เลิกร้าง : ก. ทิ้งกัน, ไม่อยู่ด้วยกัน, (ใช้แก่ผัวเมีย).
ร้าง : ก. จากไปชั่วคราว เช่น นิราศร้างห่างเหเสน่หา, แยกกันอยู่แต่ยังไม่หย่า ขาดจากกัน เช่น ผัวเมียร้างกัน. ว. ที่ถูกทอดทิ้ง เช่น พ่อร้าง แม่ร้าง, ว่างเปล่า, ปราศจากผู้คน, เช่น บ้านร้าง เมืองร้าง.
เลิก : ก. ยกหรือเปิดสิ่งที่ปูลาดหรือคลุมอยู่เป็นต้น เช่น เลิกเสื่อ เลิกผ้าคลุม นอนไม่เรียบร้อย ผ้านุ่งเลิกสูงขึ้นไป; เพิกถอนสิ่งที่เคยปฏิบัติมา เช่น เลิกทาส เลิกประเพณีหมอบคลาน เลิกกินหมาก เลิกสัมปทานป่าไม้ ผัวเมียเลิกกัน; สิ้นสุดลงชั่วคราวหรือตลอดไป เช่น โรงเรียนเลิกแล้ว กลับบ้าน เลิกเรียนเพราะจบชั้นสูงสุดแล้ว เมื่อก่อนเป็นนักแสดง เดี๋ยวนี้เลิกแล้ว, หยุด, งดกระทำสิ่งซึ่งกำลังทำอยู่, เช่น เลิกพูด เลิกกิน เลิกเล่น.
ร้างรา : ก. ค่อย ๆ เลิกร้างกันไปเอง เช่น ผัวเมียร้างรากัน.
เลิกล้ม : ก. เลิก เช่น เลิกล้มกิจการ, ยกเลิก เช่น เลิกล้มสัญญา, เลิก ดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น เลิกล้มโครงการ, ล้มเลิก ก็ว่า.
แม่ร้าง : น. หญิงที่เลิกกับผัว, บางทีเรียกว่า แม่ม่ายผัวร้าง.
เลิกทัพ : ก. ยกทัพกลับ เช่น ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพล รีบหนีไป. (เพลงในละครเรื่องสามก๊ก).
เลิกความ : (ปาก) ก. ยอมความ.
เลิกคิ้ว : ก. ยกคิ้วขึ้นแสดงความประหลาดใจเป็นต้น.
เลิกพระศาสนา : ก. ยกย่องพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรือง.
เลิกพล : ก. ยกพลกลับ.
เลิกแล้วต่อกัน : ก. ยุติการทะเลาะวิวาทบาดหมางกัน.
คู่อาศัย : น. คู่ผัวเมียที่ไม่ใช่คู่สร้างกัน จะอยู่ด้วยกันชั่วคราวแล้วเลิกร้างกันไป.
ถ่านไฟเก่า : (สํา) น. ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อน แม้เลิกร้างกันไป เมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ ง่ายขึ้น.
ม่าย : ก. มองผ่านเลยไป. ว. ไร้คู่ครองเพราะผัวหรือเมียตายจากไปและยัง ไม่ได้แต่งงานใหม่ และหมายรวมถึงเพราะหย่าขาดจากกันด้วย, ถ้าเป็นชายเรียกว่า พ่อม่าย, ถ้าเป็นหญิงเรียกว่า แม่ม่าย, โดยปริยาย เรียกหญิงที่เลิกกับผัวว่า แม่ม่ายผัวร้าง หรือ แม่ร้าง, (โบ) ไร้คู่ผัวเมีย เช่น อนึ่งหญิงใดหาผัวมิได้เปนม่ายถือกำนัลอยู่ในวัง. (สามดวง), เขียนเป็น หม้าย ก็มี.
ราเริด : ก. เลิกร้างไป.
ล้มเลิก : ก. เลิก เช่น ล้มเลิกกิจการ, ยกเลิก เช่น ล้มเลิกสัญญา, เลิกดำเนินกิจการ, ไม่ทำต่อไป, เช่น ล้มเลิกโครงการ, เลิกล้ม ก็ว่า.
ศาสนสมบัติกลาง : น. ทรัพย์สินของพระศาสนาโดยส่วนรวม ส่วนใหญ่ได้แก่ ที่ดิน อาคาร และดอกผลที่เกิดขึ้นจากที่ดินและ อาคารนั้น ๆ รวมทั้งที่ดินวัดร้างทั่วประเทศที่ทางการได้ประกาศ ยุบเลิกวัดแล้ว.
พ่อร้าง : (ถิ่น) น. ชายผู้เลิกกับเมีย.
แม่ม่ายผัวร้าง : น. แม่ร้าง.
ยุติ ๒ : [ยุดติ] ก. ตกลง, จบ, เลิก, เช่น เรื่องนี้ยุติแล้ว ไม่ต้องพิจารณาอีกต่อไป.
ยุบ : ก. ทรุด เช่น ดั้งจมูกยุบ, บุบเข้าไป เช่น หัวกะโหลกยุบ หน้าหม้อรถยนต์ ยุบ, ลด, ลดลง, เช่น พุงยุบ ฝียุบ, เรียกจังหวะรำของโขนละครเมื่อทำตัว ให้เตี้ยลงหลังจากยืดตัวขึ้นก่อนแล้ว; เลิก, ยกเลิก, เช่น ยุบกระทรวง ยุบ ตำแหน่ง; ทำให้หลอมละลายเพื่อทำให้เป็นอีกอย่างหนึ่ง เช่น ยุบกำไล ทำแหวน.
เริด ๑ : ก. ค้าง เช่น สร้างโบสถ์หลายปีแล้วยังเริดอยู่; ร้าง, ละเลย, เช่น ต่างคน ต่างเริดกันไป.
ลงเอย : ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที.
ลก : ว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก.
เริดร้าง : ก. ค่อย ๆ เหินห่างและทอดทิ้งไปในที่สุด.
หักร้างถางพง : ก. ฟันป่าพงลงให้เตียน.
กฎเสนาบดี : (เลิก) ดู กฎกระทรวง.
กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
กระกูล : (เลิก) น. ตระกูล. (อัยการเบ็ดเสร็จ).
กระศัย : (เลิก) น. กระษัย.
จางวาง : (เลิก) น. ตําแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก, ตําแหน่ง ผู้กํากับการ, ตําแหน่งหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านายชั้นบรมวงศ์หรือ ทรงกรม.
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
เทศาภิบาล : (เลิก) น. ตําแหน่งผู้สําเร็จราชการมณฑลในสมัยหนึ่ง ต่อมาเปลี่ยนเรียกว่า สมุหเทศาภิบาล.
โทรภาพ : (เลิก) น. โทรทัศน์; โทรสาร.
นครบาลจังหวัด : (เลิก) น. ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตนครหลวง.
ศาลกงสุล : (เลิก) น. ศาลของประเทศที่มีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ที่ตั้งขึ้นในอีกประเทศหนึ่ง เพื่อให้กงสุลเป็นผู้พิจารณาคดีคนใน บังคับของตน.
หย่า : ก. เลิกเป็นผัวเมียกัน; (กฎ) ทําให้การสมรสสิ้นสุดลงโดยความยินยอม ของคู่สมรสทั้ง ๒ ฝ่ายหรือโดยคําพิพากษาของศาล; เลิก เช่น หย่านม หย่าศึก.
หยุด : ก. ชะงัก เช่น งูเลื้อยตัดหน้าเขาจึงหยุด, อยู่นิ่ง, อยู่กับที่, เช่น รถหยุด; พัก เช่น หยุดงานตอนเที่ยง, ไม่กระทำต่อ เช่น หยุดกิจการ, เลิก เช่น เขาพูดไม่หยุด.
อนุสภากาชาด : (เลิก) น. ชื่อสมาคมสําหรับเด็กเพื่ออบรมตนให้เป็นประโยชน์แก่ ผู้อื่น ขึ้นต่อสภากาชาด.
อภิรัฐมนตรี : (เลิก) น. ที่ปรึกษาชั้นสูงของพระมหากษัตริย์.
ออฟฟิศ : (เลิก) น. สํานักงาน, ที่ทําการ. (อ. office).
วา ๑ : น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี เท่ากับ ๔ ศอก มีอัตราเท่ากับ ๒ เมตร, อักษรย่อว่า ว. ก. กิริยาที่กางแขนเหยียดตรงออกทั้ง ๒ ข้าง. วาตารางเหลี่ยม (เลิก) น. มาตราวัดตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๔ ตารางเมตร, ตารางวา ก็ว่า, อักษรย่อว่า ตร.ว. หรือ ว๒.
กฎยุทธวินัย : (กฎ; เลิก) น. ชื่อย่อของกฎว่าด้วยยุทธวินัย และการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย.
กรกฎาคม : [กะระกะ-, กะรักกะ-] น. ชื่อเดือนที่ ๗ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนมกราคม มี ๓๑ วัน. (ส. กรฺกฏ = ปู + อาคม = มา = เดือนที่อาทิตย์มาสู่ราศีกรกฎ); (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๔ ตาม สุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน.
กรร ๒ : [กัน] (เลิก) ก. กัน เช่น เรือกรร.
กรรกง : [กัน-] (เลิก) น. ที่ล้อมวง เช่น จําเนียรกรรกงรอบนั้น. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์), ใช้เป็น กงกรร ก็มี เช่น แลสับสังกัดกงกรร. (สมุทรโฆษ).
กรรแซง : [กัน-] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทําหน้าที่ แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง ที่ กัน๓).
กรรแทรก : [กันแซก] (เลิก) น. กองทําหน้าที่แทรกในกระบวนพยุหยาตรา เพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแซง คือ กองทำหน้าที่แซงเพื่อ ป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแทรก ที่ กัน๓).
กรรมสัมปาทิก : [กํามะสําปาทิก] น. ผู้ยังการงานให้ถึงพร้อม; (กฎ; เลิก) บุคคลที่ได้รับเลือกหรือแต่งตั้งให้ทําหน้าที่กรรมการ ของสมาคม. (ส. กรฺม + สมฺปาทิก = ผู้ให้ถึงพร้อม).