Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เว , then เพ, เว .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เว, 183 found, display 1-50
  1. กระเวยกระวาย : ว. เสียงร้องขอความช่วยเหลืออย่างเอ็ดอึง.
  2. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  3. ประเวประวิง : ก. พะว้าพะวัง, อิดเอื้อน, โอ้เอ้.
  4. เพ : ก. พังทลาย.
  5. เวทมนตร์ : [เวดมน] น. ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ที่บริกรรมเพื่อให้สําเร็จ ความประสงค์ เช่น โบราณใช้เวทมนตร์ในการรักษาโรคบางอย่าง, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คาถา เป็น เวทมนตร์คาถา เช่น เขาใช้เวทมนตร์ คาถาล่องหนหายตัวได้.
  6. เวสมะ : [เวสะ] น. ความไม่เสมอกัน. (ป. วิสม).
  7. กระวาย : (กลอน) ว. ส่าย, ดิ้น, เช่น ทอดตนตีทรวงกระวาย. (อุเทน), และใช้เข้าคู่กับคํา กระเวย และ กระโวย เป็น กระเวยกระวาย และ กระโวยกระวาย.
  8. นิเวศ, นิเวศ, นิเวศน์ : [นิเวด, นิเวดสะ] (แบบ) น. ที่อยู่, บ้าน, วัง. (ส.; ป. นิเวสน).
  9. เบญจคีรีนคร : น. ชื่อหนึ่งของเมืองราชคฤห์ มีภูเขา ๕ ลูกล้อม รอบคือ ๑. ภูเขาปัณฑวะ ๒. ภูเขาคิชฌกูฏ ๓. ภูเขาเวภาระ ๔. ภูเขาอิสิคิลิ ๕. ภูเขาเวปุลละ.
  10. เพไนย : น. เวไนย, ผู้พึงดัดได้สอนได้. (ป. เวเนยฺย).
  11. ไพบูลย์ : น. ความเต็มเปี่ยม, ความเต็มที่. ว. เต็มเปี่ยม, เต็มที่. (ส. ไวปุลฺย; ป. เวปุลฺล).
  12. เวฐน์ : น. ผ้าโพก, ผ้าพันศีรษะ. (ป. เว?น; ส. เวษฺฏน).
  13. เวไนย : น. ผู้ควรแนะนําสั่งสอน, ผู้พึงดัดได้สอนได้, ใช้ว่า เวนย ก็มี เช่น จะให้เวนยชาติทั้งปวงได้. (นันโท). (ป. เวเนยฺย).
  14. เวสารัช : น. ความเป็นผู้แกล้วกล้า. (ป. เวสารชฺช).
  15. เพชรสังฆาต : [เพ็ดชะ] น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus quadrangularis L. ในวงศ์ Vitaceae เถาสี่เหลี่ยม ดอกเล็ก สีแดง ใช้ทํายาได้.
  16. เพรี้ยม : [เพฺรี้ยม] (กลอน) ว. แฉล้ม, แช่มช้อย. (อย่างเดียวกับ พริ้ม).
  17. เพรี้ยมพราย : ว. งามแฉล้ม.
  18. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : [บุบเพ-] น. ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึง ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, การระลึกชาติได้. (ป. ปุพฺเพนิวาสา นุสฺสติ?าณ).
  19. ตรีเพชรทัณฑี : [ตฺรีเพ็ดทันที] น. ชื่อโคลงชนิดหนึ่ง.
  20. เทเพนทร์ : ดู เทพ๑เทพ-.
  21. เทเพนทร์ : น. จอมแห่งเทวดา. (ส.; ป. เทวินฺท).
  22. บุพเพนิวาสานุสติญาณ : ดู บุพ-, บุพพ-.
  23. ยักเพรีย : ดู ครอบจักรวาล.
  24. สรรเพชุดา : [สันเพดชุ] (แบบ) น. ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง หมายเอาความเป็น พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าตฺฤ; ป. สพฺพญฺญุตา).
  25. สรรเพชุดาญาณ : น. ญาณหรือปัญญาที่รู้ทุกสิ่ง หมายเอาญาณของ พระพุทธเจ้า. (ส. สรฺวชฺ?าน; ป. สพฺ??ฺญุต?าณ).
  26. เพฑูริย์ : [เพทูน] น. ไพฑูรย์, ชื่อพลอยชนิดหนึ่งสีเหลืองแกมเขียวหรือ นํ้าตาลเทา มีนํ้าเป็นสายรุ้งกลอกไปมา, เพชรตาแมว หรือ แก้วสีไม้ไผ่ ก็ว่า. (ส. ไวฑูรฺย; ป. เวฬุริย).
  27. เพสลาด : [เพสะหฺลาด] ว. ไม่อ่อนไม่แก่ (มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็น อาหาร เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง).
  28. เภสัชกร : [เพสัดชะกอน] น. แพทย์ปรุงยา, ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็น ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเภสัชกรรม.
  29. เภสัชกรรม : [เพสัดชะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม เครื่องยา ตัวยาจากธรรมชาติหรือการสังเคราะห์ให้เป็นยาสําเร็จรูป.
  30. เภสัชเคมี : [เพสัด–] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการเตรียม การ สังเคราะห์ การวิเคราะห์ และการทําสารเคมีที่ใช้เป็นยาให้ได้มาตรฐาน.
  31. เภสัชพฤกษศาสตร์ : [เพสัดชะพฺรึกสะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่า ด้วยพืชที่ใช้เป็นยา.
  32. เภสัชเพลา : [เพสัดเพ–] น. หมากพลูบุหรี่ที่ถวายพระ.
  33. เภสัช, เภสัช– : [เพสัด, เพสัดชะ–] น. ยาแก้โรค. (ป. เภสชฺช; ส. ไภษชฺย).
  34. เภสัชวิทยา : [เพสัดชะวิดทะยา, เพสัดวิดทะยา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ ว่าด้วยฤทธิ์ของยาหรือของสารที่มีต่อสิ่งมีชีวิต.
  35. เภสัชเว : [เพสัดชะเวด] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่ธาตุโดยตรง หรือสารที่เกิดจากสิ่งเหล่านั้น, วิทยาศาสตร์ แขนงที่ว่าด้วยสมุนไพร.
  36. เภสัชศาสตร์ : [เพสัดชะสาด] น. วิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยกระบวน การต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องยาบําบัด บรรเทา หรือป้องกันโรค.
  37. เภสัชอุตสาหกรรม : [เพสัดอุดสาหะกํา] น. วิทยาศาสตร์แขนงที่ว่าด้วยการ เตรียมยาระดับอุตสาหกรรม.
  38. กรม ๔ : [กฺรม] (โบ) ย่อมาจากคําว่า กรมธรรม์ เช่น จะคิดเอาดอกเบี้ยมิได้เลย เพราะเปนเงินนอกกรม. (สามดวง).
  39. กระบี่ลีลา : น. ชื่อเพลงกลองแขก เดิมเป็นเพลงของมลายู ทํานองห่าง ๆ เช่นเพลงกระบี่กระบอง, แล้วแปลงมาใช้เป็น เพลงร้องรํา ๒ ชั้น ทํานองให้ถี่เข้าประสมเล่นรวมมโหรีและ กลองแขก สมัยปลายรัชกาลที่ ๔ หรือต้นรัชกาลที่ ๕ เช่น ตอนโหรทูลท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัย. (ดึกดําบรรพ์).
  40. กระปรี้กระเปร่า : ว. แคล่วคล่องว่องไว เพราะมีกําลังวังชา, กระฉับกระเฉง, ไม่เนิบนาบ.
  41. กระเพลิศ : [-เพฺลิด] (กลอน) ว. ตะพึด เช่น พลพายกระเพลิศพ้าง พายพัด. (เฉลิมพระเกียรติ ร. ๒).
  42. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  43. กลม ๑ : [กฺลม] น. ชื่อเพลงไทยของเก่าที่ใช้เครื่องปี่พาทย์ ทําตอนตัวละครรำออกจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยตัวคนเดียว จะเหาะหรือเดินก็ได้, และใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์สักบรรพ ในเวลามีเทศน์มหาชาติ.
  44. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  45. กลิ้ง : [กฺลิ้ง] ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทําให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน; โดยปริยายหมายความว่า คล่อง, ไม่มีติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. (โบ) น. ร่ม เช่น เมลืองมล่านกลิ้งเพรื้อม เพรอศพราย. (ยวนพ่าย). (มลายู giling ว่า กลิ้ง, คลึง, มวน).
  46. กวางทอง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  47. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  48. กันดอง : (โบ) น. ถ่องแถว เช่น เทเพนทรพฤกษนุกันดอง. (กล่อมช้างของเก่า).
  49. กัมพุช ๒ : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  50. กัลยาณมิตร : [กันละยานะมิด] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-183

(0.0751 sec)