เลน : น. ดินเปียกเหลวจนปั้นไม่ได้ เช่น โกยเลนลอกท้องร่อง.
เลนะ : [เล] น. เลณะ, ที่แอบ, ที่เร้น, ที่พัก, ที่อาศัย.
เลนหะรี : [เลน] น. ข่าวแรก; วันอื่น. (ช.).
ป่าชายเลน, ป่าเลน : น. ป่าที่อยู่ตามชายทะเลที่มีเลนและนํ้าทะเล ขึ้นถึง ต้นไม้ในป่าประเภทนี้มักมีรากงอกอยู่เหนือพื้นดินเพื่อคํ้า ยันลําต้น โดยมากเป็นไม้โกงกาง แสม และลําพู.
พิกเลนทรีย์ : [พิกะเลนซี] น. ร่างกายแปลกประหลาด. (ป. วิกล + อินฺทฺริย).
ไม้หลักปักขี้ควาย, ไม้หลักปักเลน : (สํา) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือน ไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).
ลน : ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้งลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบคําอื่นว่า
พิกเลนทรีย์ : ดู พิกล.
เลณฑุ : [เลนดุ] น. ก้อน, ก้อนดิน. (มาจาก ป. เลฑฺฑุ).
เลณะ : [เล] น. ที่แอบ, ที่เร้น, ที่พัก, ที่อาศัย, เขียนเป็น เลนะ ก็มี. (ป.).
กระจัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri ในวงศ์ Periophthalmidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหวและความสามารถขึ้นมาพ้นน้ำได้คล้ายปลาจุมพรวด ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทํารูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวน้ำ ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้, เขียนเป็น กะจัง ก็มี.
กระดานถีบ : น. แผ่นกระดานที่ใช้ถีบไปบนเลนเพื่อเก็บหอยปู โดยมากใช้กันในจังหวัดชลบุรี. (รูปภาพ กระดานถีบ)
กะพง ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Musculista senhousia ในวงศ์ Mytilidae เปลือกบางยาวรีสีเขียว มีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล อาศัยอยู่ตามพื้น ท้องทะเลที่เป็นเลนปนทราย โดยยึดติดกันเองเป็นกระจุกหรือ แผ่เป็นแผ่นใหญ่.
โกงกาง : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Rhizophora วงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าเลนชายทะเล นิยมใช้ทําฟืนและเผาถ่านกันมาก เมล็ดงอกตั้งแต่อยู่บนต้น ลักษณะเรียวยาวคล้ายฝัก มี ๒ ชนิด คือ โกงกางใบใหญ่ หรือ กงกอน (R. mucronata Poir.) และ โกงกางใบเล็ก (R. apiculata Blume) ชนิดนี้นิยมใช้ทำฟืนและ เผาถ่านกันมาก, พังกา ก็เรียก.
เขือ ๑ : น. ชื่อปลาในสกุล Taenioides และ Brachyamblyopus วงศ์ Gobioididae ลําตัวยาวเรียว แบนข้าง และเป็นสีชมพูโดยตลอด ตาเล็กมากอยู่ในรู บริเวณปากแม่น้ำที่มีพื้นเป็นเลน.
จลนี ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
จาก ๑ : น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอก ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
เฉลียบ ๒ : [ฉะเหฺลียบ] น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Isognomon isognomum ในวงศ์ Isognomonidae เปลือกแบน ขอบด้านบนค่อนข้างเป็นแนวตรง ขอบ ด้านล่างโค้งเว้าทางด้านหน้า นูนทางด้านตรงข้าม สีเข้มเกือบดำ เกาะอยู่ ตามรากไม้หรือหินในป่าชายเลน.
ชะคราม : [คฺราม] น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Suaeda maritima (L.) Dumort. ในวงศ์ Chenopodiaceae ขึ้นตามเลนใกล้ทะเล กิ่งก้านและใบพองกลมปลายแหลมสีเขียว เขียวอมม่วง ชมพู มีนวล กินได้, ชักคราม ก็เรียก.
ชำแระ : น. ที่แฉะ, ที่เลน, เช่น ชายชําแระข้างในตรงร่องนํ้า. (เชมสบรุก).
เชิง ๑ : น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงเทียน เชิงเขา เชิงกําแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น.
ตม ๒ : น. ดินเปียกที่เหนียวกว่าเลน.
ตะโขง : น. ชื่อจระเข้ชนิด Tomistoma schlegelii ในวงศ์ Crocodylidae มีขนาด ใหญ่มากขนาดยาวได้ถึง ๔.๕ เมตร ตัวสีนํ้าตาลแดงมีลายสีนํ้าตาลเข้ม ปากเรียวยาวคล้ายปากปลา เข็มหางแบนใหญ่ใช้ว่ายนํ้า อาศัยตามป่า เลนชายนํ้ากร่อย ในประเทศไทยพบเฉพาะทางภาคใต้เท่านั้น, จระเข้ ปากกระทุงเหว ก็เรียก.
ตะบูน : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ในสกุล Xylocarpus วงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชายเลน และริมแม่นํ้าที่นํ้าเค็มขึ้นถึง มี ๒ ชนิด คือ ตะบูนขาว หรือ กระบูน (X. granatum Koenig) เปลือกสีนํ้าตาลแกมแดง ผลขนาดส้มโอ และ ตะบูนดํา [X. moluccensis (Lam.) M. Roem.] เปลือกสีนํ้าตาลแกมดํา ผลขนาดส้มเกลี้ยง.
ถีบกระดาน : ก. อาการที่นั่งบนกระดานแล้วเอาเท้าถีบเลนให้กระดาน แล่นไป.
ปลัก : [ปฺลัก] น. แอ่งที่เป็นโคลนเลน เช่น ปลักควาย.
ปุ่มเปือก, ปุ้มเปือก : น. ต่อมนํ้าที่เกิดในเลนในตม.
เปือกตม : น. เลนตมที่ละเอียด.
แปลง ๑ : [แปฺลง] น. ที่โล่งแห่งหนึ่ง ๆ เช่น คล้องช้างกลางแปลง, พื้นที่ที่กําหนด ไว้แห่งหนึ่ง ๆ เช่น นาแปลงหนึ่ง, ที่เป็นแอ่งมีโคลนเลนซึ่งคนหรือสัตว์ ทําขึ้น เช่น แปลงหมู แปลงควาย.
ฝาด ๑ : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Lumnitzera วงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าชายเลน ใช้ทําฟืน เปลือกใช้ฟอกหนัง มี ๒ ชนิด คือ ฝาดขาว (L. racemosa Willd.) ดอกสีขาว และ ฝาดแดง (L. littorea Voigt) ดอกสีแดง.
พรอด, พรอด ๆ : [พฺรอด] ว. เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่อง เล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม. น. เรียกดินเลนที่ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น พรอดปลาไหล คือดินที่โป่งขึ้นมาซึ่งเป็นที่มีปลาไหล, ฟอด ก็ว่า.
ฟอด : ก. น่วมฟ่ามอยู่ข้างใน. ว. เสียงดังเช่นนั้น. น. เรียกดินเลนที่ ฟูดโป่งขึ้นมา เช่น ฟอดปลาไหล คือ ดินที่โป่งขึ้นมา ซึ่งเป็นที่มี ปลาไหล, พรอด ก็ว่า.
รุ่ย ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bruguiera cylindrica (L.) Blume ในวงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าชายเลน โคนต้นมีรากหายใจโค้งคล้ายรูปหัวเข่า ผลยาวเหมือน ฝักถั่ว, ถั่วขาว ก็เรียก.
ลำแพน ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Sonneratia วงศ์ Sonneratiaceae คือ ชนิด S. alba Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด S. griffithii Kurz และ S. ovata Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.
เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
ตะแหลนแป๋น : [-แหฺลน-] ว. ใช้ประกอบคํา แบน หมายความว่า แบนผิดส่วน.
ละลนละลาน : ว. ลนลาน เช่น ถูกดุเสียจนละลนละลาน.
เล่น : ก. ทําเพื่อสนุกหรือผ่อนอารมณ์ เช่น เล่นเรือ เล่นดนตรี; แสดง เช่น เล่นโขน เล่นละคร เล่นงานเหมา; สาละวนหรือหมกมุ่นอยู่กับสิ่ง ใด ๆ ด้วยความเพลิดเพลินเป็นต้น เช่น เล่นกล้วยไม้; สะสมของเก่า พร้อมทั้งศึกษาหาความเพลิดเพลินไปด้วย เช่น เล่นเครื่องลายคราม เล่นพระเครื่อง เล่นแสตมป์; พนัน เช่น เล่นม้า เล่นมวย; ร่วมด้วย, เอาด้วย, เช่น งานนี้ขอเล่นด้วยคน เรื่องคอขาดบาดตาย เขาคงไม่เล่น ด้วย; (ปาก) ทำร้าย เช่น อวดดีนัก เล่นเสีย ๒ แผลเลย; กิน เช่น หิว มาก เลยเล่นข้าวเสีย ๓ จาน. ว. อาการที่ทำหรือพูดอย่างไม่เอาจริง เช่น กินเล่น พูดเล่น, เล่น ๆ ก็ว่า.
กระดังงาลนไฟ : (สํา) น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิง ที่ยังไม่ได้แต่งงาน.
ตะเหลนเป๋น : ว. ใช้ประกอบคํา สูง หรือ ยาว หมายความว่า สูงผิดส่วน ยาวผิดส่วน.
ล่น : ก. วิ่ง, วิ่งเร็ว.
ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
ลิ่น : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Manidae ที่พบในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ชนิด Manis javanica ตัวยาว หางยาว เกล็ดหนาแข็ง ม้วนตัวได้ กินมดและปลวก และชนิด M. pentadactyla ตัวเล็กกว่า และมีโอกาสพบได้น้อยกว่าชนิดแรก, นิ่ม ก็เรียก.''
ลื่น : ก. เคลื่อนที่ไปได้คล่องบนพื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น เขาลื่นหกล้ม ลูกแก้วลื่นไปตามราง. ว. มีลักษณะทำให้เคลื่อนที่ไปได้คล่องบน พื้นที่มีความฝืดน้อย เช่น ถนนลื่น กระดานลื่น ทาน้ำมันเสียตัวลื่น, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่มีเล่ห์เหลี่ยมหรือกลเม็ดแพรวพราวจน จับไม่ติด.
ลุ่น, ลุ่น ๆ : ว. ด้วน, กุด, เช่น ไก่หางลุ่นเพราะถูกถอนขนหางหมด; ห้วน เช่น พูดลุ่น ๆ ไม่น่าฟัง; ควรมีประดับตกแต่ง แต่ไม่มี เช่น ตะพดหัวลุ่น คือ ตะพดไม่ได้เลี่ยมหัว ชกด้วยหมัดลุ่น ๆ คือ ชกด้วยหมัดล้วน ๆ ไม่ได้ใส่นวมเป็นต้น.
แล่น ๑ : ก. เคลื่อนไปด้วยเครื่องยนต์หรือแรงลมเป็นต้น เช่น รถยนต์แล่นเร็ว เรือใบแล่นช้า, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สมองกำลังแล่น ความคิดไม่แล่น; เชื่อมถึงกัน เช่น นอกชานแล่น ถึงกัน. น. ชื่อวัยของเด็กถัดจากวัยจูง เรียกว่า วัยแล่น.
แล่น ๒ : น. หลอดสำหรับเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะเช่นทอง นาก เงินให้ติดกัน, เรียกกิริยาที่ใช้หลอดเป่าไฟเพื่อเชื่อมโลหะดังกล่าวว่า เป่าแล่น.
ละล้าละลัง : ว. ห่วงหน้าห่วงหลัง, ลุก ๆ ลน ๆ.
แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).