เร้า : ก. กระตุ้นเตือน เช่น เร้าอารมณ์; ปลุกใจ เช่น พูดเร้าใจ. ว. ที่กระตุ้น เตือน เช่น สิ่งเร้า.
รุมเร้า : ก. ประดังเข้ามา เช่น มีเรื่องร้าย ๆ เข้ามารุมเร้าอยู่เสมอ.
จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
เซ้าซี้ : ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, กระเซ้ากระซี้ ก็ว่า.
พฤติกรรม : น. การกระทําหรืออาการที่แสดงออกทางกล้ามเนื้อ ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า.
พิชาน : น. ความรู้สึกตัว, การรับรู้อารมณ์หรือสิ่งเร้า. (อ. consciousness).
รบ : ก. สู้กัน, ต่อสู้ในทางศึก, เช่น ไปรบกับข้าศึกที่ชายแดน, สู้ เช่น รบกับ หญ้าไม่ชนะ; เร้าจะเอาให้ได้ เช่น ลูกรบแม่ให้ซื้อตุ๊กตา.
รา ๑ : น. ไม้ที่กระหนาบอยู่ใต้ท้องพรึงรับพื้นเรือนเพื่อไม่ให้พื้นอ่อน อยู่ระหว่าง รอด; ไม้จีมเสาที่ปากหลุมซึ่งยังไม่ได้กลบดินเพื่อกันไม่ให้โอนเอน เรียกว่า ราคอเสา.
รา ๒ : น. ชื่อเรียกพืชชั้นตํ่าที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ และลําต้น ใบ ราก ที่แท้จริง ส่วนมากเจริญเป็นเส้นใย แบ่งเป็น ๒ พวก คือ ราเมือก และ ราแท้ สืบพันธุ์โดยสปอร์อาศัยอยู่บนซากของพืชหรือสัตว์ ขึ้นเบียนหรืออยู่ ร่วมกับพืชอื่นก็มี.
รา ๓ : ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป; น้อยลง, อ่อนลง, เช่น ไฟราดับไปเอง. (กลอน) ว. คําชวนอีกฝ่ายหนึ่งให้กระทําตาม เช่น ไปเถิดรา.
รา ๔ : (กลอน) ส. เราทั้งคู่, เขาทั้งคู่, ในคําว่า สองรา, ต่อมาใช้หมายถึงเกิน ๒ ก็ได้ เช่น เร่งหาประกันมาทันใด ผู้คุมเหวยรับไว้ทั้งสามรา. (ขุนช้าง ขุนแผน).
สะอิดสะเอียน : ก. ชวนให้คลื่นไส้อย่างรุนแรง ทั้งโดยตรงและโดยปริยายต่อสิ่งที่ เร้าเร่งให้เกิดอารมณ์เช่นนั้น เช่น เห็นหมาเน่าแล้วสะอิดสะเอียน เห็นคนฉ้อราษฎร์บังหลวงแล้วสะอิดสะเอียนไม่อยากเข้าใกล้.
หืด : น. ชื่อโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากหลอดลมตอบสนอง ต่อสิ่งเร้าอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในคนทั่วไป ทําให้ หลอดลมตีบแคบลงจนเกิดอาการหายใจไม่สะดวก, หืดหลอดลม ก็เรียก.
อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
ราโชงการ : [ราโชงกาน] น. ราชโองการ.
ราไชศวรรย์ : [ราไชสะหฺวัน] น. ราชสมบัติ. (ส.).
ราน้ำ : ก. ต้านน้ำ เช่น เอาเท้าราน้ำ เอาไม้ราน้ำ.
ราไฟ : ก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืน ราไฟ ก็ว่า.
ราแจว, ราพาย : ก. เอาแจวหรือพายแตะน้ำเรียด ๆ เพื่อชะลอเรือไว้.
ราชาธิปไตย :
ดู ราช๑ราช.
ราชาธิปไตย : น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่. (ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).
ราชายตนะ : น. ไม้เกด. (ป., ส.).
ราไชศวรรย์ :
ดู ราช๑ราช.
รามือ : ก. ทำงานน้อยลง.
กันเกรา : [-เกฺรา] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Fagraea fragrans Roxb. ในวงศ์ Gentianaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะทั่วไปในป่าดิบ ใบสีเขียวแก่ ค่อนข้างหนา ยาวราว ๕-๗ เซนติเมตร ดอกดก สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หอมมาก ออกเป็นช่อคล้ายช่อดอกเข็ม ผลเท่าเมล็ดถั่วลันเตา เมื่อสุกสีแดง เนื้อไม้สีเหลืองละเอียด แน่น เป็นมัน แข็งและทนทาน นิยมใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ, ตําเสา หรือ มันปลา ก็เรียก.
ขี้หมูราขี้หมาแห้ง : ว. ไร้สาระ, ไร้ประโยชน์, เช่น เรื่องขี้หมูราขี้หมาแห้ง.
จตุราริยสัจ : [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา : น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดีและปรนิมมิตวสวัตดี มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศ ทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า.
บราทุกรา : [บะราทุกฺรา] (โบ; กลอน) น. รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ปราทุกรา : [ปฺราทุกฺรา] (กลอน) น. ปาทุกา, รองเท้า. (ป., ส. ปาทุกา).
ไม่ลดราวาศอก : ก. ไม่ยอมผ่อนปรน เช่น เถียงไม่ลดราวาศอก.
รบรา : ก. ต่อสู้กัน เช่น รบราฆ่าฟันกันเอง.
ร้างรา : ก. ค่อย ๆ เลิกร้างกันไปเอง เช่น ผัวเมียร้างรากัน.
ราชิ, ราชี : น. ทาง, สาย, แถว, เช่น รุกขราชี. (ป., ส.).
ลดราวาศอก : ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดรา วาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
สยัมวรา : [สะยําวะ] น. หญิงที่เลือกคู่เอาเอง. (ป.; ส. สยํวรา, สฺวยํวรา).
สรุกเกรา : [เกฺรา] น. บ้านนอก. (ข. สฺรุกเกฺรา).
หัวราน้ำ : ว. มากเกินปรกติจนขาดสติ ในความว่า เมาหัวราน้ำ เที่ยวหัวราน้ำ.
อักขรานุกรม : น. หนังสือสําหรับค้นชื่อเรียงลําดับตามตัวอักษร. อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ น. หนังสือสําหรับค้นชื่อทางภูมิศาสตร์ เรียงลําดับตามตัวอักษร. (อ. gazetteer).
กัญจุก, กัญจุการา : (แบบ) น. เสื้อ. (ป., ส.).
ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
คาราคาก่า, คาราคาซัง : ว. ยังไม่เสร็จ, ยังไม่แล้ว, ค้างอยู่, ติดอยู่.
เชื้อรา : น. เชื้อจุลินทรีย์อยู่ในกลุ่มพืชชั้นตํ่า บางชนิดทํา ให้เกิดโรค เช่น กลาก เกลื้อนได้.
ถาวรธิรา : [วะระ] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
ทุราจาร : น. ความประพฤติชั่วช้าเลวทรามในที่ซึ่งไม่ควร. (ป.).
นิรามิษ : [มิด] (แบบ) ว. ไม่มีเหยื่อ, ไม่มีเครื่องล่อใจ, ไม่รับสินบน; ปราศจากความยินดีอันเป็นเครื่องล่อใจ. (ส.).
นิรามิษ : ดู นิร.
บงอับบงรา, บ่งอับบ่งรา : ก. เข้าที่อับจน.