เรื่อย, เรื่อย ๆ : ว. มีลักษณะอาการอันต่อเนื่องกันไปไม่ขาดระยะ เช่น ทำงานเรื่อยไม่ หยุดเลย เดินไปเรื่อย ๆ พูดไปเรื่อย ๆ; เฉื่อย, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดมา เรื่อย ๆ เขาเป็นคนเรื่อย ๆ.
เรื่อยเปื่อย : ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย เช่น พูดเรื่อยเปื่อย เดิน เรื่อยเปื่อย.
เรื่อยเฉื่อย : ว. เอื่อย ๆ, ตามสบาย, ไม่กระตือรือร้น, ไม่รีบร้อน, เช่น เขาเป็นคนเรื่อยเฉื่อย.
เรื่อยเจื้อย : ว. อาการที่พูดยืดยาว แต่มีสาระน้อย, เลื้อยเจื้อย ก็ว่า.
ระเรื่อย : ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย, เสมอ, ไม่ขาด, ไม่หยุด,ไม่พัก.
รอย : น. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้น สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอย ประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึง ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.
ฉะเฉื่อย : (กลอน) ว. เฉื่อย, ช้า, เรื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน.
เร่า, เร่า ๆ : ว. สั่นระรัว, ไหวถี่ ๆ, เช่น ดิ้นเร่า ๆ, อาการที่ซอยเท้าถี่ ๆ ด้วยความ โกรธเป็นต้น เช่น เต้นเร่า ๆ, เรื่อย ๆ ไม่หยุดเสียง เช่น นกกาเหว่าเร่าร้อง.
เหมื่อย, เหมื่อย ๆ : (โบ) ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เรื่อย ๆ.
คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
เฉื่อย ๑, เฉื่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, ช้า ๆ, เช่น ลมเฉื่อย ลมพัดเฉื่อย ๆ, ไม่รีบร้อน, อืดอาด, เช่น คนเฉื่อยทํางานเฉื่อย ๆ.
ดุ่ย : ว. เรื่อย ๆ ไปโดยไม่มีจุดหมาย.
มะเมื่อย, มะเหมื่อย : (กลอน) ว. เรื่อย ๆ, มาเนือง ๆ, มาติด ๆ กัน, ใช้ เหมื่อย ๆ ก็ได้.
รวยริน : ว. เรื่อย ๆ, ชื่น ๆ.
รำเพย ๑ : ก. พัดอ่อน ๆ เรื่อย ๆ มักพากลิ่นหอมของดอกไม้มาด้วย (ใช้แก่ลม).
ริน, ริน ๆ : ก. เทให้ไหลออกเรื่อย ๆ ทีละน้อย เช่น รินนํ้าใส่ถ้วย. ว. เรื่อย ๆ, น้อย ๆ, เช่น นํ้าไหลริน ลมพัดริน ๆ. น. ทองคําที่มีเนื้อหย่อนกว่าเนื้อ ๔ เรียกว่า ทองริน.
เลิกรา : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น ร้านแถวนี้ขายไม่ดี จึงเลิกรากันไป เรื่อย ๆ บ้าน ๒ หลังนี้ทะเลาะกันเรื่อย หนักเข้าก็เลิกรากันไปเอง.
หย่อย, หย่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, บ่อย ๆ, เช่น มากันหย่อย ๆ ไม่ขาดสาย, น้อย ๆ เช่น ให้เงิน ทีละหย่อย.
เอื่อย, เอื่อย ๆ : ว. เรื่อย ๆ, เฉื่อย ๆ, เช่น ลมพัดเอื่อย นํ้าไหลเอื่อย ๆ, ตามสบาย ไม่รีบร้อน เช่น เดินเอื่อย ๆ.
รุ่ม : ว. ร้อนผ่าว ๆ; (ปาก) เรื่อย, บ่อย, เช่น เรียกใช้เสียรุ่ม, มาก เช่น รวยรุ่ม.
เร่อ : ว. เรื่อย, เฉื่อย; เซ่อ.
กบเลือกนาย : (สํา) น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.
กรม ๑ : [กฺรม] ก. ระทม, เจ็บอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรมใจ; กลัด เช่น กรมหนอง. [ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า ลำบาก เช่น กฺรุํจิต = ลำบากใจ], ตรม ก็ว่า.
กรรมวิธี : [กํามะวิที] น. ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือ เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทําขึ้นอันดําเนินติดต่อ กันเรื่อยไปเป็นลําดับ, กระบวนวิธีดําเนินการในประดิษฐกรรม.
กรอม ๒ : [กฺรอม] ว. ระทม, เจ็บช้ำอยู่ภายในเรื่อยไป, เช่น กรอมใจ.
กร่อม, กร่อม ๆ : (โบ) ว. ช้า ๆ เงื่อง ๆ แต่ทําเรื่อยไป (มักใช้แก่การเดิน พายเรือ หรือลุยน้ำ) เช่น เดินกร่อม ๆ กรําฝนฟ้า พายเรือกร่อม ๆ. (อักษรประโยค).
กร่าง : [กฺร่าง] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Ficus altissima Blume ในวงศ์ Moraceae เปลือกเรียบสีเทา ใบกว้างหนารูปไข่ ปลายมน ไม่มีขน ผลกลม เมื่อสุกสีส้มออกแดง, ลุง ฮ่างหลวง หรือ ไทรทอง ก็เรียก. (ปาก) ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย.
กร่ำ ๔ : [กฺร่ำ] (ปาก) ว. ใช้ประกอบกับอาการเมา เช่น เมาเหล้า ว่า เมากร่ำ หมายความว่า เมาเรื่อยไป.
กรุ่น : [กฺรุ่น] ว. อาการของไฟที่ยังไม่ดับแต่ไม่ถึงกับลุกโพลง เช่น ไฟติดกรุ่นอยู่, โดยปริยายหมายความว่า ยังเหลืออยู่บ้าง, มีเรื่อย ๆ อยู่, เช่น ควันกรุ่น หอมกรุ่น; ยังไม่ดับสนิท, ร้อนรุ่มอยู่ภายใน, เช่น โกรธกรุ่น.
กรุ่ม : [กฺรุ่ม] ก. ขันบ่อย ๆ (ปรกติใช้แก่นกเขา แต่ใช้แก่นกอื่นก็มีบ้าง) เช่น บางพวกจับเป็นคู่คูขันกันโดยธรรมดาเวลากรุ่มกําลังที่ตั้งขึ้น ตามฤดู. (ม. ร. ๔ วนปเวสน์); โดยปริยายหมายความว่า สบายเรื่อย ๆ ไป เช่น มีเงินตรากินกรุ่มเป็นภูมิฐาน. (นิ. เดือน); รุ่มร้อน, ระอุ, เช่น นรกเท่ากรุ่ม เปลวร้อนเหมือนไฟ. (สุบิน).
กะเตง ๆ : ว. ลักษณะที่ไปอย่างไม่เรียบร้อยคล้ายกับมีของถ่วงอยู่ข้างหนึ่ง เช่น อุ้มลูกกะเตง ๆ พายเรือกะเตง ๆ, กะเตงเรง ก็ว่า, ลักษณะที่ไป อย่างเรื่อยเปื่อย เช่น วัน ๆ ได้แต่กะเตง ๆ ไปโน่นไปนี่.
กะเร่กะร่อน : ก. เร่ร่อนเรื่อยไป, ไม่อยู่ประจําที่.
เก : ว. ไม่ตรงตามแนว, ไม่เป็นระเบียบ, (ใช้แก่ของที่เป็นซี่เป็นลํา) เช่น ฟันเก ขาเก; ไม่ยอมปฏิบัติตามระเบียบ; เกะกะ, เกเร; (ปาก) ท้าพนันด้วยการเสนอเงินเดิมพันสูงขึ้นเรื่อย ๆ.
โกรก : [โกฺรก] ก. เทให้ไหลเรื่อยไปยังที่หมาย เช่น โกรกน้ำ, เทให้ไหลลงไป เช่น เอาน้ำโกรกหัว; เลื่อยกระดานไปตามยาว หรือตามแนวที่กําหนด เช่น โกรกไม้; พัดอยู่เรื่อย ๆ เช่น ลมโกรก. น. ซอกลึกของเขา, โตรก ก็ว่า.
ขนาบ : [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบน หรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับ ของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
ไขลาน : (ปาก) ก. สั่ง, บอกให้ทํา, เช่น ต้องไขลานกันอยู่เรื่อย ไม่อย่างนั้น ไม่ทํา; หมดกําลัง, หมดแรง, เช่น พอขึ้นชกยกที่ ๕ นักมวยก็เริ่มไขลานแล้ว.
ครวญคราง : ก. ครางเรื่อย ๆ ไป.
คลายคล้าย, คล้ายคล้าย : ก. เคลื่อนเรื่อย ๆ ไป, คล้อย, เช่น หมอมิกลัวกลาย จระคล่าย เข้าป่าไปคลายคล้ายด่วนดั้นโดยทาง. (ลอ), คลี่ไคลพลคล้ายคล้าย แลนา. (ลอ); (ถิ่น-พายัพ) ย้าย. (อะหม คล้ายคล้าย ว่า โดยลําดับ).
ความเร่ง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. acceleration).
ความหน่วง : (วิทยา) น. อัตราการเปลี่ยนความเร็วที่ลดลงเรื่อย ๆ ต่อ ๑ หน่วยเวลา. (อ. retardation).
เงินหมุน : น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.
จ้อ : ว. อาการที่พูดหรือคุยเรื่อยไปไม่หยุดปาก เช่น พูดจ้อ.
เจื้อย : ว. เรื่อยไปไม่มีติดขัด เช่น เทศน์เจื้อย พูดเจื้อย แล่นเจื้อย.
เจื้อยแจ้ว : ว. มีเสียงไพเราะทอดยาวติดต่อเรื่อยไปไม่ขาดระยะ.
ฉิว : ว. เร็วเรื่อยไปไม่ขาดสาย เช่น ลมพัดฉิว, เร็วไม่มีติดขัด เช่น แล่นฉิว เดินฉิว; คล่อง, สะดวก. ก. รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที.
ฉุย : ว. อาการที่กลิ่นโชยมากระทบจมูก; อาการของควันที่พลุ่งขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่น ควันฉุย; คล่องแคล่ว เช่น เดินฉุย.
ชวย : ก. พัดอ่อน ๆ, พัดเรื่อย ๆ, (ใช้แก่ลม).
แซะ ๑ : ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้ว ช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทํางานอยู่เรื่อย.
ดินพอกหางหมู : (สํา) ที่คั่งค้างพอกพูนขึ้นเรื่อย ๆ.
ดุน : ก. รุน, ทําให้เคลื่อนไปเรื่อย ๆ ด้วยแรงดัน; ทําให้ลวดลายบางอย่างนูนขึ้น เช่น ดุนลาย. ว. เรียกลวดลายที่มีลักษณะเช่นนั้นว่า ลายดุน.