กน้อย, ไม่สําคัญ เช่น เรื่อง เล็กน้อย.
  6. ขุทกนิกาย : น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๕ แห่งพระสุตตันตปิฎก แปลว่า หมวดเล็กน้อย รวบรวมข้อธรรมะที่ไม่อยู่ใน ๔ นิกายข้างต้น มี ๑๕ เรื่อง ซึ่งมี ธรรมบทและชาดก รวมอยู่ในคัมภีร์นี้ด้วย.
  7. เบ็ดเตล็ด : [เบ็ดตะเหฺล็ด] ว. เล็ก ๆ น้อย ๆ หลาย ๆ อย่างรวมกัน เช่น ของ เบ็ดเตล็ด, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สู้จะสําคัญอะไรนัก เช่น เรื่องเบ็ดเตล็ด.
  8. ละครเล็ก : น. ละครที่ใช้หุ่นใหญ่เชิดเป็นตัวละคร เช่น ละครเล็ก เรื่องพระอภัยมณี ละครเล็กเรื่องขุนช้างขุนแผน.
  9. เรื่องราว : น. เรื่องที่พูดหรือเล่าติดต่อกันไป.
  10. เรื่องสั้น : น. บันเทิงคดีร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่าโดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิก ความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิดเป็นต้น เช่น เรื่องสร้อยคอที่หาย ของประเสริฐอักษร เรื่องจับตาย ของมนัส จรรยงค์ เรื่องมอม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช.
  11. เล็กพริกขี้หนู : (สํา) ว. เล็กแต่เก่งกล้าสามารถมาก, เล็กแต่มีพิษสง.
  12. กระจอก ๓ : ว. เขยก (ใช้แก่ขา). (ข. ขฺจก ว่า ขาพิการ); (ปาก) ไม่สำคัญ, เล็กน้อย, เช่น เรื่องกระจอก, .ต่ำต้อย เช่น คนกระจอก.
  13. จ้อย ๑ : ว. เล็ก, น้อย, เช่น เรื่องจ้อย.
  14. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  15. ถือสา : ก. ยึดเอาเป็นเรื่องเป็นราว, ถือเอาเป็นโทษ, (มักใช้ในทางปฏิเสธ) เช่นเรื่องเล็กน้อยไม่ควรถือสา.
  16. ทะเลาะเบาะแว้ง : ก. ทะเลาะกันด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หยุม ๆ หยิม ๆ.
  17. บานปลาย : (สํา) ก. ขยายออกไปมากกว่าที่ตั้งใจไว้เดิม, ขยายเรื่อง เล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่โตออกไป; ใช้เงินเกินกว่าที่ ประมาณ หรือกำหนดไว้.
  18. ปากมาก : ว. ชอบพูดว่าคนอื่นซํ้า ๆ ซาก ๆ, พูดมาก, (ในทางช่างว่า ช่างติ), พูดขยายเรื่องเล็กน้อยให้มากออกไป.
  19. มโนสาเร่ : น. เรื่องเบ็ดเตล็ดหยุมหยิม เช่น เรื่องมโนสาเร่, เรียกคดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่า จำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่า คดีมโนสาเร่.
  20. ย่อย : ก. ทําเป็นส่วนเล็กส่วนน้อยโดยแยกจากส่วนใหญ่ เช่น ย่อยหิน; ทำให้ ละลายจนซึมซาบได้ เช่น ย่อยอาหาร. ว. เรียกส่วนน้อยที่แยกจากส่วน ใหญ่ เช่น ส่วนย่อย กลุ่มย่อย, เบ็ดเตล็ด, ไม่สำคัญ, เช่น ข่าวย่อย, เรียก ละครเรื่องสั้น ๆ ว่า ละครย่อย; เรียกธนบัตรที่ราคาน้อยกว่าฉบับที่มี ราคามากว่า ธนบัตรย่อย หรือ แบงก์ย่อย.
  21. ระหองระแหง : ก. บาดหมางกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ปรองดองกัน, เช่น ผัวเมีย ระหองระแหงกันอยู่เสมอ. ว. ผิดใจกันเพราะเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ, ไม่ ใคร่ถูกกัน, เช่น เขามีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เรื่อย.
  22. ไร ๆ : ว. อาการที่มองเห็นอยู่ไกลลิบ ๆ ไม่ชัด เช่น เห็นทิวไม้อยู่ไร ๆ; เริ่ม นึกออกได้เล็กน้อย เช่น เรื่องที่มาปรึกษานึกเห็นทางออกได้ไร ๆ, รำไร ก็ว่า.
  23. ละเอียด : ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้า ละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือ แจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดย ละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
  24. เลือดตกยางออก : ก. มีบาดแผลถึงเลือดออก เช่น ต่อสู้กันจนถึง เลือดตกยางออก; รุนแรง เช่น เรื่องเล็กแค่นี้อย่าให้ถึงกับเลือด ตกยางออกเลย.
  25. โวย : (ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิด เดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวย เรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.
  26. สันทัด : ก. ถนัด, จัดเจน, เช่น เรื่องนี้เขาไม่สันทัด เขาสันทัดในด้านคำนวณ. ว. ปานกลาง, ไม่ใหญ่ไม่เล็ก, ไม่สูงไม่ตํ่า, (ใช้แก่รูปร่าง), เช่น รูปร่าง สันทัด.
  27. หยุมหยิม : ว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสําคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.
  28. กถา : [กะ-] น. ถ้อยคํา, เรื่อง, คําอธิบาย, คํากล่าว. (ป.).
  29. กรณี : [กะระ-, กอระ-] น. คดี, เรื่อง, เหตุ, เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้. (ป., ส. กรณี ว่า ที่เป็นเหตุกระทํา).
  30. ปกรณัม : [ปะกะระนำ] น. ปกรณ์, เรื่อง, เช่น ปักษีปกรณัม. (ส. ปฺรกรณ; ป. ปกรณ).
  31. เหตุ : [เหด] น. สิ่งหรือเรื่องที่ทําให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่อง; เหตุผล. สัน. ด้วย, เพราะ. (ป., ส.).
  32. อาขยาน : [ขะหฺยาน, ขะยาน] น. บทท่องจํา; การเล่า, การบอก; การสวด; เรื่อง, นิทาน. (ส.; ป. อกฺขาน).
  33. กะแอ ๒ : ว. อ่อน, เล็ก, เรียกลูกควายตัวเล็ก ๆ ตามเสียงที่มันร้องว่า ลูกกะแอ, ลูกแหง่ ก็ว่า.
  34. เก็บเล็กผสมน้อย : ก. เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย.
  35. เข้าเรื่อง : ว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง.
  36. โครงเรื่อง : น. เค้าเรื่องที่กําหนดขึ้น.
  37. จ้อน ๒ : ว. แคระ, เล็ก, แกร็น; เฟ็ด, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง, เช่น นุ่งผ้าจ้อน.
  38. เดินเรื่อง : ก. เริ่มกล่าวเนื้อเรื่องเรื่อยไป; ติดต่อวิ่งเต้นให้เรื่องราวสําเร็จ ลุล่วงไป.
  39. ต้นเรื่อง : น. มูลเหตุที่ทําให้เกิดเรื่องนั้น ๆ, เรื่องเดิม.
  40. ต้อย ๑ : ว. จ้อย, เตี้ย, เล็ก, น้อย, เช่น ไก่ต้อย.
  41. ท้องเรื่อง : น. เนื้อเรื่องที่ดําเนินไปตั้งแต่ต้นจนจบ.
  42. เนื้อเรื่อง : น. เรื่องราว, สาระของเรื่อง.
  43. ปืนเล็กยาว : น. ปืนเล็กที่มีลำกล้องยาวติดดาบปลายปืนได้.
  44. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้เรื่องได้ราว : ว. ถือเป็นเรื่องเป็นราวไม่ได้, ถือเป็นสาระไม่ได้.
  45. ไม่เป็นเรื่อง, ไม่เป็นเรื่องเป็นราว : ว. ไม่มีสาระ เช่น เรื่องไม่เป็นเรื่อง.
  46. รถไฟเล็ก : น. รถไฟขนาดเล็กที่จัดวิ่งให้ผู้โดยสารนั่งในระยะใกล้ ๆ เพื่อความบันเทิง เช่น ตามสวนสนุกหรือในงานเทศกาล.
  47. ราวเรื่อง : น. เรื่องที่ต่อเนื่องกันยืดยาว.
  48. รู้เรื่อง : ก. เข้าใจเรื่อง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดเท่าไร ๆ ก็ไม่ รู้เรื่อง.
  49. ลูกเด็กเล็กแดง, ลูกเล็กเด็กแดง : น. เด็กเล็ก ๆ หลายคน.
  50. หรัสว- : [หะรัดสะวะ-] ว. สั้น; เล็ก, น้อย; ตํ่า, เตี้ย. (ส.; ป. รสฺส).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1907

(0.2116 sec)