เปิด : ก. ทําให้สิ่งที่ปิดอยู่เผยออก เช่น เปิดประตู, ทำให้เครื่องยนต์ กลไกทำงาน เช่น เปิดวิทยุ เปิดพัดลม, ตรงข้ามกับ ปิด; ทําพิธี เป็นประเดิมเพื่อดําเนินกิจการงานหรือให้ใช้ได้เป็นต้น เช่น เปิดร้านใหม่ เปิดถนน เปิดสมาคม; (ปาก) หนี เช่น ผู้ร้ายเปิด ไปไกลแล้ว.
เวลา : สักครู่. (ป., ส.).
ตรง, ตรง ๆ : [ตฺรง] ว. ไม่คดโค้ง เช่น ทางตรง, ไม่งอ เช่น นั่งตัวตรง, ไม่เอียง เช่น ตั้งเสา ให้ตรง ยืนตรง ๆ; ซื่อ, ไม่โกง, เช่น เขาเป็นคนตรง; เที่ยงตามกําหนด เช่น เวลา ๓ โมงตรง นาฬิกาเดินตรงเวลา; เปิดเผยไม่มีลับลมคมใน, ไม่ปิดบัง อําพราง, ไม่อ้อมค้อม, เช่น พูดตรงไปตรงมา บอกมาตรง ๆ; รี่, ปรี่, เช่น ตรง เข้าใส่; ถูกต้องตาม เช่น ตรงเป้าหมาย. บ. ที่แห่งใดแห่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ตรงนี้ ตรงนั้น.
เปิดฉาก : ก. เริ่มต้นทํา เช่น เปิดฉากหาเสียง เปิดฉากตะลุมบอน, เริ่มต้นแสดง เช่น ละครเปิดฉาก.
เปิดบัญชี : ก. บันทึกรายการทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนไว้ในสมุด เมื่อเริ่มเปิดดําเนินกิจการ; ยกยอดสรุปที่ได้จากการปิดบัญชีมา เริ่มต้นใหม่; (ปาก) เปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคาร.
เปิดปีก : ก. เลื่อยเปิดข้างไม้ซุงแผ่นแรกของทั้ง ๔ ด้านให้เป็นสี่เหลี่ยม.
เปิดเปิง : ว. อาการที่ไปอย่างไม่มีที่หมาย ไม่มีทิศทาง, มักใช้เข้าคู่ กับคำ เตลิด เป็น เตลิดเปิดเปิง เช่น วิ่งเตลิดเปิดเปิง.
เปิดผนึก : ว. เรียกจดหมายที่ส่งถึงบุคคลหนึ่งเพื่อให้นำออกเผยแพร่ว่า จดหมายเปิดผนึก.
เปิดเผย : ก. ทำสิ่งที่ปิดบังอยู่ให้เผยออก, เผยให้รู้, เช่น เปิดเผย ความจริง เปิดเผยความลับ. ว. ตรงไปตรงมา, ไม่ปิดบัง, เช่น เป็นคนเปิดเผย.
เปิดโลก : ก. เผยโลกทั้ง ๓ ให้เห็นกันในวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลง จากดาวดึงส์. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เรียกว่า ปางพระเจ้าเปิดโลก.
เปิดสมอง : ก. พักผ่อนหย่อนใจให้สมองปลอดโปร่ง, เปิดหัว ก็ว่า.
เปิดหัว ๑ : น. ชื่อเรือยกพลขึ้นบกซึ่งทางด้านหัวเปิดได้ เรียกว่า เรือเปิดหัว.
เปิดหัว ๒ : ก. เปิดสมอง.
เปิดกล้อง : (ปาก) ก. เริ่มการถ่ายภาพยนตร์เป็นปฐมฤกษ์ของ แต่ละเรื่อง.
เปิดคดี : (กฎ) ก. การที่โจทก์หรือจําเลยแถลงต่อศาลถึงข้อเท็จจริง หรือข้อกฎหมาย อีกทั้งพยานหลักฐานที่จะอ้างอิงก่อนที่จะนําพยาน เข้าสืบ.
เปิดบริสุทธิ์ : ก. ร่วมประเวณีกับหญิงที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ ในการร่วมเพศมาก่อน เดิมเป็นประเพณีของชาวเขาบางเผ่า เช่น อีก้อ เมื่อเด็กหญิงมีอายุย่างเข้าสู่วัยสาวต้องไปศึกษาเรื่องกามกิจ โดยร่วมประเวณีเป็นครั้งแรกกับผู้ที่ชุมชนในเผ่านั้นคัดเลือกให้ทำ หน้าที่นี้.
เปิดหมวกลา : ก. เลิกรา, ไม่ทําต่อไปอีกแล้ว.
เปิดหมวกให้ : ก. ยกย่อง, สรรเสริญ, ชมเชย.
เปิดหูเปิดตา : ก. ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการ ไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
กุญแจ : น. เครื่องสําหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือ สลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุ?ฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).
โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
ครอบครองปรปักษ์ : (กฎ) ก. ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดย ความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ บุคคลผู้ครอบครอง ปรปักษ์ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๑๐ ปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลา ๕ ปี บุคคลนั้นได้ กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น.
ไนต์คลับ : น. สถานเริงรมย์ที่เปิดเวลากลางคืน ขายอาหาร เครื่องดื่ม มีดนตรี และมักจัดให้มีการแสดงด้วย. (อ. nightclub).
ภาคเรียน : น. ช่วงเวลาที่สถานศึกษาเปิดทําการสอนติดต่อกัน ตามปรกติ ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ จะแบ่งออกเป็น ๒๓ ภาคเรียน.
มหาฤกษ์ : [-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานที่ทํางานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สําคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวง กลาโหมกําหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.
มืด : ว. ขาดแสงสว่าง เช่น เดือนมืด, มีแสงสว่างน้อย เช่น ไม่ควรอ่าน หนังสือในที่มืด เพราะจะทำให้เสียสายตา, โดยปริยายหมายความว่า เหลือรู้เหลือเห็น เช่น มือมืด. น. เวลาใกล้ฟ้าสาง เช่น ตื่นแต่มืด; ค่ำ เช่น มืดแล้วทำไมไม่เปิดไฟ.
มือจับ : น. ส่วนที่ทำไว้สำหรับจับเวลาเปิดปิดประตูหรือในการ ใช้งานอื่น ๆ เป็นต้น เช่น มือจับประตูรถยนต์ มือจับกบไสไม้ มือจับลิ้นชัก.
เม็ดมะยม : น. ปุ่มสําหรับตั้งเวลาหรือบางทีก็ใช้ไขลานนาฬิกาข้อมือหรือนาฬิกาพกด้วย; ปุ่มมีลักษณะเป็นพู ๆ โดยรอบคล้ายลูกมะยม สำหรับมือจับปิดเปิดประตูตู้หรือลิ้นชัก.
กินเวลา : ก. เปลืองเวลา, ใช้เวลามาก.
ขณะ : [ขะหนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
แข่งกับเวลา : (สำ) ก. ทำอย่างรวดเร็ว เช่น ทำงานแข่งกับเวลา.
ค่าล่วงเวลา : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทน การทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน.
เงื่อนเวลา : (กฎ) น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือ สิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
เงื่อนเวลาเริ่มต้น : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมเป็นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
เงื่อนเวลาสิ้นสุด : (กฎ) น. เงื่อนเวลาที่กําหนดไว้ให้นิติกรรมสิ้นผล เมื่อถึงเวลาที่กําหนด.
จับเวลา : ก. ดูเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นในการแข่งขันกีฬา, ดูเวลาให้ตรงตามที่กําหนด.
ผาย : ก. แผ่กว้างออก เช่น อกผาย ตะโพกผาย; เคลื่อนจากที่ (คือ ผ้าย); เปิด; ระบายออก; แบะออก, แยกออก.
มืน : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลืม, เปิด, แย้ม, (ใช้แก่ตา) เช่น มืนตา ว่า ลืมตา.
ไม้เปิดปีก : น. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน.
ยาม, ยาม : [ยาม, ยามะ] น. ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละ ชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยามตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้า สถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.).
ระเบิดเวลา : น. ลูกระเบิดที่มีอุปกรณ์ตั้งกําหนดเวลาให้ระเบิด.
ลงเวลา : ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
ล่วงเวลา : ว. เกินเวลาหรือนอกเวลาที่มีกําหนดไว้ เช่น เงินค่า ล่วงเวลา ทำงานล่วงเวลา.
ลักปิดลักเปิด : [ลักกะปิดลักกะเปิด] น. ชื่อโรคที่มีอาการเลือดออกตามไรฟันและ เหงือกน่วมเนื่องจากขาดวิตามินซี.
ลีกเวลา : ก. เจียดเวลาเพื่อมาทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกเหนือจากงาน ที่ทําอยู่.
อวัสดา : [อะวัดสะดา] น. ฐานะ, ความเป็นอยู่; เวลา, สมัย. (ส. อวสฺถา; ป. อวตฺถา).
เพลา ๑ : [เพลา] น. กาล, คราว. (ป. เวลา).
บอกปัด, บอกเปิด : ก. พูดปัดไปให้พ้นตัว, พูดอย่างไม่รู้ไม่ชี้.
ไล่เปิด : (ปาก) ก. ไล่ให้หนีไป.
หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.