เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
หลงใหล : ก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน, มีสติเฟือน,เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.
หลง ๆ ลืม ๆ : ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
เลือน, เลือน ๆ : ว. มัว ๆ, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ภาพเก่าสีเลือนไปจนเห็นหน้าไม่ชัด มองเห็นเลือน ๆ, เฟือน ๆ เช่น ความจำเลือนไป. ก. บัง, กั้น, เช่น มีกําแพงแลงเลือน ต่อต้าย. (ยวนพ่าย).
เลือนราง : ว. ไม่ชัดเจน, พอระลึกได้บ้าง, เช่น ความจำชักเลือนราง ไปบ้างแล้ว ตาไม่ดีมองเห็นภาพเลือนราง.
หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
หลงลืม : ก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือน ไป.
ลบเลือน : ก. เสื่อมจากสภาพเดิมจนเห็นหรือจําได้แต่ราง ๆ เช่น ตัวหนังสือลบเลือน ความจําลบเลือน.
ลืมเลือน : ก. ลืมไปบ้างหรือค่อย ๆ ลืมไปจากความทรงจำ เช่น เรื่องนี้ลืมเลือนไปบ้างแล้ว.
ลอน : น. ส่วนที่มีลักษณะสูง ๆ ตํ่า ๆ อย่างลูกคลื่นติดต่อสลับกันไปบน พื้นราบ เช่น ลอนฟูก ลอนสังกะสี, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ลอนตาล ลอนผม.
เลอ : บ. เหนือ, ข้างบน, พ้น. ว. ยิ่ง. (ข.).
ม่อลอกม่อแลก : ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อลอกม่อแลก, มะลอกมะแลก ก็ว่า.
กะป้ำกะเป๋อ : ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
เปรอะ : [เปฺรอะ] ว. เลอะ เช่น ผ้าเปรอะ, เกรอะกรัง เช่น สนิมเปรอะ, หมักหมม เช่น ขี้ไคลเปรอะ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า สับสน, ยุ่งเหยิง, เช่น ลวดลายเปรอะ วางของเปรอะไปหมด.
เฟอะ : ว. เลอะ เช่น แผลมีหนองเฟอะ.
เฟือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, เลือน.
กรด ๔ : [กฺรด] น. ภาชนะใส่น้ำเทพมนตร์ของพราหมณ์ ลักษณะเหมือน คนโทมีฝาปิด มีพวยอย่างกาน้ำ. (เลือนมาจาก ป. กลส; ส. กลศ).
กรรไกร :
[กันไกฺร] น. ตะไกร. (เลือนมาจาก กรรไตร). (ดู ตะไกร๑).
กรรฐ์, กรรฐา : [กัน, กันถา] น. คอ. (เทียบ ข. กรฺฐ ว่า คอ). (เลือนมาจาก กัณฐ์).
กรรดิ : [กัด] ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, เช่น ยาคนชี้เทพยผู้ ไกรกรรดิ ก็ดี. (ยวนพ่าย). (เลือนมาจาก ป. กตฺถติ ว่า ยกย่อง, สรรเสริญ).
กลบเกลื่อน : ก. ทําให้เรื่องเลือนหายไป.
โกเมศ : น. ดอกบัว, บัว. (เลือนมาจาก โกมุท).
ขนิษฐ, ขนิษฐา : [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).
ขัดบท : ก. แทรกเข้ามาเมื่อเขาพูดยังไม่จบเรื่อง, ใช้เลือนมาเป็น ขัดคอ ก็มี.
ขู : (กลอน) ว. มาก. (เลือนมาจาก โข).
คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
โจ่งครึ่ม, โจ๋งครึ่ม, โจ่งครุ่ม : ว. ลักษณะเสียงอย่างหนึ่งคล้ายกับเสียงกลองแขกดัง เลยหมายความ เลือนไปถึงทําการสิ่งไร ๆ ที่เป็นการเปิดเผย, อย่างเปิดเผย, อย่างโจ่งแจ้ง, อย่างไม่เกรงกลัวใคร.
ชุมพร ๑ :
น. ชื่อมะเดื่อชนิดหนึ่ง. (ดู มะเดื่อ). (เลือนมาจาก อุทุมพร).
ชุมพร ๒ : น. ชื่อปลาเนื้ออ่อน. (เลือนมาจาก สลุมพร).
ตะแลงแกง : น. ทางสี่แพร่ง, ต่อมาเลือนไปหมายถึงที่สําหรับฆ่านักโทษในสมัยโบราณ.
นวอรหาทิคุณ, นวารหาทิคุณ : [นะวะอะระหาทิคุน, นะวาระหาทิคุน] น. คุณพระพุทธเจ้า ๙ ประการ มีบท อรหํ เป็นต้น. (พูดเลือนมาเป็น นวหรคุณ).
บัวบาท : น. เท้าที่มีบัวรอง, หมายเอาเท้าผู้มีบุญอย่างพระพุทธเจ้า นิยมว่าพระพุทธเจ้ามีดอกบัวผุดขึ้นรับพระบาท, ใช้เลือนมา หมายถึงพระบาทของพระเจ้าแผ่นดินด้วย.
ประเหล : [ปฺระเหน] ว. ประหนึ่ง, ประดุจ, มักใช้เลือนเป็น ประเล่ห์. (ส. ปฺรเหลิ ว่า ปริศนา, กล).
ประอุก : ก. ระอุ; ร้อนรน เช่น หนึ่งอัคนีมีในเชองกราน บมีเป่าพัดพาน ประอุกแลลุกลามเลือน, ผิโคเคียงเกวียนเดิรหน ไป่ทันแก้ปรน ประอุกแลขุกวอดวาย. (จารึกวัดโพธิ์; อภิไธยโพทิบาทว์), ใช้เป็น กระอุ หรือ กระอุก ก็มี.
พราง : [พฺราง] ก. ทําให้เข้าใจเป็นอื่น, ทําให้เลือน, เช่น พรางตัว พรางไฟ.
พิษฐาน : [พิดสะถาน] ก. มุ่งหมาย, ขอร้องต่อสิ่งที่ตนถือว่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อ ช่วยบันดาลให้ประสบผลสำเร็จในสิ่งที่ตนมุ่งหมาย. (เลือนมาจาก อธิษฐาน).
เพ็ง : ว. เต็ม เช่น วันเพ็ง. (เลือนมาจาก เพ็ญ).
มหิศร, มหิศวร : [มะหิด, มะหิดสอน, มะหิสวน] น. ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, เลือนมาจาก มเหศวร หมายถึง พระศิวะ หรือ พระเจ้าแผ่นดิน. (ส.).
ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
ยั่ว : (โบ) น. ยาน, เครื่องพาตัวไป, เช่น วอ เสลี่ยง รถ, บางทีใช้ควบกับคํา ยาน เป็น ยั่วยาน, ต่อมาใช้เลือนเป็น ยวดยาน. ก. พูดหรือทําให้เกิดอารมณ์ใน ทางใดทางหนึ่งรุนแรงขึ้น เช่น ยั่วราคะ ยั่วโทสะ ยั่วโมโห ยั่วกิเลส.
เยอะ ๒ : น. เรียกแผลที่หนองไหลเปรอะเลอะ.
เรียบวุธ : ก. ถืออาวุธอยู่ในท่าเรียบ คือ ถือปืนแนบอยู่ทางขวา ส้นปืน จดดิน, เลือนมาจาก เรียบอาวุธ. (ปาก) ว. หมดเกลี้ยง เช่น กินเสีย เรียบวุธเลย.
เลอะเทอะ : ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหก เลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยาย หมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจา เลอะเทอะ, โบราณใช้ว่าเลอะเพอะ ก็มี.
สากรรจ์ : คําเลือนมาจาก ฉกรรจ์.
หุงขี้ผึ้ง : ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยว กับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สี ปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.
เห็จ : (กลอน) ก. เหาะ, ไปในอากาศ, เช่น รณบุตรเห็จเข้าโจมฟัน รณาภิมุขผัน หฤทัยเสาะสุดแรง. (สมุทรโฆษ). ว. เร็ว, เลือนมาจาก ระเห็จ.
อสุภ, อสุภ : [อะสุบ, อะสุบพะ] ว. ไม่งาม, ไม่สวย, ไม่ดี. น. เรียกซากศพว่า อสุภ และเลือนไปเป็น อสภ และ อาสภ ก็มี. (ป.).
เลอเลิศ : ว. เลิศยิ่ง, เลิศเลอ ก็ว่า.
เลอภพ : (วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.