เวิ้ง : หมดจนดูเวิ้งว้าง.
วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
ว้างเวิ้ง : ว. เป็นช่องว่างและโล่งออกไปกว้างขวาง.
แฉว : [ฉะแหฺว] (โบ) ว. ที่รุ้ง, ที่คุ้ง, ที่เวิ้ง.
ชะวุ้ง : ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
นโคทร : น. เวิ้งเขา, หุบเขา. (ส.).
วุ้ง : ว. เว้าเป็นเวิ้งเข้าไป.
วงแขน : น. อ้อมแขน เช่น โอบไว้ในวงแขน ได้ถ้วยรางวัลมา กอด ไว้ในวงแขนไม่ยอมวาง.
วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
วงเดือน : น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟันอยู่ โดยรอบ.
ขนัน ๒ : [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
กราดวง : [กฺรา-] น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้าน หรือหวีด้ายทอหูก, เสียงที่พูดกันเป็นกระดวง.
แปวง : น. แปที่วางอยู่บนจันทันกันสาดหรือจันทันระเบียงของ เรือนไทย โบสถ์ วิหาร หรือวางอยู่บนจันทันสำหรับอาคารที่มี หลังคาทรงปั้นหยา.
พรวงเพรียง : [พฺรวงเพฺรียง] ก. พูดยกยอ.
เลื่อยวงเดือน : น. ชื่อเลื่อยชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นแผ่นกลม มีฟัน อยู่โดยรอบ.
วิ่ง : ก. ก้าวไปโดยเร็วยิ่งกว่าเดิน เช่น คนวิ่งไปวิ่งมา ม้าวิ่งในสนาม, แล่นไปโดยเร็ว เช่น เรือวิ่งข้ามฟาก รถวิ่งไปตามถนน; (ปาก)
โว่ง : ว. ว่าง, โล่ง, โปร่ง, เช่น ตัดต้นไม้เสียโว่ง ซดน้ำแกงร้อน ๆ แล้วคอโว่ง.
วงศ, วงศ์ : [วงสะ, วง] น. เชื้อสาย, เหล่ากอ, ตระกูล. (ส. วํศ; ป. วํส).
กง ๒ : น. วง, ส่วนรอบของล้อเกวียนหรือล้อรถม้าเป็นต้น, เรียกสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ขนมกง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคํา วง ว่า เป็นวงเป็นกง; ไร่ล้มลุกที่ถางป่าเป็นหย่อม ๆ ตามเนื้อที่ และกั้นเป็นขอบเขตไว้. (กลอน) ก. แวดล้อม เช่น ม้ากันม้ากง. (ไทยสิบสองปันนาและสิบสองจุไทย กง ว่า ขอบเขตที่ล้อม เช่น ดินกง คือ ดินที่ล้อมเป็นขอบเขตไว้, ร่ายกง คือไร่ที่ล้อม เป็นขอบเขตไว้).
มณฑล : [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่ง ออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่น มณฑล. (ป., ส.).
เหลี่ยม ๑ : [เหฺลี่ยม] น. ด้านที่เป็นสัน; เส้นประกอบมุมของรูปที่มีด้านตั้งแต่ ๓ ด้าน ขึ้นไป; ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา, คู่กับ วง คือ ส่วนสัดของมือที่ใช้ ในการรํา. ว. เป็นสัน เช่น บวบเหลี่ยม เหลี่ยมเพชร เหลี่ยมเขา.
กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
กรรตุการก : [กัดตุ-] (ไว) น. ผู้ทําหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสําคัญ ส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง วิ่ง เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของ ประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตํารวจยิงผู้ร้าย ตํารวจ เป็น กรรตุการก. (ป., ส. การก ว่า ผู้ทำ).
กระจับ ๒ : น. เครื่องสวมข้อตีนม้าสําหรับหัดให้เต้นสะบัดตีน ทําด้วยหวายหรือ ไม้ไผ่เหลาให้กลมขดรอบข้อตีนม้า ขัดเป็นเกลียวปล่อยชายทั้ง ๒ ข้าง เสี้ยมแหลมยื่นออกจากวงราว ๒ นิ้ว เพื่อกันมิให้ตีนกระทบกันเอง.
กระเช้า : น. ภาชนะสานมีหูเป็นวงโค้งขึ้นไปสําหรับหิ้ว.
กระดวง : (ปาก; เพี้ยนมาจาก กราดวง) น. ลูกมะพร้าวทุยที่ตัดครึ่งท่อน สําหรับถูพื้นบ้านหรือหวีด้ายทอหูก.
กระแต ๒ : น. ชื่อฆ้องขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ โดยทำร้านฆ้องโค้งงอขึ้นเหมือนฆ้องมอญแต่ปลายสั้นกว่า วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก หรือใช้แขวนกับไม้ สำหรับถือตี เป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ เรียกว่า ฆ้องกระแต.
กระทรวง ๒ : [-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการ ที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็น กระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไป แพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือ ทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).
กระหริ่ง : น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดดเช่นเนื้อและกวาง เช่น จับกระหริ่งบ่วงข่ายถือ แบกหอกปืนลงจากเรือน. (สุบิน), กะริง ก็ว่า.
กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
กลาก : [กฺลาก] น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, ขี้กลาก ก็ว่า, (ราชา) โรคดวงเดือน.
กองหนุน :
น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กอด : ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
กะกร่อม : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เครื่องมือจับปูทะเล เป็นของชาวประมงตั้งแต่ จังหวัดชุมพรถึงสุราษฎร์ธานี, บางทีเรียกว่า กร่อม หรือ ตะกร่อม, ใช้ไม้ไผ่อันเดียวผ่าตอนปลายออกเป็น ๔ ซี่ และซี่เหล่านั้นเหลา ให้อ่อน จะเป็นรูปกลมหรือแบนก็ได้ เอาวงแหวนทําด้วยไม้ไผ่ หรือหวายหรือลวดใส่ในหว่างซี่เหล่านั้นเพื่อบังคับให้ถ่างออก.
กะริง : น. บ่วงหวายสําหรับดักสัตว์ที่กระโดด เช่นเนื้อและกวาง. (ประพาสมลายู), กระหริ่ง ก็ใช้.
กังสดาล : [-สะดาน] น. ระฆังวงเดือน เช่น แว่วสําเนียงเสียงระฆังกังสดาล. (อิเหนา).
กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
กาบเดียว, กาบเดี่ยว : น. ชื่อเรียกหอยในชั้น Gastropoda มีเปลือกต่อกัน เป็นชิ้นเดียวโดยเวียนเป็นวงซ้อนกัน และมีช่องให้ ตัวหอยโผล่ออกมาจากเปลือกได้.
กาฟักไข่ : น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้น สมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
กำดัด : ว. กําลังรุ่น เช่น วัยกำดัด; เต็มที่ เช่น สงัดเสียงสิงสัตว์กำดัดดึก. (โคบุตร). ก. พะวง, ห่วงใย, ขวนขวาย, เช่น ฤๅสองศุขารมย ชวนชายชํไม้เมิลป่า พระวงวิ่งวาศนาเด็กกำดัดเล่น. (ม. คำหลวง มัทรี); กําหนัด เช่น โอ้เจ้าพี่ศรีสวัสดิ์กำดัดสวาท นุชนาฏแม่อย่าลืมเนื้อความหลัง. (โคบุตร).
กำเบ้อ ๑ : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Mussaenda วงศ์ Rubiaceae ดอกสีเหลืองหรือแสด กลีบหนึ่งของวงกลีบนอกใหญ่ แผ่ออกเป็นใบขาว ดูไกล ๆ คล้ายผีเสื้อเกาะดอกไม้.
เกี้ยว ๑ : น. เครื่องประดับลักษณะเป็นวงคล้ายพวงมาลัยสําหรับสวมจุก, ราชาศัพท์ว่า พระเกี้ยว; เครื่องประดับที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เกี้ยวลอมพอก เกี้ยวชฎา; ผ้าคาดพุงสำหรับขุนนาง เรียกว่า ผ้าเกี้ยว เช่น เกี้ยวลาย คือผ้าคาดพุงที่มีลาย (บางทีเข้าใจกันว่าเป็นผ้านุ่ง อย่างหนึ่ง) .ก. รัด, พันแน่น, ติดแน่น, เช่น เพราะประพฤติมันเกี้ยว เกี่ยงร้ายแกมดี. (โลกนิติ); พูดให้รักในเชิงชู้สาว, พูดแทะโลม, พูดเลียบเคียงเพื่อให้สมปรารถนา.
ขด ๑ : ก. ม้วนตัวให้เป็นวง ๆ เช่น งูขด, ทําให้เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เอาลวดมาขด, งอหรือทําให้งอ เช่น นอนขด ขดให้เป็นลวดลาย. น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด.
ขวั้น : [ขฺวั้น] (ถิ่น-อีสาน, ปักษ์ใต้) น. หัวขั้ว เช่น และผูกเป็นขวั้นแขวนวง. (สมุทรโฆษ).
ขว้างจักร : [-จัก] น. กรีฑาประเภทลานอย่างหนึ่ง ผู้แข่งขันจะต้องยืนอยู่ ในวงเขตที่กําหนด แล้วขว้างจานไม้กลมตรงกลางนูนทั้ง ๒ ข้างออกไป ให้ไกลที่สุด.
ข่ายงาน : น. วงงานที่อยู่ในความควบคุมดูแลและประสานกัน.
ขี้กลาก : น. ชื่อโรคผิวหนังอย่างหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดจากเชื้อรา ขึ้นเป็นวง มีอาการคัน, กลาก ก็ว่า.
แขวง : [แขฺวง] น. เขต, แดน, ส่วน, ฝ่าย, อาณาบริเวณที่กําหนดไว้เพื่อสะดวก ในการปฏิบัติราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.