เลี้ยว : ก. หักแยก โค้ง หรือคดเคี้ยวไปจากแนวตรง เช่น เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา. น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง เช่น เลยเลี้ยวแรกไป ๕๐ เมตรก็ถึงที่พัก, หัวเลี้ยว ก็ว่า.
เลี้ยวลด : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเลี้ยวลดไปตาม ไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาเลี้ยวลด, ลดเลี้ยว ก็ว่า.
หัวเลี้ยว : น. ทางตอนที่โค้งหรือคดไปจากแนวตรง, เลี้ยว ก็ว่า.
ลดเลี้ยว : ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไป ตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
หัวเลี้ยวหัวต่อ : น. ภาวะหรือเหตุการณ์ที่อยู่ในระยะต่อกันถือว่าเป็นตอน สําคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพหรือความคิดเป็นต้น เช่น วัยรุ่นเป็นช่วง หัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่.
ลดเลี้ยวเกี้ยวพา : ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
ผงอน : [ผะหฺงอน] น. แผ่นดิน, (โบ) เขียนว่า ผงร ก็มี. ก. เอี้ยว, เลี้ยว.
คดเคี้ยว : ว. คดไปคดมา, ลดเลี้ยว, วกไปวกมา.
ซิกแซ็ก : ว. คดไปคดมา, เลี้ยวไปเลี้ยวมา, เฉียงไปเฉียงมา, สลับฟันปลา; ลดเลี้ยวสลับซับซ้อน. น. เรียกกรรไตรตัดผ้าให้มีรูปดังกล่าวว่า กรรไตรซิกแซ็ก, เรียกการเย็บผ้าด้วยด้ายให้มีรูปดังกล่าวว่า การเย็บซิกแซ็ก, เรียกจักรเย็บผ้าที่สามารถใช้เย็บซิกแซ็กว่า จักรเย็บผ้าแบบซิกแซ็ก. (อ. zigzag).
ทักขิณาวัฏ : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักษิณาวรรต ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวัฏ หรือ อุตราวรรต. (ป.; ส. ทกฺษิณาวรฺต).
ทักษิณาวรรต : น. การเวียนขวา. ว. เวียนไปทางขวา คือเวียนเลี้ยว ทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา, ทักขิณาวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ อุตราวรรต หรือ อุตราวัฏ. (ส. ทกฺษิณาวรฺต; ป. ทกฺขิณาวฏฺฏ).
ผลูบด : น. ทางเลี้ยว. (ข.).
วก : ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอน ใช้แผลงเป็น พก ก็มี.
วกวน : ก. ลดเลี้ยวไปมา, คดไปคดมา, เช่น ทางเข้าออกวกวน, อ้อมไปอ้อมมา, ย้อนไปย้อนมา, เช่น ให้การวกวน เขียนหนังสือ วกวนอ่านไม่เข้าใจ.
วงก์ : น. เบ็ด. ว. คด, โค้ง, ลดเลี้ยว; คดโกง, ไม่ซื่อตรง. (ป.; ส. วกฺร).
วิกฤต, วิกฤต, วิกฤติ, วิกฤติ : [วิกฺริด, วิกฺริดตะ,วิกฺริด, วิกฺริดติ] ว. อยู่ในขั้นล่อแหลมต่ออันตราย เช่น การเมืองอยู่ในขั้นวิกฤติ, มักใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์ เป็น วิกฤติกาล หรือ วิกฤติการณ์, อยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ เช่น มุมวิกฤติ จุดวิกฤติ. (ส.; ป. วิกต, วิกติ).
สด ๆ, สด ๆ ร้อน ๆ : ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิต ออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคล ผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือน เจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
สะพานเสี้ยว : น. สะพานที่สร้างให้ปลายโค้งเลี้ยวไปทางขวาหรือซ้าย.
หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
อ้อมค้อม : ว. วกวน, ลดเลี้ยว, ไม่ตรงไปตรงมา, (ใช้แก่กริยาพูด).
อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
ขทิง ๑ : [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง ลยวแล่ง. (กําสรวล).
เรียว ๒ : น. สายสําหรับรั้งใบเรือ, เขียนว่า เลียว ก็มี. (จ. เลี่ยว = ผูก, มัด, พัน, วนเวียนคดเคี้ยว).