ซ้าย : ว. ตรงข้ามกับ ขวา, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ, ถ้าหันหลัง ไปทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านซ้ายมือ เรียกว่า ฝั่งซ้าย ด้านขวามือ เรียกว่า ฝั่งขวา; (การเมือง) เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ว่า ฝ่ายซ้าย, โดยทั่วไปใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและ คอมมิวนิสต์.
เวียน ๑ : งานยุ่งเสียจนเวียนหัว ลายมือยุ่ง อ่านแล้วเวียนหัว.
เวียน ๒ : ๕๐ เซนติเมตร, ยาด ก็เรียก.
จับยาม : ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยาม เป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับ ยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้ว ทำนายตามตำรา.
ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.
ยามสามตา : น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก๓หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวัน จับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและ จันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร.
อุตราวรรต : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวัฏ ก็ว่า, ตรงข้ามกับ ทักษิณาวรรต หรือ ทักขิณาวัฏ. (ส. อุตฺตราวรฺต; ป. อุตฺตราวฏฺฏ).
อุตราวัฏ : [อุดตะรา] น. การเวียนซ้าย. ว. เวียนไปทางซ้าย คือ เวียนเลี้ยวทางซ้ายอย่างทวนเข็มนาฬิกา, อุตราวรรต ก็ว่า, ตรงข้าม กับ ทักขิณาวัฏ หรือ ทักษิณาวรรต. (ป. อุตฺตราวฏฺฏ; ส. อุตฺตราวรฺต).
กงเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้าง หนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้ สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, กางเวียน หรือ วงเวียน ก็ว่า.
กระแตเวียน : น. อุปกรณ์สำหรับช่วยให้เด็กหัดเดิน ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ ให้มีข้อติดอยู่ข้างหนึ่ง แล้วสวมลงกับหลักไม้ เหนือข้อตอนบน สอดไม้ขวางให้ยาวพอสมควรสำหรับให้เด็กเกาะเดิน. (รูปภาพ กระแตเวียน)
กินขวา, กินซ้าย : ก. อาการที่รถ เรือ ว่าว เป็นต้น เคลื่อนล้ำไปทางขวา หรือซ้ายมากเกินควร.
แขนซ้ายแขนขวา : น. บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่เป็นหัวเรี่ยว หัวแรงเปรียบเสมือนแขนซ้ายแขนขวา.
จดหมายเวียน : น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจํานวนมาก.
เชิงเวียน : น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง เช่น เอาพระจําเจิมเฉลิมเชิงเวียน. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
ถนัดซ้าย : ว. ที่ทําได้คล่องแคล่วด้วยมือซ้าย.
บิดซ้าย : ว. เรียกอาการที่ห่มจีวรโดยม้วนชายด้านข้างทั้ง ๒ ให้เป็นลูกบวบหันออกทางซ้ายว่า ห่มบิดซ้าย.
เบิกแว่นเวียนเทียน : ก. เริ่มทําพิธีจุดเทียนที่ติดบนแว่นเวียนเทียน แล้วส่งกันต่อ ๆ ไปโดยรอบในการทําขวัญ.
พฤต : [พฺรึด] น. คําฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
วงเวียน : น. เครื่องมือสําหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของวงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีก ข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, (โบ) กงเวียน หรือ กางเวียน ก็ว่า; ที่ซึ่งมีลักษณะกลมเป็นที่รวมแห่งถนนหลาย ๆ สาย เช่น วงเวียนใหญ่ วงเวียน ๒๒ กรกฎา.
วนเวียน : ก. วนไปวนมา, กลับไปกลับมา, เช่น เดินวนเวียนอยู่ ระหว่างบ้านกับตลาด กระเป๋าสตางค์หล่นหายเดินวนเวียนหา อยู่หลายรอบ.
วิงเวียน : ก. รู้สึกเวียนหัวดูอะไรหมุนไปหมด มักมีอาการคลื่นไส้ ด้วย เช่น ทำงานเหนื่อยเกินไปจนรู้สึกวิงเวียนจะเป็นลม.
แวะเวียน : ก. แวะมาบ่อย ๆ, วนเวียน, เช่น เขาชอบแวะเวียนอยู่แถว ร้านกาแฟ.
หนังสือเวียน : น. หนังสือราชการที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงหน่วยงาน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีรหัสตัวพยัญชนะ ว หน้าเลขทะเบียนหนังสือส่ง, ภาษาปากใช้ว่า จดหมายเวียน หนังสือที่ผู้บังคับบัญชาเวียนแจ้งให้ผู้ใต้ บังคับบัญชารับทราบหรือถือปฏิบัติ.
กรมท่าซ้าย : [กฺรมมะ-] (กฎ; โบ) น. ส่วนราชการที่มีหน้าที่เกี่ยวกับ ชนชาวจีน.
กาเวียน : น. กาต้มน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในถังซึ่งมีเตาไฟ.
ขี้ซ้าย, ขี้ไซ้ : (ปาก) ว. ที่เลวกว่า (ใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ไม่ได้ขี้ไซ้ของเขา.
เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา : (สํา) ก. บอกหรือสอนไม่ได้ผล.
โคมเวียน : น. โคมชนิดที่มีที่ครอบหมุนได้ บนที่ครอบเขียนรูปภาพ ลำดับเรื่องในพระพุทธศาสนาเช่นมหาเวสสันดรชาดก เมื่อจุดไฟแล้ว ที่ครอบจะหมุนไปช้า ๆ ทำให้รูปภาพบนที่ครอบหมุนเวียนตามไปด้วย ใช้เป็นเครื่องตั้งดูเล่นตามงานในเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศน์มหาชาติ งานออกเมรุ; ชื่อเพลงโยนกลองในบทปี่พาทย์ทำนองหนึ่ง.
ปวดเศียรเวียนเกล้า : (สํา) ก. เดือดร้อนรําคาญใจเพราะมีเรื่อง ยุ่งยากมากจนแก้ไม่ทัน.
ฝ่ายซ้าย : (การเมือง) น. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจ เป็นต้น นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง, โดยทั่วไป ใช้หมายถึงกลุ่มที่นิยมลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์.
เพียน : (โบ) ว. เพี้ยน.
ลำเวียน : ก. ตีแต่งเหล็กที่เป็นรูปอยู่แล้วให้เรียบเป็นมัน, ละเมียบ ลําเมียบ หรือ ลําเลียบ ก็ว่า.
แว่นเวียนเทียน : น. แว่นสำหรับใช้ติดเทียนทำขวัญ ทำด้วยเงิน ทอง หรือทองเหลือง รูปแบน ๆ มีปลายแหลมเหมือนใบโพสำหรับติด เทียน มีด้ามถือ.
เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
กรรเจียกจอน : น. เครื่องประดับหู, เขียนเป็น กรรเจียกจร ก็มี เช่น กรรเจียกจอนจําหลักลายซ้ายขวา. (สังข์ทอง).
กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
กระวน : (กลอน) ก. วนเวียน, วุ่น, หวน, เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กระเวน ๒ : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์).
กระเวนกระวน : (กลอน) ก. วนเวียน เช่น กระเวนกระวนกาม กวนอก พี่นา. (นิ. นรินทร์), หวนตลบ เช่น หอมกระเวนกระวน, เขียนเป็น กรเวนกรวล ก็มี เช่น ชื่อจลาจรเรนทร์ หอมกรเวนกรวล อาจจิญจญจวนใจ. (ม. คำหลวง มหาราช).
กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
กะบัง ๒ : น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้เสาหรือไม้ลําปักทางซ้าย และทางขวาเรียงกันเป็นลําดับ แล้วเอาเฝือกขนาบกับเสาทั้ง ๒ ข้าง อย่างเดียวกับจิบ แต่ระหว่างกลางทําร้านซึ่งสานด้วยไม้ไผ่ตลอดเป็น ทางเพื่อให้ปลาเสือกตัวขึ้นแล้วเลื่อนตกลงไปในถุงอวนหรือตาข่าย ที่ดักไว้ปลายทาง ต้องจับในเวลาที่น้ำไหลเชี่ยว, กะบังรังเฝือก ก็ว่า.
กางเวียน : (โบ) น. เครื่องมือสำหรับเขียนวงกลม ส่วนโค้งของ วงกลม หรือกะระยะ ทำด้วยโลหะ มี ๒ ขา ปลายข้างหนึ่งแหลม ปลายอีกข้างหนึ่งมีดินสอเป็นต้น อีกแบบหนึ่งมีปลายแหลมทั้ง ๒ ข้าง แบบหลังนี้ใช้สำหรับเขียนบนโลหะก็ได้, วงเวียน หรือ กงเวียน ก็ว่า; การหมุนเวียนชนิดหนึ่ง เช่น แล้วจับเท้าทั้งสองหันเวียนไปดั่งบุคคล ทํากางเวียน. (กฎหมายเก่า).
กาบเดียว, กาบเดี่ยว : น. ชื่อเรียกหอยในชั้น Gastropoda มีเปลือกต่อกัน เป็นชิ้นเดียวโดยเวียนเป็นวงซ้อนกัน และมีช่องให้ ตัวหอยโผล่ออกมาจากเปลือกได้.
ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
ขวา : [ขฺวา] ว. ตรงข้ามกับซ้าย, ถ้าหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศใต้ เรียกว่า ด้านขวามือ ด้านทิศเหนือ เรียกว่า ด้านซ้ายมือ, ถ้าหันหลังไป ทางต้นนํ้าหรือยอดนํ้า ด้านขวามือเรียกว่า ฝั่งขวา ด้านซ้ายมือเรียกว่า ฝั่งซ้าย, คู่กับซ้าย แต่ใหญ่กว่าหรือสําคัญกว่า เช่น มเหสีฝ่ายขวา อัครสาวกฝ่ายขวา. (การเมือง) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการ เศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
ขัดสมาธิ : [ขัดสะหฺมาด] ว. นั่งคู้เข่าทั้ง ๒ ข้างให้แบะลงที่พื้นแล้วเอา ขาไขว้กันทับฝ่าเท้า, ถ้าเอาขาซ้อนทับกันเรียกว่า ขัดสมาธิสองชั้น, ถ้าเอาขาขวาทับขาซ้าย เรียกว่า ขัดสมาธิราบ, ถ้าเอาฝ่าเท้าทั้ง ๒ ข้างขึ้น ข้างบน เรียกว่า ขัดสมาธิเพชร, ขัดสมาธิราบและขัดสมาธิเพชรนั้น เป็น ท่าพระพุทธรูปนั่ง. น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถ นั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ทั้ง ๒ วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวา ทับพระหัตถ์ซ้าย.
ขันเหม : น. ขันชนิดที่เล็กกว่าขันเชิงเล็กน้อย ใส่ข้าวสารไว้ในขันสำหรับ ปักแว่นเวียนเทียน.
แขนทุกข์ : น. ปลอกแขนสีดําสําหรับสวมติดแขนเสื้อข้างซ้าย เป็นการแสดงความไว้อาลัยต่อคนตาย.