Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลื่อง , then ลอง, เลื่อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลื่อง, 76 found, display 1-50
  1. เลื่อง : ก. ลือ, โจษแซ่.
  2. เลื่องลือ : ก. รู้กันกระฉ่อนทั่วไป เช่น ชื่อเสียงเลื่องลือ ความสามารถ เป็นที่เลื่องลือ.
  3. ลอง ๑ : น. ของที่ทํารองรับไว้ชั้นใน เช่น ลองพระสุพรรณราช; ส่วนที่ ประกอบชั้นนอกของพระโกศหรือโกศ เรียกว่า พระลอง หรือ ลอง.
  4. กิดาการ : น. อาการเล่าลือ, เสียงสรรเสริญ, ข่าวเลื่องลือ, บางทีเขียนเป็น กิฎาการ ก็มี เช่น แห่งเออกอึงกิฎาการ. (ตะเลงพ่าย). (ป. กิตฺติ + อาการ).
  5. กิตติคุณ : น. คุณที่เลื่องลือ.
  6. เกริก : [เกฺริก] ว. กึกก้อง, ดังสนั่น, เลื่องลือ, ยิ่ง.
  7. เกียรติคุณ : [เกียดติคุน] น. คุณที่เลื่องลือ, ชื่อเสียงโดยคุณงามความดี.
  8. เกียรติประวัติ : [เกียดติปฺระหฺวัด, เกียดปฺระหฺวัด] น. ประวัติที่ได้รับความสรรเสริญ, ประวัติที่เลื่องลือ.
  9. ฉ่าฉาว : ว. เกรียวกราว, เลื่องลือ, อื้ออึง.
  10. เชวง : [ชะเวง] (กลอน) ก. รุ่งเรือง, เลื่องลือ. (ข. เฌฺวง ว่า ปรีชารุ่งเรือง).
  11. ดำแคง : ก. เลื่องลือ, ระบือไป, ดังสนั่น. (ข. แถฺกง).
  12. ดำเลิง : (แบบ; กลอน; แผลงมาจาก เถลิง) ก. ขึ้น, ทําให้เลื่องลือ, เช่น ควันดําเลิง แลเห็นไกล. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  13. โด่งดัง : ว. แพร่สนั่นไป, เป็นที่เลื่องลือ.
  14. บันลือ : ก. เปล่งเสียงดังก้อง เช่น บันลือสีหนาท; โด่งดัง, เลื่องลือ, เช่น ข่าวบันลือโลก.
  15. เมาะตาโยกัก : ว. มีชื่อเสียงโด่งดัง, เลื่องลือไม่มีใครเสมอ. (ช.).
  16. ระบือ : ว. เล่าลือ เช่น ข่าวระบือ, เลื่องลือ, แพร่หลายรู้กันทั่ว, เช่น ชื่อเสียงระบือ ไปไกล.
  17. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  18. ละบือ : ก. ลือ, เลื่องลือ. (โดยมากใช้ ระบือ).
  19. ลองเชิง : ก. หยั่งท่าทีดูว่ามีความสามารถแค่ไหน เช่น นักมวยประ หมัดเบา ๆ ลองเชิงคู่ต่อสู้, คะนอง, ตื่นเต้น, โลดโผน.
  20. ลองธรรม์ : (แบบ) น. ทางธรรม เช่น แถลงปางพระเลี้ยงโลก ลองธรรม์. (ยวนพ่าย).
  21. ลองภูมิ : [–พูม] ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะมีพื้นความรู้ความสามารถ แค่ไหนเพียงไร เช่น นักเรียนลองภูมิครู.
  22. ลองของ : ก. ทดลองดูว่าเครื่องรางของขลังนั้นจะขลังจริงหรือไม่, โดยปริยายหมายความว่า ลองดี.
  23. ลองเครื่อง : ก. ทดสอบการทำงานของเครื่องยนต์ว่าทำงานเป็น ปรกติหรือไม่.
  24. โยนกลอง : ก. ปัดภาระหรือความรับผิดชอบไปให้คนอื่น.
  25. เรือกลอง : น. เรือที่ใช้ในราชการแต่โบราณบรรทุกนักดนตรีและเครื่อง ประโคมตีและเป่านำกระบวนเรือพระที่นั่ง วางกระทงขวางลำสำหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๒๐ คน.
  26. ล่อง : น. ช่องตามพื้นที่ทําไว้สําหรับให้สิ่งของลอดลงได้. ก. ลงมาตามนํ้า เช่น ล่องเรือ ล่องแพ, ไปตามลม เช่น ล่องลม; โดยปริยายหมายความ ว่า ด้นดั้นไป เช่น ล่องป่า ล่องไพร. ว. อาการที่แล่นไปตามทางจาก เหนือลงใต้ เช่น รถล่อง ขาล่อง.
  27. ละเลาะละลอง : ก. บรรลุถึงฝั่ง; ค่อยเป็นค่อยไปจนกว่าจะบรรลุถึงเป้าหมาย.
  28. ลบอง : [ละบอง] น. แบบ, ฉบับ. ก. แต่ง, ทํา. (ข. ลฺบง ว่า ลอง).
  29. กลอง ๑ : [กฺลอง] น. เครื่องตีทําด้วยไม้เป็นต้น มีลักษณะกลม กลวง ขึงด้วยหนัง มีหลายชนิด, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมาก ใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่า กลองยาว หรือ เถิดเทิง, ถ้าขึ้นหนังหน้าเดียว มีรูปกลมแบนและตื้น เรียกว่า กลองรํามะนา, ถ้าขึ้นหนังทั้ง ๒ หน้า ร้อยโยงเข้าด้วยกันด้วยหนังเรียด เรียกว่า กลองมลายู, ถ้าร้อยโยงด้วยหวาย เรียกว่า กลองแขก กลองชนะ, ถ้าขึ้นหนังตรึงแน่นทั้ง ๒ หน้า เรียกว่า กลองทัด.
  30. กลอง ๒ : [กฺลอง] น. ชื่อเพลงชนิดหนึ่งเป็นเพลงแขก ใช้ปี่ชวาและกลองแขก ทํานองเล่นกระบี่กระบอง ที่เรียกว่า สะระหม่า, ทําตอนที่เล่นกีฬา ท่าต่าง ๆ มีรําดาบ รําง้าว เป็นต้น เรียกว่า เพลงกลองแขก ก็ได้, อีกอย่างหนึ่งเมื่อรําเป็นท่ามลายู ซึ่งเรียกว่า สะระหม่าแขก ใช้เพลง เรียกว่า กลองมลายูเครื่องและทํานองอย่างเดียวกับ เพลงกลองแขก แต่ในตอนนี้รํากริช.
  31. กำลอง : (โบ; กลอน) ก. ลอง, ประลอง, เช่น เสร็จสองแทงกันจระโจรม จักแล่นแรดโซรม กำลองกำลังถเมินเชิง. (สมุทรโฆษ).
  32. ขมวดยา : [ขะหฺมวด-] น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่าง ค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้าน ข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลําสําหรับ คนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดําเนิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดําเนินลําลองทาง ชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า.
  33. ขวง ๒ : น. ข่วง, บริเวณ, ลาน, เช่น ให้ยกหอกลองยังขวงหลวงริมสนาม. (พงศ. โยนก).
  34. ขิก : (ปาก) น. เรียกรูปจําลองอวัยวะเพศชาย ใช้เป็นเครื่องรางของขลัง ว่า ไอ้ขิก อ้ายขิก หรือ ปลัดขิก, ขุนเพ็ด ก็เรียก.
  35. เขามอ : น. เขาจําลองที่ทําไว้ดูเล่นในบ้านเป็นต้น.
  36. โขน ๑ : น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดง สวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.
  37. โขยด : [ขะโหฺยด] ว. วิ่งอย่างกระโดด เช่น ทั้งพระยากาสรตัวกล้าก็ลับเขา โขยดโลดลองเชิง. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  38. ครรลอง : [คันลอง] น. ทาง, แนวทาง, แบบฉบับ. (แผลงมาจาก คลอง).
  39. คลอง : [คฺลอง] น. ทางนํ้าหรือลํานํ้าที่เกิดขึ้นเองหรือขุดเชื่อมกับแม่นํ้าหรือทะเล; ทาง, แนว, เช่น คลองธรรม.
  40. จะปิ้ง : น. เครื่องปิดของลับของเด็กหญิง ทําด้วยเงิน ทอง หรือนาก เป็นต้น, กระจับปิ้ง จับปิ้ง ตะปิ้ง หรือ ตับปิ้ง ก็เรียก. (ม.); แผ่นโลหะที่ติดฝาหีบ สําหรับลั่นกุญแจ, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น จะปิ้งหูกลอง จะปิ้งห่วงประตู.
  41. จำลอง ๑ : ก. ถ่ายแบบ เช่น จําลองจากของจริง. ว. แทน เช่น พระพุทธชินราชจําลอง, ที่ทําให้เหมือนของจริง เช่น ท้องฟ้าจําลอง.
  42. ฉลอง ๑ : [ฉะหฺลอง] ก. ทําบุญหรือบูชาสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นงานเอิกเกริกเพื่อแสดง ความปีติยินดี เช่น ฉลองพระ ฉลองหนังสือ ฉลองอายุ, จัดงานเอิกเกริก เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เช่น ฉลองปริญญา, บางทีใช้เข้าคู่ กับคำ เฉลิม เป็น เฉลิมฉลอง.
  43. ฉลอง ๒ : [ฉะหฺลอง] ก. แทน, ทดแทน, เช่น ฉลองคุณ.
  44. ฉลอง ๓ : [ฉะหฺลอง] ก. จำลอง, รอง, แทน, ช่วย.
  45. ฉลอง ๔ : [ฉะหฺลอง] (โบ) ก. ข้าม ในคำว่า ท่าฉลอง คือ ท่าสำหรับข้าม. (ข. ฉฺลง).
  46. ฉ่าง : ก. เสี่ยงทายว่าใครจะเป็นผู้ขึ้นต้น, ลองดูว่าท่าไหนจะดี, (โดยมากใช้ สําหรับเล่นลูกเต๋าหรือไพ่). ว. เสียงดังเช่นเสียงม้าล่อ.
  47. ช้า ๒ : ว. หยาบ, ชั่ว, เลว, ทราม, เช่น ยายฟังสารยายสั่นหัว ยายเคยลองแต่ตัวชั่วตัวช้า. (ลอ).
  48. ชิม : ก. ลองลิ้มรสดูด้วยปลายลิ้น, ทดลองให้รู้รส.
  49. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  50. ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-76

(0.0676 sec)